ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้ตัวหรือไม่ว่า ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ นั่นเท่ากับคุณแม่กำลังอุ้มท้องทารกได้ราว 2 เดือนครึ่งแล้ว ในช่วงเวลานี้ ความสงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์อาจจะคลายกังวลลงไปบ้าง ที่สำคัญรูปร่างก็ดูเหมือนคนท้องแล้วจริง ๆ นี่คือเหตุผลที่สัปดาห์นี้ เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการซื้อของใช้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการหาเสื้อผ้าหลวม ๆ ตัวใหม่เอาไว้ และอาจเป็นครั้งแรกสำหรับเสื้อผ้าสำหรับคนท้องด้วย

 

ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ มีสัญญาณบอกอย่างไร ?

คุณแม่ลองสังเกตดูว่า เข้าสัปดาห์ที่ 10 นี้ ร่างกายของเราเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ขณะที่ลูกน้อยกำลังเติบโตในครรภ์นั้น เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อของคุณแม่ก็กำลังยืดออกตามอายุครรภ์เช่นกัน หน้าอกจะขยายขึ้นและจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเกิดขึ้น อาการทั่วไปที่เจอเมื่อตั้งครรภ์ได้ 10 สัปดาห์มีดังต่อไปนี้

 

1. มีเลือดออก

อาการเลือดออกจากช่องคลอด ตอนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป และอาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นอาจจะเป็นเพราะเส้นเลือดมีการพัฒนา และ ขยายตัวในช่วงบริเวณช่องคลอดเลยทำให้เกิดเลือดไหลออกมาได้ อีกทั้งมดลูกขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนช่วงท้องก็เริ่มรู้สึกว่าเริ่มป่องพองขึ้นมาบ้างแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือดออกตอนท้องเป็นอะไรไหม เลือดออกแบบไหนต้องไปหาหมอด่วน

 

2. ปวดหัว ปวดท้องน้อย

อาการปวดท้องในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่พบเจอได้ทั่วไป ส่วนเหตุผลว่าทำไมถึงรู้สึกปวดท้องนั้น ก็เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั่นเอง  เช่นเดียวกันกับอาการปวดหัว ที่มักจะเกิดขึ้นเพราะความเครียด หรือ ได้รับการพักผ่อนน้อย ก็เป็นได้ แต่ถ้าหากคุณแม่ เรื่องมีอาการปวดหัว ปวดท้องหนักจนทนไม่ไหว ให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. แพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ แต่ในช่วงไตรมาสแรกอาการแพ้ท้องจะหนักที่สุด คุณแม่จะรู้สึก คลื่นไส้ ปวดหัว อยากอาเจียน ส่วนวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่ มีอาการเบาลงนั้นก็มีหลายวิธีเช่น พยายามไม่เครียด ดื่มน้ำ เยอะ ๆ หรือ กินผลไม้ ก็จะสามารถลดการแพ้ท้องได้

 

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. หน้าอกขยาย

ตั้งแต่เริ่มรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกได้ว่า หน้าอกของจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเนื่องจากมีการเตรียมพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมมาหลายสัปดาห์แล้ว และหน้าอกจะค่อย ๆ ขยายต่อไปเรื่อย ๆ จนเข้าไตรมาสที่สองและสาม อาการจะกลับมาปกติ

 

5. อารมณ์แปรปรวน

ยังอยู่ในช่วงไตรมาสแรก เพียง 2 เดือนกว่า ๆ อารมณ์ของคุณแม่ยังถูกเร้าด้วยฮอร์โมนที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ฉะนั้น คุณพ่อควรเข้าใจว่า อาการเช่นนี้ คืออาการปกติของคนท้อง ไม่ได้เกี่ยวกับสุขภาพกายใจแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ คุณแม่ก็ต้องการการเอาใจใส่ดูแลมาก ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. รู้สึกอ่อนเพลียทั้งวัน

ช่วงแรก ๆ นี้ คุณแม่จะรู้สึกหมดแรง อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ยิ่งแพ้ท้องด้วยแล้ว ไม่ใช่แค่ร่างกายของคุณแม่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเลี้ยงทารกให้เติบโตในครรภ์ แต่คุณแม่อาจจะนอนได้ไม่ดี จำไว้ว่าตอนตั้งครรภ์การพักผ่อนสำคัญที่สุด

 

7. ตกขาว

ถ้ายังมีตกขาวอยู่ ไม่ต้องกังวลไป เพราะมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะเพศมากขึ้น ประกอบกับการผลิตเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีตกขาวลักษณะใสและไม่มีกลิ่นออกมามากกว่าเดิม แต่อย่าลืมว่า แท้จริงการตกขาวคือการกำจัดแบคทีเรียแบบธรรมชาติ หากตกขาวมีสี มีเลือดปน มีกลิ่นไม่ดี หรือทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบาย ควรรีบไปพบแพทย์

 

8. เห็นเส้นเลือดที่ชัดขึ้น

ระวังเรื่องเส้นเลือดขอดเมื่อท้องเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เส้นเลือดสีเข้มเป็นการเตือนที่ชัดเจนว่า มีการไหลเวียนเลือดที่มากขึ้นในร่างกายคุณแม่เพื่อลูกน้อยที่กำลังโต คุณแม่ต้องเริ่มหารองเท้าสำหรับคนท้องมาใส่แล้ว

 

9. ระบบการทำงานภายในแปรปรวน

เข้าสัปดาห์ที่ 10 หัวใจของคุณแม่ต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะหัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังต่อไปหล่อเลี้ยงมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ระบบกระเพาะทำให้คุณแม่เหมือนกับว่าในร่างกายมีลมเยอะมาก มักจะเรอและผายลมอยู่บ่อย ๆ ในคนท้องส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเอง คุณแม่อย่าเป็นกังวลไป พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนนั้นสำคัญกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มากที่สุด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 10

  • ในสัปดาห์นี้ถ้าเปรียบเทียบกับขนาดของผลไม้ ทารกในท้องแม่มีขนาดเท่าลูกพรุนหรือส้มจี๊ด ส่วนสมองของทารกในครรภ์สามารถสร้างเซลล์ประสาทได้เกือบ 250,000 เซลล์ต่อนาทีเลยทีเดียว
  • ทารกมีความยาวประมาณ 1.2  นิ้ว น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 0.14 ออนซ์ และจะตัวยาวขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 10 สัปดาห์
  • เริ่มได้ยินเสียงหัวใจของทารกในครรภ์เต้นถี่ ๆ ผ่านทางเครื่องช่วยฟังของคุณหมอ คุณพ่อคุณแม่จะตื่นเต้นน่าดู
  • ในส่วนของไต ไตของทารกเริ่มมีระบบกรองเลือดและผลิตปัสสาวะตั้งแต่สัปดาห์นี้ มีการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว และเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำคร่ำในอีกไม่ช้า ตับและลำไส้ ก็เริ่มทำงานด้วยตนเองแล้ว
  • มือและเท้า ที่ก่อนหน้านี้มีลักษณะเป็นพังผืด เริ่มแยกตัวออกมาเป็นนิ้ว ทารกอาจงอข้อศอกและข้อมือได้แล้วด้วย
  • ในส่วนของศีรษะของทารก ยังคงโตผิดสัดส่วน แต่หลังจาก 10 สัปดาห์ไปแล้ว เขาจะมีคอและสร้างกระดูกทั้งหมดบนใบหน้า คุณแม่จะมองเห็นหน้าของลูกน้อยชัดเจนขึ้นถ้าทำอัลตราซาวนด์ในช่วงเวลานี้
  • กระดูกเริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น หน่อฟันของทารกจะเริ่มปรากฏ เริ่มมีเส้นขนชุดแรก เรียกว่า Lanugo เป็นขนเส้นเล็ก ๆ ทั่วตัวลูกน้อย อวัยวะหลายส่วนพัฒนาเต็มที่แล้ว ทั้งหูชั้นในและหูชั้นนอก หน่อฟัน และดวงตา
  • เล็บเริ่มงอกขึ้นมาบนนิ้วมือ และนิ้วเท้าแล้ว และเส้นผมบาง ๆ รวมทั้งขนอ่อน ๆ ก็เริ่มขึ้นแล้วเช่นกัน แขนเริ่มงอเตรียมพร้อมสำหรับข้อมือในอนาคต
  • สำหรับทารกเพศชาย ลูกอัณฑะจะเริ่มผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

 

ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ต้องทำอะไรบ้าง ?

1. อาหารมีประโยชน์

รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารที่มีโฟเลต ผลไม้ที่มีวิตามินและไฟเบอร์ และดื่มนมเพื่อเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายและสร้างกระดูกและฟันให้ทารกในครรภ์ ทั้งนี้ลองดื่มชาสมุนไพรแทนการดื่มชาและกาแฟที่ดื่มเป็นประจำ เพื่อลดปริมาณคาเฟอีนที่อันตรายต่อเด็กทารก ชาสมุนไพรจะดีต่อสุขภาพและเหมาะกับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องมากกว่า

 

2. อาหารไม่ควรรับประทาน

ไม่รับประทานอาหารดิบอย่างเช่น ซาชิมิ หรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น เนื้อกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือไข่ลวกที่ยังไม่สุก อย่ารับประทานอาหารรสจัดเกินไป ไม่ว่าจะเค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด

 

3. เสริมแคลเซียม

ช่วงสัปดาห์นี้ควรดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมมากขึ้น เพราะลูกน้อยในครรภ์เริ่มมีหน่อฟันแล้ว คุณแม่ต้องพยายามรักษาสุขภาพอย่าให้เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะอุณหภูมิสูงในร่างกายคุณแม่จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งกระทบต่อพัฒนาการฟันของลูกน้อยในครรภ์ เรียกว่า คุณแม่ต้องดูแลตัวเองพร้อมกับดูแลลูกเลยทีเดียว

 

4. เตรียมของว่าง

แน่นอนว่า เวลาคุณแม่รู้สึกเวียนหัวต้องอยากกินอะไรสักอย่าง เตรียมของว่างไว้ใกล้มือเผื่อขบเคี้ยวเนื่องจากอาการแพ้ท้องทำให้กินอะไรไม่ได้มาก

 

5. อย่ายกของหนัก

ช่วงนี้จะมีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ เนื่องจากร่างกายคุณแม่มีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ พยายามอย่าลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป ลุกขึ้นยืนช้า ๆ ให้เวลาร่างกายปรับความดันโลหิตก่อนนะคะ อย่ายกของหนัก เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

6. เปลี่ยนไลฟ์สไตล์

แนะนำให้คุณแม่ใส่ชุดหรือกางเกงที่เอวหลวม ๆ หน่อย จะได้ไม่อึดอัดท้อง เวลานั่ง เดิน หรือขยับตัวก็จะได้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น และหาเวลาไปออกไปเดินออกกำลังกายเบา ๆ รับอากาศบริสุทธิ์เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยให้คุณมีอารมณ์ที่แจ่มใสมากขึ้นด้วย

 

7. ฝากครรภ์

หากไปฝากครรภ์ครั้งแรกมาแล้ว แต่ถ้าสามีของคุณไม่ได้ไปฝากครรภ์ครั้งแรกด้วย ก็ถือโอกาสชวนคุณสามีไปหาหมอด้วยกันในครั้งหน้า เขาจะได้มีไอเดียว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และต้องเตรียมรับมืออย่างไร อย่าลืมปรึกษาแพทย์เรื่องออกกำลังกายและการเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับคนท้องระยะนี้

 

 

การอัลตราซาวนด์ในช่วง ท้อง 10 สัปดาห์

ในช่วงนี้คุณแม่สามารถอัลตราซาวนด์ได้แล้ว เพื่อตรวจพบความผิดปกติของยีนในช่วงไตรมาสแรก และตรวจความเสี่ยงในการเป็นดาวน์ซินโดรมของทารกในครรภ์ รวมถึงความผิดปกติของโครโมโซม เพื่อหาทางป้องกันหรือแก้ไขกันต่อไป อัลตราซาวนด์ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญเพราะทารกไม่ใช่แค่เอ็มบริโออีกต่อไป เป็นตัวอ่อนที่มีระยะพัฒนาการที่ต่างกัน ระยะเอ็มบริโอคือการสร้างอวัยวะสำคัญ ทั้งสมอง หัวใจ และปอด รวมถึงแขนและขาด้วย แต่เมื่อลูกเป็นตัวอ่อน อวัยวะเหล่านั้นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว กำลังพัฒนาและเติบโต ซึ่งทารกกำลังสร้างข้อต่อแขน กระดูกอ่อน และกระดูก ส่วนของเล็บและเส้นผมก็เริ่มปรากฏขึ้นมาในช่วงนี้ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเจาะน้ำคร่ำ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติเพิ่มเติม

 

สัปดาห์ที่ 10 ถือ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่คุณแม่ตัดสินใจว่าจะตรวจความผิดปกติของดีเอ็นเอในยีนหรือไม่ การตรวจนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นต้องทำเสมอไป แต่หากคุณแม่พร้อมก็ควรมีที่ปรึกษาด้านพันธุศาสตร์สามารถช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจได้ว่าจะตรวจหรือไม่โดยดูจากประวัติครอบครัวและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้ลูกออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์11 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ที่มา :whattoexpect , mamastory

บทความโดย

P.Veerasedtakul