X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

12 May, 2016
10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน

การเลี้ยงลูกเป็นบททดสอบความอดทนบทหนึ่ง เมื่อลูกไม่มีวินัย ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ จะฝึกลูกอย่างไรโดยไม่ถูกต่อต้าน

ดร. คาริส แม็คไบรด์ นักบำบัดชีวิตครอบครัวในประเทศสหรัฐอเมริกาผู้มีประสบการณ์มากกว่า 28 ปี แนะนำว่า การทำให้ลูกรู้สึกอับอายและขายหน้าเป็นการกระทำที่ส่งผลร้ายต่ออารมณ์ของเด็ก ทำให้เขาเติบโตขึ้นมาด้วยความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก ไม่ต้องการ และหวาดกลัว

10 วิธีที่เราจะแนะนำต่อไปนี้จะช่วยสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูกของคุณอย่างละมุมละม่อม โดยไม่ทำให้เขารู้สึกอับอายหรือขายหน้า และต่อต้านพ่อแม่ พร้อมแล้วคลิก Start Gallery เลยค่ะ

1. เข้าใจความต้องการของลูก

1. เข้าใจความต้องการของลูก

ถ้าคุณกำลังซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่เจ้าตัวน้อยไม่ยอมเดินตามคุณมาแต่โดยดี คุณพยายามจะดึงมือลูกไป แต่เขากลับทิ้งตัวลงบนพื้น และร้องโวยวาย ถ้าคุณเจอลูกทำพฤติกรรมแบบนี้ล่ะก็ พยายามอย่าดุว่า หรือขู่ลูกนะคะ

คุณควรคิดให้ออกว่า เพราะอะไรลูกถึงทำแบบนั้น อะไรที่คุณสามารถช่วยลูกได้ เช่น ลูกหิวหรือเปล่า หรือว่าเหนื่อย เบื่อ หรือไม่สบายตัวหรือเปล่า?

หากคุณหาเจอว่าที่ลูกทำตัวแบบนั้นเป็นเพราะอะไร คุณจะทำให้เขาสงบลงได้อย่างง่ายดาย โดยจัดการกับปัญหาของลูกก่อน เมื่อลูกอารมณ์ดีแล้ว คุณก็กลับมาจัดการธุระของคุณต่อไปอย่างสงบสุขแล้วค่ะ

2. โฟกัสที่พฤติกรรมของลูก

2. โฟกัสที่พฤติกรรมของลูก

ไม่มีพ่อแม่คนไหนต้องการให้ลูกของตนเตะข้าวของและส่งเสียงร้องตลอดเวลา แทนที่จะดุลูกว่า “เด็กอะไรซนจริงๆ” จะดีกว่าถ้าคุณโฟกัสไปที่พฤติกรรมและการกระทำของลูกเช่น “แม่ไม่ชอบให้ลูกโยนของเล่นลงบนพื้น แม่เข้าใจว่าลูกกำลังโกรธเพราะบล็อกที่ลูกกำลังต่ออยู่ล้มหมดเลย แต่ถ้าลูกลองอีกครั้งและฝึกบ่อยๆ อีกไม่นานลูกจะสร้างตึกสูงได้แน่นอนจ้ะ” แม็คไบรด์ กล่าวว่า ข้อความที่เราส่งไปให้ลูกนั้นจะฝังแน่นอยู่ภายในจิตใจลูกจากวัยเด็กไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น เราจึงควรเลือกคำพูดของเราอย่างชาญฉลาด

3. เป็นแบบอย่างที่ดี

3. เป็นแบบอย่างที่ดี

หากคุณกำลังขับรถ และรู้สึกหงุดหงิดกับรถคันหน้าที่ขับช้าอย่างกับเต่า คุณระเบิดอารมณ์ด้วยการบีบแตรเสียงดังอย่างบ้าคลั่ง แล้วเร่งเครื่องแซง พร้อมกับเปิดหน้าต่างตะโกนด่าคนขับรถคันนั้น

คุณจะคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ดีได้อย่างไร หากนิสัยไม่ดีหรือคำพูดแย่ๆ ที่ลูกเลือกมาใช้นั้น มาจากตัวคุณเอง?

ลูกจะเรียนรู้โดยการเลียนแบบพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู ดังนั้น ควรระมัดระวังคำพูดและการกระทำของคุณ เพราะคุณอาจตกใจ ที่ได้เห็นลูกเลียนแบบในสิ่งที่คุณนึกไม่ถึงได้อย่างรวดเร็วเกินคาด

4. ไม่เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น

4. ไม่เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น

หากคุณคิดว่าการชี้ให้ลูกเห็นว่า เด็กคนอื่นทำตัวดี และประสบความสำเร็จ จะเป็นการกระตุ้นให้ลูกทำตัวดีขึ้น เปล่าเลยค่ะ การทำเช่นนั้นยิ่งทำให้ลูกรู้สึกเครียด ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า และพยายามพาตัวเองออกจากสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับคุณในที่สาธารณะ

โปรดจำไว้ว่า เด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว และมีจุดเด่นของตัวเอง ดังนั้น ควรโฟกัสที่ข้อดีของลูกดีกว่าที่จะทำให้ลูกรู้สึกแย่ด้วยการเปรียบเทียบข้อด้อยของลูกกับเด็กคนอื่นๆ

