แม่ท้องเข้าสู่การ ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ ลูกในท้องจะตัวขนาดไหนแล้วนะ แม่ ๆ อยากรู้ไหมว่าร่างกายของลูกจะเป็นยังไงบ้าง อาการอะไรที่คนท้องต้องเจอ และคุณแม่ที่ตั้งท้องควรดูแลตนเองอย่างไร มาดูกันค่ะ
ทารกในครรภ์ 30 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 30
- ทารกในครรภ์จะสร้างไขมันใหม่ขึ้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ลูกน้อยสามารถรักษาความอบอุ่นร่างกายได้แล้ว
- ขนอ่อนของทารกที่เคยมีจะหลุดร่วงออกไป
- ไขกระดูกจะทำการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
- สมองของลูกน้อยจะเริ่มมีรอยหยักขึ้น
- ปอด และระบบทางเดินอาหารเติบโตเต็มที่
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
วิดีโอจาก : คนท้อง Everything Channel
ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ อาการคุณแม่ท้องช่วงนี้เป็นอย่างไร
- อาการแพ้ท้องที่คุณแม่เคยเป็นอาจจะกลับมาอีกครั้งในช่วงนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายคนท้อง
- อาจมีปัญหาเรื่องจุกเสียด โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่ควบคุมกล้ามเนื้อ บริเวณอุ้งเชิงกรานขยายตัว เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการคลอดลูก
- เส้นเอ็น ข้อต่างต่าง ๆ จะคลายตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้คุณแม่ขาดสมดุลได้
- อาการเส้นเอ็นขยายตัวอาจส่งไปถึงบริเวณเท้า ทำให้รองเท้าคู่เดิมใส่ไม่ได้ จำเป็นต้องซื้อรองเท้าคู่ใหม่ เพื่อให้เดินสบายขึ้น
ท้อง 30 สัปดาห์ ดูแลตัวเองอย่างไรดี
- การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วงไตรมาสนี้ จะช่วยให้คนท้องรู้สึกดีขึ้นทั้งการระงับการปวด และการรักษาสมดุลของฮอร์โมน
- ท่านั่งท่านอนที่ดี จะช่วยให้คุณแม่ลดอาการปวดหลังได้
- หากเกิดอาการจุกเสียดท้อง เป็นโรคกระเพาะ ให้คุณแม่ทำดังต่อไปนี้
- ควรนั่งท่าตรงขณะทานอาหารและหลังอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- ควรกินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนนอนสัก 2 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาย่อยอาหารก่อน
- เวลานอนให้นอนบนนอน โดยใช้หมอนอิงไว้ข้างหลัง อย่านอนราบไปกับเตียง
เรื่องที่ควรทำตอนลูกใน ครรภ์ 30 สัปดาห์
- พบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพ อัลตราซาวนด์ และตรวจเลือดทุกครั้ง
- เริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาล ห้องคลอด ห้องพักฟื้นที่ใช้คลอด
วิธีการกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย อายุครรภ์ 30 สัปดาห์
การกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย สามารถทำได้ตั้งแต่ ลูกอยู่ในครรภ์ ตั้งแต่เกิด ตลอดจนถึง 9 เดือน หากมาเริ่มทำตอนนี้คงจะช้าไปหน่อย โดยทั่วไปก็คือ เปิดเพลงให้ลูกฟัง, ลูบหน้าท้อง, ส่องไฟฉาย หรือพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เป็นต้น
-
ลูบหน้าท้อง กระตุ้นความรู้สึกลูกน้อย
ช่วงแรก ภายใน 2 เดือน ทารกจะเริ่มสัมผัสได้ การที่คุณแม่ลูบหน้าท้อง จะทำให้ลูกสะท้อน ช่วยกระตุ้นระบบประสาท และสมอง การรับรู้ ให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ลูกน้อย จะรู้สึกว่า ได้ใกล้ชิดกับคุณแม่มากขึ้น คุณแม่สามารถส่งเสียง พูดคุย กับลูกเบา ๆ ทำให้ลูกอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย มีพัฒนาการที่ดี
-
อ่านหนังสือ กระตุ้นพัฒนาการทางสมอง
การที่คุณแม่อ่านหนังสือ ลูกจะได้ยินผ่านผนังท้อง ส่วนใหญ่ทารกจะได้ยิน ในช่วง 5 เดือน คุณแม่สามารถอ่านหนังสือให้ลูกฟัง วันละ 30 นาที เพื่อกระตุ้นสมองของลูกน้อย การที่คุณแม่อ่านหนังสือ พร้อมกับการลูบท้องไปด้วย ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยโต้ตอบ และลูกน้อยจะเริ่มคุ้นชินกับเสียงของคุณแม่ ความรู้สึกจะส่งผ่าน ทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี มีแนวโน้มที่จะเลี้ยงง่าย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง แม่ต้องอ่านหนังสือเสริมความฉลาดให้ลูกฟัง
-
เล่นหน้าท้อง กระตุ้นลูกดิ้น
คุณแม่สามารถลูบท้องได้บ่อย ๆ ตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่จะรับรู้การดิ้นของลูก การเคลื่อนไหวไปมา การที่คุณแม่รู้สึกว่า ลูกเคลื่อนไหว แสดงว่าลูกมีปฏิกิริยา การตอบกลับที่ดี ซึ่งจะช่วยกระตุ้นสมองของลูก เป็นการเพิ่มความฉลาดตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง
-
ให้ลูกน้อยฟังเพลง
ลูกจะได้ยินในช่วงสัปดาห์ที่ 20 และรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนตอน สัปดาห์ที่ 24 และในสัปดาห์ที่ 30 ลูกน้อย สามารถแยกแยะเสียงได้ หากคุณพ่อคุณแม่เปิดเพลงให้ลูกฟัง วันละประมาณ 10 – 15 นาที ต่อวัน เปิดห่าง 1 ฟุต ทำนองสบาย ๆ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ ให้ลูกน้อยสมองดี จดจำสิ่งต่าง ๆ และลูกน้อยยังมีพัฒนาการที่ดีอีกด้วย
-
ชวนลูกคุยบ่อย ๆ
การที่คุณแม่พูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ เสียงของคุณแม่จะช่วยกระตุ้นการพัฒนาการได้ยิน รับรู้ แยกแยะ ทำให้ทารกมีทักษะในเรื่องของ การสื่อสาร และ ภาษา และทารกเองก็สามารถจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ตั้งแต่ในท้อง การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกในท้อง ยังช่วยสานสัมพันธ์ความรัก ความผูกพันให้แน่นแฟ้นมากขึ้นอีกด้วย
หากคุณแม่มาถึงช่วงตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ ถือว่าเป็นไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายแล้ว อีกไม่นานก็ถึงกำหนดคลอด ในช่วงนี้มีอาการหลายอย่างอาจเป็นหนักขึ้น ซึ่งคุณแม่ และคนรอบตัวจะต้องคอยระมัดระวังเป็นอย่างดีอยู่ตลอดด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
อาการคนท้องไตรมาส 3 ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และสัญญาณใกล้คลอด