ลูกฟันขึ้นตอนไหน ทารกฟันขึ้น ทำยังไง วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หน่อฟันของทารกนั้น พัฒนาขึ้นมาอยู่ใต้เหงือก นับตั้งแต่ตอนที่เขาอยู่ในท้องของคุณแม่ โดยฟันซี่แรกพร้อมจะงอกออกมาพ้นเหงือก ในช่วงที่ลูกน้อยอายุราว 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เริ่มให้ลูกได้ลองชิมอาหารเนื้อบดหยาบ ๆ และชิมรสชาติที่แปลกใหม่นอกเหนือจากนมแม่นั่นเอง แต่ทั้งนี้ ฟันของทารกบางรายก็อาจจะขึ้นช้ากว่านั้นได้ ข้อสงสัยที่ว่า ลูกฟันขึ้นตอนไหน ฟันขึ้นตอนกี่เดือน และเมื่อ ลูกฟันขึ้น จะดูแลเหงือกและฟันอย่างไร วันนี้หมอมีคำตอบครับ

 

 

ลูกฟันขึ้นตอนไหน ลำดับการขึ้นของฟันทารก เป็นอย่างไร

โดยปกติแล้ว ฟันน้ำนม ซี่แรกของทารกจะเริ่มขึ้นที่อายุ 4 – 9 เดือน โดยทั่วไปจะเริ่มขึ้นที่อายุประมาณ 6 เดือน โดยจะเริ่มจากฟันล่างคู่หน้า ตามมาด้วยฟันบนคู่หน้า แล้วฟันน้ำนมจะขึ้นจนครบทั้งหมด 20 ซี่เมื่อลูกอายุ 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่งครับ ทั้งนี้หากลูกอายุ 1 ปี แล้วฟันยังไม่ขึ้น ก็อาจสามารถรอได้จนอายุ 1 ปีครึ่ง หากยังไม่มีฟันขึ้นเลย ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ดีกว่านะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ในเด็ก โรคยอดฮิตที่พ่อแม่เด็กเล็ก ต้องระวัง!

 

วิธีสังเกตอาการเมื่อ ลูกฟันขึ้น

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่อยากรู้วิธีการสังเกตเจ้าตัวน้อยของเราว่า ดูยังไงให้รู้ว่าฟันลูกเริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งต้องบอกว่าง่ายมาก ๆ โดยเราอาจจะต้องทำการสังเกตอาการดังต่อไปนี้เลยครับ

  1. น้ำลายไหลเยอะ

อย่างที่รู้กันดีครับว่าโดยปกติเด็ก ๆ ก็มักจะมีน้ำลายไหลออกมาเรื่อย ๆ อยู่แล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ มีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติ หรือไหลออกมาเป็นจำนวนมาก สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าฟันเด็ก ๆ เริ่มขึ้นแล้วนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. อยากกัดนู่นนี่นั่น

เมื่อเด็ก ๆ เริ่มมีฟันเกิดขึ้น เขาก็จะมีอาการคันเหงือกขึ้นมา เห็นอะไรก็อยากจะกัดไปหมด เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องทำการสังเกตเด็ก ๆ หากอยู่ ๆ ลูกของเราอยากเริ่มหมั่นเขี้ยว เริ่มอยากกัดนู่นนี่นั่นขึ้นมา ก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ เริ่มมีฟันเกิดขึ้นแล้ว

  1. ชอบเอามือเข้าปาก

อีกอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างสังเกตได้ง่าย คือเด็ก ๆ จะชอบอมนิ้วตัวเอง ชอบเอามือเข้าปาก หรือบางคนก็อาจจะอมนิ้วเท้าตัวเองด้วย ถ้าลูกของเรามีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ แสดงว่าเด็ก ๆ เริ่มมีฟันเกิดแล้วล่ะครับ

  1. รู้สึกหงุดหงิด หรืองอแง

วิธีการสังเกตต่อมาคือเด็ก ๆ เริ่มมีอาการงอแง หรือเริ่มรู้สึกหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ โดยเด็กบางคนก็อาจจะตื่นบ่อย หรือหลับยาก เด็กบางคนอาจจะมีไข้ ตัวร้อนจากการอักเสบของเหงือกที่ฟันกำลังจะขึ้น ทำให้งอแงมากกว่าเดิมได้ ซึ่งอาการเหล่านี้สำหรับเด็กบางคนก็อาจจะแตกต่างกันออกไป

  1. สังเกตบริเวณเหงือก

ต่อมาคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะคอยสังเกตบริเวณสันเหงือกของเด็ก ๆ ดูว่าเหงือกมีสีซีด หรือมีลักษณะที่เป็นซี่ฟันเกิดขึ้นหรือเปล่า หากเด็ก ๆ เริ่มมีฟันขึ้นมา บริเวณสันเหงือกก็จะมีลักษณะแข็ง หรือบางคนก็อาจจะมองเห็นฟันเป็นซี่ ๆ ได้เลย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีบรรเทาอาการคันเหงือก ปวดเหงือก

หากสงสัยว่าลูกมีอาการที่เหมือนฟันเริ่มขึ้นดังกล่าว และดูงอแงร้องกวนผิดปกติ คุณพ่อ คุณแม่ สามารถช่วยบรรเทาอาการในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้นของลูกได้โดยการนวดเหงือก ซึ่งสามารถทำได้โดย

  • ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสะอาดเย็น ๆ พันนิ้ว แล้วนวดเหงือกให้ลูกเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บปวด หรือ คันเหงือก
  • ใช้ยางกัดแช่เย็นที่ปลอดภัย กับเด็ก มาให้ลูกกัดได้ โดยควรเลือก ยางกัด ของเล่นที่มีคุณภาพดี หลีกเลี่ยงชนิดที่มีน้ำอยู่ข้างใน เพราะลูกอาจกัดแล้วขาดกลืนน้ำเข้าไปจนเกิดเป็นอันตรายได้
  • หากลูก ร้องกวน เหมือนมีความเจ็บปวดมาก ในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้น ก็อาจให้ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเป็นครั้งคราวได้ครับ

เมื่อลูกน้อยวัยทารก เริ่มมีฟันขึ้น คุณพ่อ คุณแม่ ควรดูแลสุขภาพฟันของลูกโดย ให้ทานนมเป็นเวลา และควรเป็น นมแม่ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ หรือ นมผสม ก็สามารถทำให้ฟันผุได้หากดูแลไม่ถูกต้อง หมั่นทำความสะอาดฟัน ตั้งแต่ซี่แรกที่ขึ้น โดยใช้แปรงสีฟันขนอ่อน ๆ สำหรับทารก มาแปรงฟันให้ลูกเคยชิน พร้อมกับ ใส่ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ สำหรับเด็กเล็ก โดยปริมาณยาสีฟันที่ใช้คือ แตะแค่พอเปียกบนขนแปรงเล็กน้อย และ ใช้ผ้าสะอาดเช็ดฟองออกหลังจากแปรงฟันทุกครั้ง เพื่อป้องกันการกลืนยาสีฟัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

แม้ว่าฟันของลูกน้อยวัยทารก จะเป็นเพียง ฟันน้ำนม แต่ก็เป็นฟันชุดที่มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยนำร่องให้ฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง อีกทั้งลูกจะต้องใช้ฟันน้ำนมนี้ เพื่อการทานอาหารไปอย่างน้อยจนถึงอายุ 6-12 ปี จึงจะมีฟันแท้ขึ้นมาครบทดแทนที่ฟันน้ำนมได้ การดูแลฟันน้ำนม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งนี้การสอนให้ลูกรู้จักดูแลฟันน้ำนมอย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ย่อมเป็นรากฐาน ของสุขภาพฟันที่ดีของลูกต่อไปในอนาคตครับ

ทพ.ณัฐภัทร ภัทรพรเจริญ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก และเคล็ดลับทำความสะอาดปากและฟันของลูกน้อย

วิธีให้ลูกเลิกขวด ลูกติดขวด ระวังฟันผุ แม่จะจับลูกเลิกนมมื้อดึกอย่างไร ให้ได้ผล!

ฟันหน้าผุยกแผง! ปล่อยลูกดูดนมนอน ดูดนมมื้อดึก แม่แปรงฟันลูกไม่ดี คิดว่าแค่ฟันน้ำนม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา