20 ประโยคเด็ดไว้พูดกับลูก พูดยังไม่ให้ลูกงอน? พูดยังไงให้ลูกทำตาม?
สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยในระหว่างการเลี้ยงดูลูกก็คือ การพูดคุย และมันไม่ง่ายเลยที่เราจะประสบความสำเร็จ เราเลยอยากแนะนำ 20 ประโยคเด็ดไว้พูดกับลูก ที่เมื่อลูกฟังแล้วจะเข้าใจผู้ปกครองว่าไม่ได้ดุหรือตะคอกใส่ การทำแบบนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวดีขึ้น และก็จะไม่กลายเป็นปมในใจลูกอีกด้วย
1. “เงียบเดี๋ยวนี้!” หรือ “เลิกตะโกนซะที”
ในสถานการณ์ที่คุณลูกอาจจะโหวกเหวกโวยวาย เราอาจจะใช้คำว่า “พูดเบาได้มั๊ยคะ/ครับ”แล้วให้ผู้ปกครองทำเสียงเหมือนกระซิบตามไปด้วย ก็อาจจะช่วยได้เช่นกัน แต่ในกรณีที่เด็กบางคนอาจจะพูดเยอะและใช้เสียงมากกว่าเด็กทั่วไป เราอาจจะหาพื้นที่ ที่ให้เขาพูดได้โดยไม่รบกวนผู้อื่นพร้อมกับสอนไปในตัว
2. “ระวังนะเดี๋ยวจะ…”
เด็กหลายคนอาจะไม่ชอบถูกให้เตือนเรื่องเดิมๆซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ผู้ปกครองอาจจะเปลี่ยนมาใช่คำว่า “จำได้รึเปล่าว่า…” ให้เขานึกถึงสิ่งที่เราเคยสอนไว้ เพื่อให้ลูกได้ฝึกคิดไปในตัว
3. “บอกสามรอบแล้ว ไปทำเดี๋ยวนี้!”
ในสถานการณ์แบบนี้เราอาจจะเปลี่ยนมาใช้คำว่า “อยากลองทำเองมั๊ย หรือจะให้ คุณพ่อ/คุณแม่ช่วย?” เด็กมักจะมีการตอบสนองที่ดีเวลาที่เราทำให้เขารู้สึกว่าเขาสามารถทำเองได้ ลองให้เขาได้มีโอกาสเลือกดู
4. “บอกแล้วใช่มั๊ย” หรือ “เห็นมั๊ยล่ะ”
คำพูดด้านบนดูจะเป็นการใส่อารมณ์ประชดประชันเข้าไปมาก ผู้ปกครองอาจจะลองใช้ว่า “ที่ทำคราวนี้ เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง?” การดันเด็กให้ได้เรียนรู้และพัฒนาจากประสบการณ์ที่เขาได้รับ ย่อมดีกว่าการดุ หรือว่าเพื่อให้เด็กรู้สึกผิด
5. “ห้าม” หรือ “หยุด”
การใช้คำที่แผงไปด้วยพลังงานด้านลบ ถ้าเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จะรู้ว่าคำไหน เราอยากได้ยินจากผู้อื่น หรือไม่อยากได้ยิน สิ่งที่เราจะทำได้ก็คือ ลองพูดด้วยคำที่สุภาพลง เช่น เติมคำว่า จ๊ะ ครับ ค่ะ ลงท้ายก็จะทำให้ประโยคโดยรวมน่าฟังมากขึ้น
6. “ถึงเวลาแล้ว!” หรือ “….เดี๋ยวนี้!”
ในเวลาที่ต้องรับจริงๆ ผู้ปกครองอาจจะเปลี่ยนมาใช้คำที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเลือกทางเดินของเขาเอง จะทำให้เด็กรู้สึกสนุก เราอาจจะให้เวลาเขาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้น
7. “เร็วเข้า” หรือ “จะสายแล้วนะ”
ลองให้คุณลูกเล่นเกมส์ เช่นบอกเขาว่า “มาแข่งกันเป็นเสือชีตาร์ ใครจะไปถึงเร็วกว่า” แต่อย่าลืมว่าบางครั้ง เราควรให้เขาได้ทำอะไรแบบช้าๆบ้าง เพื่อให้มีความสมดุล
8. “บอกแล้วใช้มั๊ยว่าไม่ซื้อให้!” หรือ “ไม่มีเงินจะซื้อให้!”
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ผู้ปกครองไม่สามารถจะตามใจลูกได้ตลอดเวลา เราอาจจะใช้คำว่า “ลองเก็บไว้เป็นของขวัญวันเกิดดีมั๊ย?” เราจะได้ฝึกให้ลูกรู้จักความอดทน เพื่อให้เขารู้ว่าทุกอย่างอาจจะไม่เป็นไปตามที่เราต้องการเสมอไป
9. “เลิกบ่น!”
