เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

หน้าฝน เด็กป่วยกันเยอะ! สารพัดโรคร้ายหน้าฝนที่กำลังระบาด RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กป่วยหน้าฝน

พ่อแม่ต้องดูแลลูกให้ดี เด็กป่วยหน้าฝน แอดมิทโรงพยาบาลกันเพียบ ทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ RSV เฮอร์แปงไจน่า และโรคร้ายหน้าฝนอื่น ๆ อีกเพียบ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตอาการลูก บ้านไหนมีทารกหรือเด็กเล็กยิ่งต้องระวังโรคหน้าฝนให้มาก ๆ

 

โรคในเด็กช่วงหน้าฝน

อากาศเปลี่ยนไปทุกวัน เดี๋ยวแดดออก ร้อนจัด อีกสักพักก็ฝนตก ทำให้คนป่วยกันเยอะ ขนาดผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ยังป่วยได้เลย นับประสาอะไรกับเด็กเล็กหรือทารก

เช่นเดียวกับหนูน้อยฮานะ ที่อยู่ ๆ ก็เกิดเป็นไข้ขึ้นมากะทันหัน คุณแม่ของเธอเล่าว่า ลูกสาวไข้ขึ้นสูงแบบฉับพลันเลย ไม่มีอาการใด ๆ ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก โดยมีอาการเริ่มแรกคือ เบื่ออาหาร ไม่ค่อยกินข้าว จากนั้น 2-3 วันไข้ขึ้น

  • วันที่ 1 ไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส
  • ในวันที่ 2 อาการตุ่มในปากเริ่มแสดง
  • และวันที่ 3 คือเจ็บปากเจ็บแผล กินอะไรไม่ได้

ทางโรงพยาบาลต้องให้น้ำเกลือ เพราะเด็กจะขาดน้ำ อาการจะพีคช่วงวันที่ 3 เด็กจะงอแงมาก เพราะเจ็บในปาก หมอบอกว่าจะเป็น 5-7 วันแล้วแต่คน

แม่ของน้องฮานะยังบอกด้วยว่า ตอนนี้ในโรงพยาบาล มีเด็กป่วยเยอะมาก มีทั้งโรคเฮอร์แปงไจน่าและ RSV ความเสี่ยงที่คนเป็นแม่กังวลคือ ลูกมาโรงพยาบาลด้วยโรคใดโรคหนึ่ง แต่อาจจะติดโรคอื่นกลับบ้านไปด้วย

นอกจากนี้ คุณแม่ยังได้อัพเดตเรื่องราวผ่านเพจพาลูกเที่ยว ฮานะ ด้วยว่า แม่เลือกโรงพยาบาลใกล้บ้าน หลังจากหมอตรวจอาการเบื้องต้นและเห็นสภาพน้องโรยมาก ไปถึงโรงพยาบาลไข้ก็ยังสูง พยาบาลจับเช็ดตัวทันที หมอเตรียมจะให้แอดมิท ให้พยาบาลเช็คห้อง ซึ่งห้องไม่ว่าง เต็มทุกห้อง ตั้งแต่ก่อนลูกเข้าไปเสียอีก

คุณแม่จึงจองห้องพักล่วงหน้าของอีกโรงพยาบาล และแล้วลูกสาวก็ได้แอดมิท

“พยาบาลเล่าว่าช่วงนี้โรงพยาบาลเต็มมา 2 วันแล้ว เมื่อเช้าก็นอนรอเตียงเป็นสิบราย วันนี้วันเดียวแอดมิทไป 23 ราย นี่ขนาดโรงพยาบาลเอกชนยังไม่มีเตียงให้คนไข้เลย ถึงมีเงินก็ใช่จะนอนได้”

สรุปหนูน้อยฮานะ เป็นโรค เฮอแปงไจน่า (Herpangina) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบมากในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 5 ปี โดยเชื้อแพร่ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ หรือการแพร่เชื้อที่ปนเปื้อนมาในน้ำ อาหาร ภาชนะ มือ ของเล่น โต๊ะเก้าอี้ จึงมักพบในโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ฮานะยังไม่ได้เข้าโรงเรียนและไม่ได้ไปเนิร์สเซอรี่ คาดว่าจะติดจากเพื่อนๆที่เล่นด้วยกันในคอนโด หรืออาจจะเป็นบ้านบอล ทั้งนี้ คุณแม่ยังได้เตือนให้สังเกตอาการของลูกน้อยด้วย วิธีสังเกตว่าลูกป่วยเป็นโรคเฮอแปงไจน่า เช่น

  1. โรคนี้จะพบไข้ขึ้นสูงในวันแรก พอวันที่สองจะเริ่มมีตุ่มเม็ดในปาก ทานอาหารไม่ค่อยได้ เบื่ออาหาร
  2. ซึมอย่างชัดเจน พอไข้ลดจะเล่นปกติ และกลับไปนอนซมอีก
  3. ถ้าพบไข้ 39-40 องศา ไข้ไม่ลด ถ้าไม่มีน้ำมูกและไอ ส่องดูเม็ดตุ่มจะขึ้นใต้เพดานในปากชัดมากในวันที่2-3

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ขอขอบคุณ คุณแม่น้องฮานะ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ค่ะ

 

เฮอร์แปงไจน่าเกิดจากอะไร?

โรคเฮอร์แปงไจน่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม เอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) หลายชนิด ได้แก่ คอกแซคกีไวรัส และเอคโคไวรัส ซึ่งมีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย ติดต่อได้จากการคลุกคลีกับผู้ป่วย แล้วสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ของผู้ป่วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคเฮอร์แปงไจน่าเป็นอย่างไร?

ซึ่งโรคเฮอร์แปงไจน่าคล้ายกับโรคมือเท้าปากคือ

  • ผู้ป่วยจะมีแผลในปากที่บริเวณเพดานปาก ลิ้นไก่ ด้านหลังของคอหอย
  • แต่จะไม่มีมีผื่นสีแดง หรือตุ่มน้ำ ที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
  • อาจมีไข้สูงกว่าโรคมือเท้าปาก
  • อาการไข้จะลดลงภายใน 2-4 วัน
  • แผลในปากอาจคงอยู่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์

รักษาโรคเฮอร์แปงไจน่าทำได้อย่างไร?

เนื่องจากโรคเฮอร์แปงไจน่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้รักษาได้จำเพาะเจาะจง

การดูแลผู้ป่วยจะใช้การรักษาตามอาการ ได้แก่

  • การเช็ดตัวลดไข้ ทานยาแก้ปวดลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการไข้และการเจ็บแผลในปาก
  • หยดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปากก่อนทานอาหาร
  • ทานอาหารอ่อน ไม่ควรทานอาหารร้อนจัดเพราะอาจกระตุ้นให้เจ็บแผลในปากได้
  • อาจดื่มนมเย็น หรือไอศครีมได้ เพราะเนื่องจากความเย็นทำให้ชา ไม่เจ็บเวลากลืนและควรดื่มน้ำมากๆนะคะ

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง คือ ไข้สูงลอย กินอาหารไม่ได้ มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้มผิดปกติ ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจรักษาแยกจากโรคอื่นๆ เช่น โรคมือเท้าปาก หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในลำคอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม โรคเฮอร์แปงไจน่า: โรคระบาดน่ากลัว กลุ่มเดียวกับโรค มือ เท้า ปาก

 

เด็กป่วยหน้าฝน

RSV คืออะไร อาร์เอสวีติดต่ออย่างไร

ช่วงนี้เป็นฤดูฝน ประเทศไทยมักพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus: RSV) โดยเชื้อไวรัสนี้ติดต่อได้จาก

  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
  • เชื้อไวรัสอาร์เอสวีสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังสัมผัสถูกเชื้อไวรัสในระยะเวลา 4-6 วัน
  • ผู้ติดเชื้อจะเริ่มตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • จนถึงอาการรุนแรง เช่น หายใจเร็ว หอบเหนื่อยเนื่องจากปอดอักเสบ รับประทานอาหารได้น้อย ซึมลง

 

การรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ

สำหรับโรคนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่อาการจะรุนแรงในเด็กเล็ก เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังเช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมักพบเชื้อไวรัสอาร์เอสวีได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้หลายชั่วโมงโดยอาศัยอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ และแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอหรือการจาม

อ่านเพิ่มเติม อาร์เอสวี เชื้อไวรัสร้าย ทารก เด็กเล็ก ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ง่ายช่วงหน้าฝน

 

ไข้หวัดใหญ่ การติดต่อของเชื้อ

รศ.พญ.สิริอร วัชรานานันท์ แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ว่า เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจาม หากอยู่ใกล้ผู้ป่วย บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก ในผู้ใหญ่อาจแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-5 วัน นับจากวันที่เริ่มป่วย ในเด็กเล็กสามารถแพร่ได้นานกว่าผู้ใหญ่ อาจพบได้ 7-10 วัน และอาจนานขึ้นไปอีก ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง

ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่อย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ

 

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) วิธีการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถทำได้เพียงดูแลตัวเองด้วย

  1. การปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
  2. ล้างมือบ่อยๆก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก จับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส
  3. เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ที่คนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด)
  4. หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น
  5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อสร้างภูมิต้านทานและลดโอกาสเสี่ยง ซึ่งการได้รับวัคซีนเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี

อ่านเพิ่มเติม อาการไข้หวัดใหญ่ 2019 Influenza วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ เด็กป่วยกันง่าย พ่อแม่ต้องระวังลูกป่วยหน้าฝน โดยสังเกตอาการของลูกให้ดี หากลูกมีอาการผิดปกติ มีไข้ ไข้ไม่ลด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก

โรคมือเท้าปาก โรคใกล้ตัวเด็กวัยเรียน ทารก-เด็กเล็ก ก็มีโอกาสป่วยง่าย

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่มากับฝน ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย ต้องทำแบบนี้!

ลูกชักจากไข้สูง อาการชักจากไข้สูงในเด็กอันตรายแค่ไหน? พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

 

บทความโดย

Tulya