ภาพแอบฮา ลูกไปโรงเรียนวันแรก

คุณยังจำวันแรกที่เจ้าตัวเล็กไปโรงเรียนกันได้หรือเปล่า? หรือสำหรับพ่อแม่มือใหม่ ความรู้สึกในวันเปิดเทอมที่ไปโรงเรียนวันแรกของลูกจะเป็นยังไงนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาพแอบฮา ลูกไปโรงเรียนวันแรก สภาพแต่ละคนก่อน vs หลังไปโรงเรียน

มาเช็กสภาพความแตกต่างของเด็ก ๆ แต่ละคน ปฏิกิริยาระหว่างก่อน และ หลังจาก ลูกไปโรงเรียนวันแรก กันหน่อยเป็นไง จะแอบฮาแค่ไหนลองดู!!

ลูกไปโรงเรียนวันแรก แฮปปี้สุด ๆ แต่หลังจากกลับมาก็เหนื่อยฝุด ๆ เช่นกัน

วันศุกร์แล้ว!! ร่าเริงออกหน้ามาก

Before & After เมื่อไปโรงเรียนวันแรก หมดสภาพเลยสาวน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังเลิกเรียน ถึงกับสลบ!!

ไปโรงเรียนวันแรก ไหงกลับมาเหวอไปเลยล่ะลูก!!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สภาพที่ลูกไปโรงเรียนวันแรกกับวันที่สอง… ช่างแตกต่าง

ไม่อาวววววว… วันนี้หนูจะไม่ไปโรงเรียน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แค่วันแรกหนูน้อยก็ดูเหนื่อยกันสุด ๆ ไหนจะต้องปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ ไหนจะต้องห่างบ้าน ห่างพ่อแม่ เป็นเด็กก็เครียดได้นะเนี่ย อีกอย่างแต่ละช่วงวัย ก็มีความวิตกกังวลที่ต่างกันไปนะคะ

บทความ : ลูกเครียด ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย พ่อแม่ช่วยอะไรได้บ้าง?

ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงวัย

ความวิตกกังวล (Anxiety) ถือเป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้กับทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก แต่สำหรับเด็ก ที่ยังไม่มีประสบการณ์ชีวิตมากนัก ถ้าหากลูกเครียด พ่อแม่ต้องทำยังไง ความวิตกกังวลในเด็ก แต่ละช่วงอายุ มักจะไม่เหมือนกัน เด็กมักจะมีความกังวลที่ต่างกันออกไป คนเป็นพ่อเป็นแม่ สามารถช่วยแนะนำอะไรได้บ้าง อ่านได้จากบทความนี้ค่ะ

ความวิตกกังวลในเด็กเล็ก (Anxiety in little kids)

สำหรับเด็กเล็ก เขามักจะมีความเป็นเจ้าหนูจำไม เริ่มถามนู่นถามนี่ จนบางครั้งก็สร้างความเครียดให้กับพ่อแม่ เด็กเล็กจะเริ่มแสดงอาการวิตกกังวล สงสัยในหลาย ๆ เรื่องที่เขาไม่เคยรู้ แต่อย่าเพิ่งเครียดไป จริง ๆ แล้วก็มีหลายวิธีที่เราสามารถช่วยพวกเขาผ่านมันได้ พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องรองรับความกังวลของพวกเขา แค่ต้องให้ความสำคัญกับการสนับสนุนความคิด และใส่ใจพวกเขาก็พอ

หากลูกของคุณ เป็นคนประเภทที่ถามคำถามมากมาย ถามอะไรบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วิธีหนึ่งที่จะสนับสนุนพวกเขา ก็คือการกำหนดเวลาเฉพาะสำหรับการตั้งคำถาม เช่น ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นเหมือนช่วงเวลาที่จะทำให้พ่อแม่ได้คุยอย่างตรงไปตรงมากับลูก ๆ

เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกอย่างหนึ่ง ที่พ่อแม่สามารถใช้ได้ ก็คือการเออออตื่นเต้น ไปกับสิ่งที่พวกเขาพูดอยู่ เช่น เมื่อลูกเริ่มตื่นเต้นหรือกังวลเกี่ยวกับคลาสเรียนว่ายน้ำครั้งต่อไป ก็ให้ลองบอกเขาไปว่า “มันน่าสนุกหรือน่าตื่นเต้นดีออกนะ”

อีกหนึ่งวิธีที่บางบ้านใช้ ก็คือหาตุ๊กตาคู่ใจให้เขาสักตัว ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกสงบและปลอดภัย ให้พวกเขาเอาไปวางไว้บนเตียงด้วย หรือเอาวางไว้ใต้หมอน ก็อาจจะช่วยให้เด็ก ๆ คลายความวิตกกังวลลงได้ และทำให้เด็กรู้สึกเหมือนมีเพื่อนคู่ใจด้วย

อีกความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นได้กับเด็กเล็ก คือจะเกิดกับสิ่งที่พวกเขาไม่เคยทำมาก่อน อย่างเช่น การปั่นจักรยาน ดังนั้นถ้าหากเด็ก ๆ รู้สึกกังวลในการทำกิจกรรมที่แปลกใหม่ พ่อแม่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ ด้วยการเปิด YouTube ให้ลูกดู ว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ได้มีอะไรน่ากลัว ให้เขาดูเป็นตัวอย่าง พวกเขาจะสามารถคลายความกังวลลงไปได้มาก