5. เปิดโอกาสให้ลูกพูดความรู้สึกออกมา

5. เปิดโอกาสให้ลูกพูดความรู้สึกออกมา

คุณควรปล่อยให้ลูกได้พูดความรู้สึกของเขา เพื่อที่คุณในฐานะพ่อแม่จะได้รับรู้ว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร เช่น เมื่อลูกกำลังเล่น และผลักเด็กคนอื่น หลังจากที่คุณบอกเขาอย่างอ่อนโยนแต่หนักแน่นว่า คุณไม่ให้อภัยที่ลูกทำพฤติกรรมอย่างนั้น ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้อธิบาย และระบายความรู้สึกของเขาออกมา

เช่นเดียวกับเวลาที่คุณรู้สึกเศร้า สุข และ โกรธ ลูกก็มีอารมณ์ความรู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรที่จะรู้สึกแบบนั้น แต่ควรสอนให้ลูกตอบสนองต่อความรู้สึกเหล่านั้นด้วยวิธีที่ดีกว่าการทำร้ายคนอื่น

6. ไม่ควรตั้งสมญานามให้ลูก

6. ไม่ควรตั้งสมญานามให้ลูก

แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้คิดอะไรในการตั้งสมญานามให้ลูก เช่น “ดราม่าควีน” “เด็กอ้วน” หรือ “นักกีฬา” “หัวหน้าห้อง” แต่การทำเช่นนั้นลูกจะรู้สึกกดดันที่พ่อแม่มองเขาแบบนั้น หรือตั้งความหวังว่าเขาจะต้องดี ต้องเก่งเช่นนั้นตลอดไป นอกจากนั้น ยังทำให้ลูกคนอื่นๆ รู้สึกว่า พี่น้องถูกยกย่องเป็นคนเก่ง ในขณะที่เขาไม่ใช่คนเก่งในสายตาพ่อแม่

เป็นเรื่องดีที่พ่อแม่จะช่วยลูกค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวเอง แต่คุณควรให้ลูกมีอิสระในการสำรวจและพัฒนาคาร์แรกเตอร์ของเขาเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งสมญานามใดๆ ให้กับลูกค่ะ

7. ให้ลูกอยู่ในสังคมที่ดี

7. ให้ลูกอยู่ในสังคมที่ดี

หากคุณอยากให้ลูกมีจิตใจอ่อนโยนและใส่ใจผู้อื่น คุณควรดูแลเค้าในแบบที่คุณต้องการให้เขาดูแลผู้อื่น ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองของลูกสามารถสร้างได้จากการรับรู้ผ่านการกระทำคนที่มีความสำคัญต่อชีวิตของเขา เช่น พ่อแม่ คุณครู และเพื่อน ดังนั้น ลูกได้รับการเลี้ยงดูมาเช่นไร ก็จะกระทำต่อคนอื่นแบบนั้นเช่นกัน

8. กำหนดขอบเขตที่เหมาะสม

8. กำหนดขอบเขตที่เหมาะสม

การพูดว่า “ไม่” กับลูกบ่อยเกินไปอาจทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับลูกได้ ดังนั้นคุณควรหาวิธีในการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอย่างได้ผล นั่นคือ การตั้งกติการ่วมกัน เพื่อกำหนดขอบเขตที่เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับร่วมกันทั้งสองฝ่าย โดยมองสิ่งต่างๆ ในมุมมองของลูก ทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณอยู่ข้างเขา มากกว่าที่จะรู้สึกว่าคุณคอยควบคุมเขาอยู่

9. สตรองเข้าไว้

9. สตรองเข้าไว้

เป็นเรื่องยากที่จะใจเย็นอยู่ได้เมื่อต้องเผชิญกับลูกตัวป่วนที่พยายามท้าทายคุณตลอดเวลา สตรองในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะให้คุณกลายเป็นคุณแม่จอมเฮี้ยบ ใช้ไม้แข็งกับลูกนะคะ เพราะยิ่งบังคับ ลูกยิ่งต่อต้านไปกันใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกไม่ยอมเข้านอน และร้องโวยวาย คุณควรยืนยันกับลูกอย่างอ่อนโยนแต่หนักแน่นว่าคุณเข้าใจความรู้สึกของเขา โดยอาจบอกกับลูกอย่างใจเย็นว่า “แม่รู้ว่าลูกยังอยากเล่นของเล่น แต่ตอนนี้ได้เวลานอนแล้ว พี่ของเล่นเขาก็ง่วงแล้วจ้ะ พรุ่งนี้ตื่นมาค่อยมาเล่นกันต่อนะจ๊ะ” ลูกอาจยังไม่ยอมในทันที แต่การใช้ไม้อ่อน ค่อยๆ ตะล่อมย่อมดีกว่าใช้ไม้แข็งทำร้ายจิตใจลูก

10. ดึงความมั่นใจของลูกออกมา

10. ดึงความมั่นใจของลูกออกมา

แทนที่จะทำให้ลูกรู้สึกแย่ หรืออับอายกับเรื่องที่เขายังทำได้ไม่ดี เช่น ผลการเรียนต่ำ คุณควรให้กำลังใจ ใช้คำพูดเชิงบวก กระตุ้นให้ลูกขยันขึ้น เพื่อพัฒนาตัวเอง ชี้ไปที่จุดเด่นและความสามารถของลูก พร้อมทั้งย้ำให้ลูกมั่นใจว่าเขามีความสามารถที่จะทำได้ และสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

หากคุณมีเทคนิคเชิงบวกอื่นๆ ในการสร้างวินัยให้กับลูก โดยไม่ถูกต่อต้าน สามารถแสดงความคิดเห็นของคุณได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ

ถัดไป
img

บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก ฝึกลูกโดยไม่ถูกต่อต้าน
แชร์ :
  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว