ของเล่นเด็กมีทาเลตเกินมาตรฐาน สารทาเลต อันตรายอย่างไร ของเล่นลูกที่แม่ต้องระวัง

แม่จ๋าทำร้ายลูกไม่รู้ตัว! ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่าของเล่นเด็กมีทาเลตเกินมาตรฐาน EU มากถึง 378 เท่า ของเล่นเด็กมีทาเลตสูงอันตรายอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ของเล่นเด็กมีทาเลตเกินมาตรฐาน

ของเล่นเด็กมีทาเลตเกินมาตรฐาน อันตรายอย่างไร ของเล่นลูกมีสารทาเลตสูง ส่งผลต่อร่างกายลูกนะแม่ อย่าซื้อของถูกแต่ไม่ได้มาตรฐาน ถ้าหยิบจับเอาเข้าปาก จะทำให้ลูกเกิดอันตรายได้

 

ฉลาดซื้อพบทาเลตเกินมาตรฐานในของเล่นเด็ก

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ภายใต้โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ สุ่มเก็บตัวอย่างของเล่น และของใช้ประเภทพลาสติกพีวีซี (PVC) ที่เด็กอาจนำมาใช้เป็นของเล่น จำนวน 51 ตัวอย่าง จากร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ท้องตลาด และบริเวณหน้าโรงเรียน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและในเว็บไซต์ห้างออนไลน์ ในเดือนพฤษภาคม 2562 ส่งตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารทาเลต (phthalates) 6 ชนิด ที่สกัดได้จากพลาสติก ยาง และสารเคลือบจากผิวของเล่นที่เด็กอาจสัมผัส

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวถึงการทดสอบของเล่นเด็กและพบว่ามีสารทาเลตสูง ว่า จากการทดสอบของเล่น ทั้งหมด 51 ตัวอย่าง แบ่งเป็น กลุ่มที่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) จำนวน 19 ตัวอย่าง และกลุ่มที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. 32 ตัวอย่าง

ผลปรากฎว่า กลุ่มที่มีเครื่องหมาย มอก. พบทาเลตเกินกว่าค่ามาตรฐานสากลจำนวน 7 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 36.84 จาก 19 ตัวอย่าง ส่วนกลุ่มที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. พบทาเลตเกินเกณฑ์ 11 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 34.38 จาก 32 ตัวอย่าง ซึ่งหากคิดโดยรวมจะมีของเล่นที่พบทาเลตเกินมาตรฐาน 18 จาก 51 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 35 ของตัวอย่างทั้งหมด

ทั้งนี้ สหภาพยุโรป ได้กำหนดมาตรฐานของเล่นทั่วไป และของเล่นสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ ที่มีส่วนที่นำเข้าปากได้ ว่าต้องมีปริมาณรวมสูงสุดของอนุพันธ์ทาเลต ไม่เกินร้อยละ 0.1 โดยมวล

สำหรับชนิดของทาเลตที่พบมากที่สุดในการสุ่มตรวจครั้งนี้ คือ บิส-2-เอทิลเฮกซิลทาเลต หรือ bis-(2-ethylhexyl phthalate) หรือ DEHP โดยแบ่งกลุ่มของเล่นออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

 

กลุ่มที่มีเครื่องหมาย มอก. และตรวจไม่พบทาเลต หรือ พบแต่ไม่เกิน 0.1 (ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด)

สุ่มตรวจของเล่นเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลุ่มนี้มี 12 ตัวอย่าง ได้แก่ ยางกัดมีที่จับ (สีส้ม-เขียว) ยี่ห้อ Mind Care, ยางกัดเป็ด (สีชมพู) ยี่ห้อ Tesco loves baby, ยางกัด (สีน้ำเงิน) ยี่ห้อ Playskool baby, ตุ๊กตาพ่นน้ำ, กรุ๊งกริ๊ง (สีน้ำเงิน), ชุดตุ๊กตาไดโนเสาร์, อมยิ้มด้ามยาว, ชุดทำอาหารพลาสติก, ตุ๊กตากระต่าย (สีเหลือง), หุ่นยนต์ซุปเปอร์ฮีโร่, ชุดผลไม้ผ่าครึ่ง และตุ๊กตาช้าง (สีน้ำเงิน) ยี่ห้อ NB Toys