เด็กเล็กบางคน อาจมีความกังวลในเรื่องการไปโรงเรียนอนุบาลครั้งแรก เนื่องจากเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ และเป็นช่วงเวลาที่ต้องห่างกับพ่อแม่เป็นเวลานาน ๆ ครั้งแรก ซึ่งจริง ๆ แล้ว ความกังวลนี้มักจะเกิดขึ้นนแค่ช่วงแรก ๆ เท่านั้น สักพักเดี๋ยวเด็ก ๆ ก็จะชินไปเอง

พ่อแม่สามารถพูดปลอบ รวมไปถึงถามถึงกิจกรรมในแต่ละวัน ให้ลูก ๆ เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง เพื่อตรวจสอบดูว่า ลูกมีความกังวลเรื่องอะไรที่โรงเรียนบ้างหรือไม่ แต่ถ้าลูกมีความสุขดี สามารถเข้ากับเพื่อน ๆ ได้ นั่นก็ถือว่าไม่ต้องมีอะไรน่าห่วงแล้วล่ะค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความวิตกกังวลในเด็กโต (Anxiety in big kids)

สำหรับเด็กโตแล้ว พวกเขามักจะมีความวิตกกังวลเพิ่มมากกว่า เนื่องจากมีเรื่องต่าง ๆ ให้คิด และรับผิดชอบมากขึ้น มีเวลาเล่นน้อยลง รวมไปถึงมีความกดดันจากการเป็นนักเรียน ยิ่งถ้าหากอยู่ในโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง เด็กจะยิ่งมีความวิตกกังวล ความเครียด ความซึมเศร้าได้ง่าย และในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คืออาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด และพฤติกรรมเกเรได้

การบ้านถือเป็นอีกเรื่องที่เด็กโตส่วนใหญ่มักจะกังวลกัน การบ้านเนี่ย ถือเป็นเรื่องใหญ่ของเด็ก ๆ เขาเลยล่ะ เด็กอาจจะเริ่มรู้สึกว่า การทำการบ้านมันยากจัง ซึ่งหลายครั้ง เด็กมักจะมีความวิตกกังวลไปก่อนที่จะเริ่มลงมือทำการบ้านเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ที่จะต้องช่วยคลายความกังวลให้กับลูก ๆ ของพวกคุณ

พ่อแม่อาจจะช่วยปลอบเด็ก พยายามบอกให้ลองทำดูก่อน คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ใกล้ ๆ หรืออีกวิธีที่จะช่วยแก้ความวิตกกังวลไปก่อนนี้ได้ ก็คือให้ลองประเมินความยากของการบ้านล่วงหน้าไปก่อน ว่าก่อนทำให้คะแนนความยากระดับไหน แล้วพอทำเสร็จแล้ว จริง ๆ แล้วการบ้านนี้มันยากระดับไหน ถ้าหากมันไม่ได้ยากมากเท่าที่คิด เด็กจะรับรู้ได้เองว่าตัวเองกลัวไปก่อน แล้วครั้งต่อ ๆ ไปก็จะมีความกังวลน้อยลง

เครื่องให้คะแนนความยากง่าย ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเราในการสื่อสารและติดตามความกังวลและความก้าวหน้าของเรา ผู้ใหญ่บางคนใช้เพื่อเข้าถึงสุขภาพจิตของตัวเอง ประเมินความเจ็บปวด และทบทวนวิธีจัดการกับสถานการณ์ ซึ่งแน่นอนว่า เด็ก ๆ ก็สามารถได้รับประโยชน์จากวิธีนี้เช่นกัน การให้คะแนนความยากง่าย สามารถช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนจาก “ฉันทำไม่ได้!” เป็น “จริง ๆ แล้วฉันทำได้นี่นา” ขึ้นมาได้เลย

การเปลี่ยนแปลงแทบทุกสิ่ง สามารถสร้างความกลัว และความวิตกกังวลให้กับทุก ๆ คนได้ รวมไปถึงกับลูก ๆ ของทุกคนด้วย การเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสัมพันธ์ สภาพแวดล้อม สามารถสร้างความกังวลให้กับเด็ก ๆ ได้ง่าย ๆ

เด็กโต ไปจนถึงวัยรุ่น สามารถตระหนักถึงความสัมพันธ์ และสถานะทางสังคมได้ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังไม่มีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจและอารมณ์ ดังนั้นถ้าหากพวกเขาเผชิญกับความล้มเหลว หรือความพ่ายแพ้อยู่บ่อย ๆ มันก็อาจจะกระทบกระเทือนจิตใจพวกเขาได้ รวมไปถึงเกิดเป็นความเครียด ความซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลได้เลย

ว่าแต่ เจ้าตัวเล็กของแม่ ๆ เป็นอย่างไรกันบ้างหลังกลับจากโรงเรียน มาแชร์รูปให้ดูกันใต้คอนเม้นท์นี้กันนะคะ


Credit content : www.boredpanda.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

15 ภาพสำเนาถูกต้อง ไม่น่าเชื่อว่า หน้าลูกตอนนี้เหมือนพ่อแม่ในวัยเด็กอย่างกับแกะ

ท่านอนทารก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 64

วิธีลดความเครียด คลายเครียดจากการทํางาน การจัดการความเครียด กินอะไรคลายเครียด อาหารลดความเครียด

บทความโดย

Napatsakorn .R