ในสถานการณ์แบบนี้เราอาจจะ ให้ลูกหายใจเข้าลึกๆ สงบสติอารมณ์ แล้วค่อยให้เขาพูดสิ่งที่เขาต้องการในตอนที่เขาสงบลง
10. “ทำตัวให้มันดีๆหน่อย”
บางทีเด็กอาจจะไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่อถึงอะไร หรือพฤติกรรมแบบไหนที่เรารู้สึกว่าไม่เหมาะสม ลองพูดคุยกับลูก และบอกเขาตรงๆว่า เราควรจะเคารพตัวเอง และเคารพผู้อื่นด้วย
11. “ไม่มีใครอยากเล่นด้วยหรอกถ้าทำตัวแบบนี้”
เรื่องการกลั่นแกล้งกันในวัยเด็กนั้นผู้ปกครองอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่จริงๆแล้วเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อนิสัยของลูกในอนาคต เราควรสอนและพูดคุยกับลูกเรื่องการแกล้งเพื่อนว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เด็กบางคนอาจจะอยากเป็นผู้นำแต่ไม่รู้จะแสดงออกอย่างไร ผู้ปกครองควรสอนให้เขาเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รู้จัการทำงานและเล่นร่วมกับเด็กคนอื่น
12. “เลิกทำแบบนี้”
แม่/พ่อ อยากให้ลูกลอง การที่เราห้ามเด็ก อาจจะไม่เป็นผลดีเท่าไหร่นัก การที่เราบอกให้เขาลองทำอีกอย่างแทนพร้อมกัยอธิบายผลกระทบ หรือ เหตุผลที่ว่าทำไมการกระทำแบบนั้นถึงไม่ดี ผู้ปกครองอาจจะเสนอวิธีทางที่ดีกว่าให้เด็กได้เรียนรู้
13. “ห้ามร้องไห้” หรือ “อย่าทำตัวเหมือนเด็ก”
การที่เราหยุด หรือ ห้ามเด็กไม่ให้รู้สึกมีความรู้สึกอะไรเลยคงจะเป็นเรื่องยาก เราควรสอนให้ลูกเผชิญกับความรู้สึกต่างๆที่เขาประสบพบเจอ เพื่อที่ในอนาคตเด็กจะได้พร้อมสำหรับการเผชิญหน้าต่ออารมณ์ต่างๆที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นการห้ามไม่ให้เด็กแสดงออกทางความรู้สึกในบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรเท่าไหร่นัก
14. “ทำไมลูกถึงอ่อนไหวแบบนี้”
คล้ายคลึงกับประโยคก่อนหน้า การห้ามให้เด็ก มีความรู้สึกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เด็กที่สามารถเรียนรู้อารมณ์ต่างๆของตัวเองได้นั้นจะประสบความสำเร็จในการก้าวผ่านอารมณ์ต่างๆในชีวิตมากกว่า
15. “มาให้แม่/พ่อทำเอง”
บางครั้งผู้ปกครองต้องเลิกกดดันตัวเองมากเกินไป การที่เราเร่งรีบหรือเคร่งครัดจนเกินไป อาจจะทำให้ตัวผู้ปกครองเองอารมณ์หงุดหงิดซะเอง ให้เราหายใจเข้าออก ลองให้เวลาลูกทำกิจกรรมต่างๆด้วยตัวเขาเอง ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
16. “ไม่มีใครรักลูกหรอกถ้าทำตัวแบบนี้”
การที่เราพูดประโยคนี้ออกไปไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีได้ การที่เราให้ความรักเขา และสอนให้เขารู้ว่าอะไรควรไม่ควรจะเป็นการดีกว่าการต่อว่าลูก และทำเหมือนตัวลูกนั้นไม่มีคุณค่า
17. “ลูกยังเด็กเกินไป”
เด็กเป็นวัยที่เปี่ยมไปด้วยความขี้สงสัย อยากรู้ อยากลอง บวกกับตัวผู้ปกครองก็คงจะเป็นกังวลว่าสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้เหมาะกับลูกหรือไม่ ผู้ปกครองควรอธิบายเหตุผลว่าทำไมเขายังไม่พร้อม เด็กจะพยายามเข้าใจในเหตุผลมากกว่าการห้ามแบบโดยตรง
18. “ฉันไม่แคร์!”
เราอาจใช้โอกาสนี้ให้ลูกได้นำเสนอความคิดและไอเดียของเขา เราให้โอกาสเขาได้เป็นผู้นำ แทนที่จะบอกว่าเราไม่สนใจอะไรก็ตามที่เขาพยายามจะบอกเรา
19. “พ่อ/แม่ จัดการเอง”
เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ในบางครั้งผู้ปกครองควรให้ลูกได้ทำกิจกรรมด้วยตัวเอง เราควรสนับสนุนให้เขาได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆไปได้ โดยที่ผู้ปกครองต้องคอยย้ำอยู่เสมอว่าเราจะอยู่ข้างๆเขาคอยช่วยเหลือและสนับสนุน
20. “ไม่ต้องไปคิดมาหรอก” “เรื่องแค่นี้เอง”
ในบางครั้งที่เด็กต้องเผชิญกับอารมณ์ที่เขาไม่คุ้นเคย ผู้ปกครองควรช่วยเหลือและสอนลูกให้รู้จัก ทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วามนุษย์มีหลากหลายอารมณ์ และบอกเขาถึงวิธีรับมือที่ถูกต้อง
ที่มา : mother
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
Tips เลี้ยงลูกให้สมองดีทำได้ไม่ยาก
เช็คสิ!!! พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบนี้ เหมาะสม VS ไม่เหมาะสม
เลี้ยงลูกคาดหวังมากไป ระวังลูกป่วยเป็น “ฮิคิโคโมริ” (Hikikomori)