X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 วิธีปรับพฤติกรรมลูกให้หยุดโกหก

14 Aug, 2015

เด็กยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างเรื่องไหนเท็จ และเรื่องไหนจริง บางครั้งลูกได้ดูได้เห็นตัวอย่างจากทีวี หรือไปได้ยินจากเพื่อนๆ ที่โรงเรียน เด็กจึงจำมาพูด แต่สิ่งที่จำมานั้นเขายังไม่เข้าใจความหมายหรือเรื่องราวที่แท้จริงว่าคืออะไร ซึ่งคำว่าโกหกสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการช่วยชี้แนะ ค่อยๆ อธิบายและเสริมความรู้ให้กับลูก เพื่อที่ลูกจะได้เข้าใจในสิ่งที่พูดออกมามากขึ้น และจะได้ไม่ติดพฤติกรรมโกหกไปจนโต ไปดูกันว่า 4 วิธีปรับพฤติกรรมลูกให้หยุดโกหกนั้นมีอะไรกันบ้าง

4 วิธีปรับพฤติกรรมลูกให้หยุดโกหก

4 วิธีปรับพฤติกรรมลูกให้หยุดโกหก

เด็กในช่วงวัย 1-5 ขวบ ยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างเรื่องไหนเท็จ และเรื่องไหนจริง บางครั้งลูกได้ดูได้เห็นตัวอย่างจากทีวี หรือไปได้ยินจากเพื่อนๆ ที่โรงเรียน เด็กจึงจำมาพูด แต่สิ่งที่จำมานั้นเขายังไม่เข้าใจความหมายหรือเรื่องราวที่แท้จริงว่าคืออะไร ซึ่งคำว่าโกหกสำหรับเด็กในวัยนี้ จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการช่วยชี้แนะ ค่อยๆ อธิบายและเสริมความรู้ให้กับลูก เพื่อที่ลูกจะได้เข้าใจในสิ่งที่พูดออกมามากขึ้น และจะได้ไม่ติดพฤติกรรมโกหกไปจนโต ไปดูกันว่าเราจะมีวิธีใดในการปรับพฤติกรรมลูกให้หยุดโกหกได้บ้าง
1.	ไม่ควรตำหนิ หรือ ดุด่าลูกเมื่อลูกทำความผิด

1. ไม่ควรตำหนิ หรือ ดุด่าลูกเมื่อลูกทำความผิด

บางครั้งการที่ลูกไม่พูดความจริงกับพ่อแม่ ก็อาจมาจากตัวของพ่อแม่เอง เพราะเวลาที่ลูกพูด หรือเล่าอะไรให้คุณฟัง คุณมักจะดุว่าลูก โดยไม่ให้เหตุผลว่าสิ่งที่ลูกพูดนั้นคืออะไร ถูกหรือผิด เมื่อลูกรู้ว่าถ้าเขาพูดกับพ่อแม่จะต้องโดนดุ โดนว่าแน่ๆ แน่นอนว่าเด็กจะปกป้องตัวเองด้วยการไม่พูดความจริงเพื่อจะได้ไม่โดนพ่อแม่ดุ เช่น “แม่ครับวันนี้วิชาเลขผมตอบคำถามคุณครูได้ทุกข้อ” แต่ในความเป็นจริงลูกอาจตอบคำถามคุณครูไม่ได้เลย ดังนั้นหากพ่อแม่อยากจะให้ลูกพูดความจริง ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าถึงปัญหา หรือเรื่องที่ตัวเด็กเองกำลังเจออยู่ พ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมลูก พร้อมที่จะรับฟังลูกอย่างตั้งใจ และให้คำตอบ ให้คำปรึกษากับลูกอย่างใกล้ชิด

ข้อแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกมีพฤติกรรมโกหก ไม่พูดความจริง พ่อแม่ควรสร้างความไว้วางใจกับลูก เพื่อเวลาที่ลูกทำผิด หรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้มาปรึกษาแทนที่ลูกจะกลัวความผิด และใช้วิธีการโกหก
2.	สอนให้ลูกกล้ายอมรับความจริงในสิ่งที่ทำ

2. สอนให้ลูกกล้ายอมรับความจริงในสิ่งที่ทำ

การไม่พูดความจริงของลูกบางครั้งอาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยขึ้นได้ เด็กผู้หญิงเมื่อเห็นคุณแม่แต่งตัวสวย แต่งหน้า ทำผม เด็กก็เลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้ของคุณแม่ บางครั้งเอาลิปสติก เอาที่หนีบผม เอาไดร์เป่าผมมาเล่น โดยเฉพาะที่หนีบผม กับไดร์เป่าผม ถ้าเกิดลูกเสียบปลั๊กไฟแล้วลืมทิ้งไว้ พอคุณแม่มาเห็น และถามว่าใครเอาไดร์แม่มาเสียบไฟไว้ บางครั้งเด็กกลัวว่าจะถูกทำโทษ เลยไม่พูดความจริงว่าเขาเป็นคนทำเอง ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกฟังว่า ถ้าเวลาที่คุณถามว่าใครทำ ใครเอาของแม่มาเล่น ลูกควรพูดความจริง เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ไม่ใช่ของเล่นสำหรับเด็ก มันมีอันตรายต่อตัวลูกเอง เช่น ลูกอาจโดนความร้อนจากไดร์เป่าผม ถ้าลูกเอามาจ่อเล่นที่หน้า ลูกอาจโดนความร้อนลวกมือจากที่หนีบผมร้อนๆ หรืออาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำไฟไหม้บ้านได้

ข้อแนะนำในบางครั้งเด็กอาจจะทำอะไรผิดพลาดลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือพูดอธิบายถึงเหตุและผลกับลูกแบบไม่ใส่อารมณ์ดุ หงุดหงิดลงไปกับเด็ก เขาก็จะเข้าใจและเชื่อฟังว่าในครั้งต่อไปของใช้เหล่านี้ไม่ควรเอามาเล่น เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
3.	สอนให้ลูกเป็นเด็กพูดความจริง

3. สอนให้ลูกเป็นเด็กพูดความจริง

การอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นเด็กที่รู้จักพูดในสิ่งที่ถูกต้อง และพูดในเรื่องที่เป็นความจริงนั้น ถือเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรสอนลูกตั้งแต่ที่ยังเป็นเด็กๆ เพราะถ้ามาสอนกันตอนที่โตแล้วพฤติกรรมการโกหกก็อาจจะแก้ไขได้ยาก คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกฟังว่าถ้าเขาพูดในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงกับคนอื่น เขาจะถูกปฏิบัติจากคนรอบข้างอย่างไร เช่น ถ้าลูกพูดเรื่องไม่จริงกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียนบ่อยๆ เพื่อนอาจจะไม่อยากพูด ไม่อยากเล่นด้วยกับลูก และลูกก็จะกลายเป็นคนไม่มีเพื่อนนะคะ เพราะไม่มีใครเชื่อมั่นในตัวลูก และคำพูดของลูก

ข้อแนะนำพ่อแม่รวมทั้งคนรอบข้างตัวเด็กควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น ไม่พูดโกหกให้ลูกเห็น เพราะลูกอาจเลียนแบบจนติดเป็นนิสัย
4.	หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษลูก

4. หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษลูก

พยายามหลีกเลี่ยงการกล่าวโทษ เช่น ว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เป็นจอมโกหก เพราะเท่ากับเป็นการสร้างภาพในด้านลบให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก และส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก อีกทั้งยังทำให้ลูกกลายเป็นคนโกหกขึ้นมา

ข้อแนะนำพ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกอย่างใกล้ชิด หากลูกทำอะไรผิดพลาดไปก็ให้ ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องที่ลูกควรจะทำในครั้งต่อไป และควรใช้เหตุผลพูดคุยกับลูก เพราะบางทีการที่เด็กถูกตำหนิ ถูกกล่าวโทษ อาจจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมชอบโกหก และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านั้นก็อาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ถัดไป
img

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 4 วิธีปรับพฤติกรรมลูกให้หยุดโกหก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว