อย่างที่แม่ ๆ ทราบกันดีว่า “นมแม่” เป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ซึ่งทาง WHO ได้แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกน้อยด้วยนมแม่จนถึง 6 เดือน พอหลังจาก 6 เดือนแล้ว นมแม่จะมีปริมาณสารอาหารจำพวกธาตุเหล็ก และสังกะสีไม่เพียงพอ แม่ ๆ จึงต้องจัดเตรียมอาหารเสริมให้ลูกน้อยด้วยสารอาหารเหล่านี้เพิ่มเติม
ส่งต่อสารอาหารสำคัญ 1,000 วันแรก ผ่านน้ำนมแม่ เพื่อพัฒนาสมองของลูกในวัยแรกเริ่ม
ในช่วงเวลา 1,000 วันแรก ของชีวิต เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ รวมระยะเวลาระหว่างที่อุ้มท้องจนคลอด ต่อเนื่องไปจนถึงเด็กอายุ 2 ปี ถือเป็นช่วงเวลาที่โภชนาการจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมอง และการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านร่างกายก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ดังนั้น ในช่วงวัยแรกเริ่มของลูก ควรเริ่มต้นที่ “นมแม่” เพราะนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะให้ทั้งคุณค่าด้านโภชนาการและสารอาหารเพื่อการพัฒนาการของลูกน้อย นอกจากนี้ ยังมีกรดไขมันจำเป็น ที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมอง เช่น
- MFGM (Milk Fat Globule Membrane) เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ ผลิตจากต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมให้คงรูปอยู่ได้ อุดมไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพมากกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด โคลีน และแกงกลิโอไซด์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณของประสาท และช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาสมองและสติปัญญา โดยสารอาหารใน MFGM เมื่อทำงานร่วมกับ DHA จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว
- DHA จำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ มีหน้าที่สำคัญในการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดย DHA จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท เรียกว่า เดนไดรต์ (Dendrite) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้ จากผลการวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับ DHA จะมีพัฒนาการของสมองและสายตา ความสามารถในการจำ และการแก้ปัญหาดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเพียงพอ
10 อาหารบำรุงสมอง กินอะไรลูกแล้วลูกฉลาต พัฒนาการสมองไว มีอะไรบ้าง
1. อะโวคาโด
ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 หรือไนอะซิน โฟเลต มีแร่ธาตุอย่างโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แมกนีเซียม และแคลเซียม คุณแม่สามารถนำอะโวคาโดไปต้มให้สุก จากนั้นตักเอาแต่เนื้อออกมา แล้วบดให้ละเอียดด้วยช้อน หรือส้อม เสร็จแล้วก็ป้อนให้ลูกน้อยได้กิน เมนูนี้เหมาะสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป
2. กล้วย
กล้วยเป็นผลไม้ที่หาได้ง่าย อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามมินซี โฟเลต มีแร่ธาตุอย่างโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม แมกนีเซียม และแคลเซียม วิธีการนำมาทำเป็นอาหารให้ลูกน้อยอย่างง่ายที่สุด คือ การนำมาบดให้ละเอียด จะบดด้วยมือหรือเครื่องก็ได้ หรือจะนำกล้วยเอาเข้าไปอบในเตาไมโครเวฟเป็นเวลา 25 วินาที ก่อน แล้วค่อยมาบดก็ได้ จากนั้นคุณแม่ก็เติมนมแม่เข้าไป หรือจะใส่ธัญพืชอื่นๆ แทนตามที่ต้องการ เมนูนี้เหมาะสำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป
บทความที่น่าสนใจ : เมนูกล้วย ยิ่งกินยิ่งฉลาด เมนูง่าย ๆ คุณแม่ทำได้คุณลูกชอบทาน
3. ผักใบเขียว
ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ผักกาดเขียวปลี อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องการจดจำได้ดี โดยเฉพาะผักโขม และผักคะน้ามีธาตุเหล็กสูง และยังสามารถเติมลงไปในอาหารของลูกได้ง่าย ถ้าคุณอยากหาเมนูใหม่ ๆ ให้ลองผสมน้ำผักโขม กับน้ำผลไม้ต่าง ๆ เช่น น้ำส้ม เพราะวิตามินซีจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแคลเซียมเมื่อรับประทานอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากแคลเซียมยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก
4. มะละกอ
เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี มีเส้นใยจำนวนมาก และกรดโฟลิก เมนูง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถทำให้ลูกน้อยทานได้ คือ มะละกอบด เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ทำง่ายเพียง 5 นาที โดยไม่ต้องใช้ความร้อน แต่มะละกอที่ใช้ต้องเป็นมะละกอสุกเท่านั้น หากใช้มะละกอดิบจะทำให้เด็กเกิดอาการปวดท้องได้ และไม่ควรให้ลูกรับประทานเกินวันละ 2-3 ออนซ์ อาจส่งผลทำให้ลูกเกิดอาการปวดท้องได้
5. ฟักทอง
ฟักทองอัดแน่นไปด้วยสารอาหารที่ดีที่สุด เพราะเต็มไปด้วยวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน เป็นแหล่งโพแทสเซียม โปรตีน และเหล็กที่ดี รวมถึงวิตามินเค วิตามินซี โฟเลต ไนอะซิน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม และสังกะสี ทารกจะเริ่มทานฟักทองได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป สามารถทานเป็นฟักทองบด หรือเป็นชิ้นนิ่ม หรือนำไปผสมลงในธัญพืชโฮมเมด โยเกิร์ต และแม้แต่ในเนื้อสัตว์ก็ได้
บทความที่น่าสนใจ : เมนูฟักทอง สูตรอาหารคุณแม่ให้นมบุตร เมนูฟักทองแสนอร่อย ประโยชน์เน้น ๆ
6. ถั่ว
ถั่ว และเมล็ดพืชมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงสมอง และช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินอีที่ช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น และปกป้องสมองของคุณจากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ถั่ว และเมล็ดพืชเหล่านี้บางชนิด ได้แก่ เมล็ดทานตะวันเฮเซลนัทอัลมอนด์วอลนัทเป็นต้น การบริโภคถั่ว และเมล็ดพืชในปริมาณที่น้อยลงจะทำงานได้ดีกับร่างกายของคุณ และเพิ่มประโยชน์มากมายให้กับสมองของคุณ
7. แครอท
แครอทเป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูงมาก รวมถึงมีวิตามินเอ วิตามินซี และแคลเซียมสูงที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของทารก นอกจากนี้ยังมีโฟเลต ไนอะซิน โซเดียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โพแทสเซียม และเหล็ก ซึ่งคุณแม่สามารถนำแครอทไปต้ม หรือนึ่งจนสุกแล้วให้ลูกทาน หรือจะนำไปทำกับซุปให้ลูกก็ได้
8. ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตเป็นแหล่งของโปรตีน และไฟเบอร์ สามารถกินร่วมกับผลไม้ น้ำผึ้ง (ควรหลีกเลี่ยงน้ำผึ้งหากลูกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ) นม และโยเกิร์ต เพิ่มความอร่อย และน่ารับประทาน ซึ่งเมล็ดธัญพืชจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินบีหลากหลายชนิด (ยกเว้น วิตามินบี 12) และธาตุแมกนีเซียม เหมาะสำหรับลูกน้อยในวัยที่สามารถเคี้ยวได้บ้างแล้ว
9. ไข่
ไข่ นอกจากเป็นแหล่งโปรตีนแล้ว ยังมีโคลีน ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยทำให้ความจำดีอีกด้วย ซึ่งไข่ใบเล็ก ๆ สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไข่ต้ม ไข่เจียว (สามารถเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่น ชีส กุ้ง ปูอัด เพื่อเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อมมากขึ้น) แพนเค้ก ไข่ตุ๋น ขนมปังชุบไข่ หรือเพียงแค่ตอกไข่ลงในโจ๊กของลูกก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เด็กวัยเตาะแตะรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง
10. ปลา
ไขมันปลาเช่น แซลมอน เป็นแหล่งโอเมกา-3 ชั้นยอด แต่หากลูกน้อยไม่ชอบกินน้ำมันปลา คุณแม่ลองแอบเติมน้ำมันปลาลงในโยเกิร์ต สมูทตี้ และอาหารอื่นๆ ดู ปลาที่ช่วยปกป้องสมอง และลดความเสี่ยงของโรคทางจิต และความจำเสื่อมมี ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า และปลาแซลมอน เพราะอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 สิ่งนี้จะช่วยในการทำงานของสมอง และพัฒนาการของเด็กทำให้เพิ่มระดับการโฟกัส และทำให้เด็กมีความคิดที่ดีขึ้น
บทความที่น่าสนใจ : โอเมก้า 3 ดีต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไร? พบในอาหารประเภทไหน?
ตัวอย่างเมนูเสริมบำรุงสมองเด็ก มีเมนูอะไรที่พัฒนาสองลูกบ้าง
-
อะโวคาโดผสมแคร์รอตปั่น
อะโวคาโดเป็นซูเปอร์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อพัฒนาการโดยรวมของทารก อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพของทารก ช่วยในเรื่องของพัฒนาการสมอง และการมองเห็น นอกจากมีโปรตีนชนิดที่ย่อยง่ายแล้ว ยังมีไฟเบอร์สูง กระตุ้นระบบขับถ่ายของลูกน้อย ในอะโวคาโดมีวิตามินซี ที่ช่วยป้องกันหวัด เลือดออกตามไรฟัน และเหงือกอักเสบ เนื่องจากผิวของทารกมีความอ่อนนุ่ม และเรียบเนียน ซึ่งง่ายต่อการถูกขีดข่วน และอักเสบ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าอะโวคาโดสามารถลดการอักเสบได้ดีอะโวคาโดมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ โดยสารสกัดจากอสโวคาโดได้รับการทดสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ พบว่าสารสกัดจากอะโวคาโดสามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้
-
ซุปบรอกโคลี
บรอกโคลีอุดมไปด้วยแคลเซียม โฟเลต ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ ธาตุเหล็ก เบตาแคโรทีน วิตามิน C และสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย ช่วยป้องกันความผิดปกติของเด็กแรกเกิด ช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลง เนื่องจากเป็นผักที่มีแมกนีเซียมสูง ช่วยป้องกันการทำลายของหลอดเลือดที่เกิดจากโรคเบาหวานได้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงจากการพิการทางสมองของเด็กทารก ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง จึงเหมาะกับคนท้องเป็นอย่างมาก
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคุณแม่ในการเสริมสร้างพัฒนาการสมองและความฉลาดให้ลูกอย่างเหมาะสม สามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ที่มา: time, wholesomebabyfood
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
4 เรื่องต้องรู้เมื่อมีลูกน้อย ตารางเลี้ยงเด็ก วัย 0-1 ปี อะไรบ้างที่สำคัญ
มัดรวมประโยชน์ของ “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารยืนหนึ่ง เรื่องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก
5 เคล็ดลับเตรียมสมองลูก พร้อมรับการเรียนรู้