 

กลุ่มที่มีเครื่องหมาย มอก. และตรวจพบทาเลตเกิน 0.1 (เกินเกณฑ์ที่กำหนด)

ของเล่นเด็กมีทาเลต

กลุ่มนี้มี 7 ตัวอย่าง ได้แก่ พะยูนสีเขียว (35.73), แมวน้ำสีชมพู (34.51), ยางบีบ ผลไม้ (33.17), ตุ๊กตาเป็ดสีเหลือง ยี่ห้อ Baby gift set (30.34), ตุ๊กตาหมี (สีน้ำเงิน) ยี่ห้อ NB Toys (27.529), ตุ๊กตาไก่สีเหลือง (22.593) และชุดบล็อกต่อ (12.94)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กลุ่มที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. และตรวจไม่พบทาเลต หรือ พบแต่ไม่เกิน 0.1 (ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด)

สารทาเลตในของเล่นเด็กไม่เกินมาตรฐาน

กลุ่มนี้มี 21 ตัวอย่าง ได้แก่ ช้อน (สีแดง), พวงกุญแจม้า (สีเหลือง), ช้าง (สีส้ม), หมี (สีเทา), ไดโนเสาร์ (สีชมพู), ลูกบอลยาง (มีไฟกระพริบ), ลูกบอลยาง, ชุดตักดิน, ตุ๊กตาสัตว์เล็ก, แหวนยาง, ตุ๊กตาหนู (สีม่วง-เทา), แม่เหล็กผีเสื้อ, พวกกุญแจโมชิ (สีชมพู), ยางกัดทรงห่วงกลม, ยางกัดลายแมว, ยางกัดน้ำ fin, ที่กัดเด็ก, ยางกัดยีราฟ (สีเหลือง), ยางกัดรูปหัวใจ (สีแดง-เขียว), ตัวต่อไดโนเสาร์ และรถตักดิน

 

กลุ่มที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. และตรวจพบทาเลตเกิน 0.1 (เกินเกณฑ์ที่กำหนด)

ระวังของเล่นเด็กมีสารทาเลตเกินมาตรฐาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลุ่มนี้มี 11 ตัวอย่าง ได้แก่ ยางบีบหมู (37.863), พวงกุญแจสไปเดอร์แมน (36.688), แรคคูณสีเหลือง (36.422), สายรัดข้อมือสีชมพู (33.84), ตุ๊กตาบีบสัตว์ (33.18), เป็ดสีเหลือง (28.436), ตุ๊กตาเจ้าหญิง (18.83), พวงกุญแจจระเข้ (17.56), ตุ๊กตาเจ้าหญิง (9.485), พวงกุญแจยางไดโนเสาร์ (5.43) และตุ๊กตาม้า (2.92)

โดยเฉพาะของเล่นประเภทตุ๊กตาบีบได้รูปสัตว์ชนิดต่างๆ พบว่ามีค่าทาเลตสูงมาก เช่น ยางบีบหมู ซึ่งตรวจพบปริมาณทาเลตรวม เท่ากับ 37.86 (หน่วยเป็นร้อยละเศษส่วนโดยมวล) แรคคูณสีเหลือง ตรวจพบปริมาณทาเลตรวม เท่ากับ 36.42 และ พะยูนสีเขียว ตรวจพบปริมาณทาเลตรวม เท่ากับ 35.74

 

สารทาเลตในของเล่นเด็กที่เกินมาตรฐาน อันตรายอย่างไร

รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวนการศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงอันตรายของสารทาเลตในของเล่นเด็กว่า ทาเลต เป็นกลุ่มของสารที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นสารที่ผสมในพลาสติกชนิดพีวีซีเพื่อเพิ่มภาวะการคืนรูป ทาเลตไม่มีพันธะทางเคมีที่เชื่อมต่อกับพลาสติก ดังนั้น สารนี้จึงสามารถเคลื่อนย้ายออกจากผลิตภัณฑ์ไปเกาะติดกับสิ่งอื่นเช่นมือเมื่อมีการสัมผัสได้

ทาเลตมีหลายชนิด บางชนิดจัดว่าเป็นพิษต่อระบบการสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย โดยกลไกการออกฤทธิ์จะต้านแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชาย ดังนั้นในมาตรฐานสากลและในหลายประเทศได้มีการควบคุมสารทาเลต

นอกจากจะต้องใส่ใจเรื่องสารทาเลตในของเล่นเด็กแล้ว ก็ยังมีสารอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายได้ ซึ่งพ่อแม่ควรจะใส่ใจในการเลือกซื้อของเล่นให้กับเด็ก โดยเฉพาะทารกหรือเด็กเล็ก ที่ชอบเอาของเล่นเข้าปาก

 

คิดให้รอบคอบก่อนซื้อของเล่นเด็ก

วิธีเลือกซื้อของเล่นให้ปลอดภัย เหมาะสมกับวัย

  1. เลือกของเล่นที่ปลอดภัย คงทน ไม่มีมุมหรือเหลี่ยมคม ใช้สีที่ไม่เป็นพิษ มีความแข็งแรงคงทน ทำความสะอาดง่าย มีน้ำหนักที่เหมาะกับมือเด็ก
  2. เหมาะสมกับวัย สีสันสดใส มีประโยชน์รอบด้าน และเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลากหลาย
  3. หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีขนาดเล็กให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยที่ชอบหยิบของเล่นเข้าปาก
  4. หลีกเลี่ยงของเล่นที่ส่งเสริมความก้าวร้าวรุนแรง
  5. มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยได้รับความปลอดภัยจากสถาบันที่ได้มาตรฐาน เช่น มอก. เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของคุณภาพของของเล่น
  6. ของเล่นไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อราคาแพง พ่อแม่อาจประดิษฐ์ของเล่นทำเองจากวัสดุที่มีในบ้าน หรือการพูดคุยหยอกล้อ การเล่านิทาน ร้องเพลง ทายปัญหา จะเป็นการเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างดี และมีคุณค่ามากสำหรับลูก
  7. ของเล่นต้องไม่มีสารตะกั่วเจือปน โดยเลือกซื้อของเล่นที่ได้มาตรฐาน
  8. ควรเลือกของเล่นที่เป็นแบบยางธรรมชาติ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นสารเคมีรุนแรง หรือมองมองหาฉลาก “ปลอดพีวีซีPVC-Free” หรือ “ปลอดสารทาเลต Phathalate-Free” ก่อนซื้อ
  9. หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีสารเคมีรุนแรง หรือของเล่นประเภทที่มีกลิ่นหอม
  10. ของเล่นไม้ โดยเฉพาะของเล่นไม้ที่กาวเป็นส่วนประกอบ มีแนวโน้มที่จะใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ สารชักเงา สีที่มีตะกั่ว และสารโลหะหนักอื่น ๆ ควรเลือกของเล่นไม้แบบเรียบ ๆ ที่ไม่ได้ทาสีและเคลือบเงา หรือมีส่วนที่ติดกาวให้น้อยที่สุด
  11. ตุ๊กตาบางประเภทอาจผลิตจากพลาสติก กำมะหยี่และอุปกรณ์ยัดไส้ด้วยเส้นใย หรือมีส่วนประกอบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตุ๊กตาหมีขนยาวหรือขนสังเคราะห์ที่จะประกอบไปด้วยสารหน่วงการติดไฟ ที่เป็นพิษและแพ้ได้ง่าย ควรเลือกซื้อตุ๊กตาผ้าหรือตุ๊กตาที่เป็นธรรมชาติ โดยสังเกตจากฉลาก GS ฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ก่อนนำมาให้ลูกเล่นควรซักและตากให้แห้ง

ของเล่นเด็ก ของเล่นทารก มักจะมีราคาสูงกว่าของเล่นทั่วไปตามท้องตลาด แต่แม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นสำคัญนะคะ

 

ที่มา : https://www.consumerthai.org

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเลือกของเล่นให้ลูกแต่ละช่วงวัย ซื้อแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยมากที่สุด

7 สิ่งเกี่ยวกับทารก ที่ผู้ปกครองมือใหม่ควรรู้ เกร็ดเกี่ยวกับเด็กทารก

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด!

ทารกคว้าสายชาร์จเข้าปาก ไฟฟ้าช็อตทารกวัย 11 เดือน ชักตาตั้ง อุทาหรณ์คนเลี้ยง!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya