เลี้ยงลูกขวบปีแรกจะผ่านไปอย่างเร็ว 6 สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อน ลูกอายุ 1 ขวบ

เวลาขวบปีแรกแป๊บๆ ของลูกรักจะผ่านมาและผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาดคิด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายขอให้เก็บเกี่ยวมีกับทุก ๆ นาที และมีความสุขในช่วงเวลานั้นของลูกกันเถอะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าขวบปีแรกของลูกจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เหนื่อยอ่อน และเต็มไปด้วยน้ำตา แต่มันก็ทำให้พวกคุณเปิดรับกับบทบาทใหม่ของพ่อแม่เต็มตัว เวลาปีแรกจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำกับลูกน้อย ก่อนที่ ลูกอายุ 1 ขวบ กันค่า

6 สิ่งที่ควรทำก่อน ลูกอายุ 1 ขวบ

#1 อุ้มลูกให้บ่อย

อย่ากลัวว่าลูกจะติดอุ้ม มีงานวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่า การกอดลูกบ่อย ๆ จะส่งผลดีต่อลูกน้อยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งพวกคุณจะไม่สามารอุ้มลูกเช่นนี้ได้ตลอดไป เพราะเขาจะเริ่มเติบโตขึ้น การเรียกร้องให้พ่อแม่อุ้มก็จะลดลง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอีกไม่ช้าก็จะทำให้พวกคุณอุ้มลูกไม่ไหวแล้ว จงใช้เวลาไม่กี่เดือนนี้ทั้งหมดเพื่อที่จะได้อุ้ม กอด ลูกน้อย เพื่อให้เจ้าตัวน้อยได้รับความสุขที่ได้อยู่ในอ้อมอกของพ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ลูกร้องไห้ไม่สบายตัว การเดินเข้าไปอุ้มกอดของพ่อแม่เป็นยาตัวหนึ่งที่ได้ผลชะงักต่อการทำให้ลูกน้อยหยุดร้องได้ ความรักและเอาใจใส่ที่ลูกได้รับตั้งแต่แบเบาะจนถึงช่วงขวบปีแรก ๆ อาจตัดสินอนาคตทั้งชีวิตของลูกได้เลย

#จับลูกแต่งตัว

ถึงแม้คุณแม่ยังสามารถแต่งตัวให้ลูก ๆ ในชุดเด็กผู้ชาย/เด็กผู้หญิงน่ารัก ๆ เมื่อเขาโตขึ้นมาได้ แต่ชุดน่ารัก ๆ ของเบบี๋ตัวเล็ก ๆ มันเป็นอะไรทีค่อนข้างจะน่ารักเป็นพิเศษ แถมเขายังปฏิเสธคุณไม่ได้ด้วยว่าหนูไม่ชอบสีนี้หรือชุดนี้ เจ้าตัวน้อยจะยอมให้คุณแต่งตัวโดยดี ไม่ว่าคุณแม่อยากจะจับเขาแต่งตัวเป็นแบบไหนก็เถอะ ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ในช่วงขวบปีแรกนี้  มันจะมีเวลาอีกไม่นานก่อนที่ลูกน้อยจะไม่ยอมตามใจคุณ

#3 พาลูกน้อยได้ออกไปเห็นโลกกว้าง

โลกกว้างของลูกในขวบปีแรกอาจเป็นเพียงบริเวณรอบบ้าน สวนสาธารณะในหมู่บ้าน พาเขาเพื่อออกไปรับลมรับแดด หลังจาก 4-6 เดือนเมื่อลูกน้อยเริ่มมีความพร้อมทางร่างกายและอารมณ์ ที่พอจะรู้เรื่อง และผ่านการได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้วก็สามารถพาลูกออกนอกบ้าน เดินทางได้ไกลกว่านี้ และการออกเที่ยวกับลูกน้อยในวัยเบ๋บี๋ง่ายกว่าการออกไปกับลูกน้อยวัยเตาะแตะ แม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถจำสิ่งต่าง ๆ ได้ แต่นี้เป็นโอกาสที่คุณจะได้พาตัวเองและลูกออกไปเปิดหูเปิดตาพร้อม ๆ กันโดยไม่ยุ่งยากมากนัก

#4 ถ่ายรูป/ บันทึกวิดีโอ

คุณแม่สายโซเชี่ยลไม่น่าพลาดข้อนี้แน่ ๆ ยิ่งสมัยนี้แค่มือถือเครื่องเดียวก็เก็บทั้งภาพและวิดีโอได้ง่าย ๆ ในช่วงขวบปีแรกนั้นได้เปิดโอกาสให้คุณถ่ายรูปและบันทึกวิดีโอเจ้าตัวน้อยได้อย่างมากมายในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เบบี๋หัวเราะ ร้องไห้ ตอนอาบน้ำ ตอนให้นม การทำหน้าตลก ๆ และปฏิกิริยาเจ้าตัวน้อยจะทำให้พวกคุณยิ้มได้และหายเหนื่อยในทันที มันอาจเป็นช่วงเวลาเพียงชั่วพริบตา แต่พวกคุณก็จะได้ภาพเหล่านี้มาย้อนดูได้อีกเมื่อพวกเขาโตขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#5 สร้างความผูกพันในครอบครัว

ลูกเกิดมาเพื่อเป็นโซ่ท้องคล้องใจ การมีลูกจะช่วยเข้ามาเติมเต็มส่วนหนึ่งของชีวิตคู่ให้กลายเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ พวกคุณทั้งคู่ควรใช้เวลานี้สร้างความผูกพันในครอบครัว เพื่อให้ลูกเติบโตมาในพื้นฐานครอบครัวที่ดี มันเป็นสิ่งที่จะปูทางลูกเติบโตในอนาคตได้ดีเลยนะ

#6 จดบันทึกลูกน้อย

แม้ว่าภาพถ่ายหรือการบันทึกวิดีโออย่างมากมายอาจจะเก็บเรื่องราวทุกอย่างได้ แต่แค่นั้นคงจะไม่พอ การบันทึกเรื่องราวนั้นจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้จดจำว่าในตอนนั้นรู้สึกอย่างไร การเก็บบันทึกเรื่องราวนั้นจะยังช่วยให้เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นในชีวิตช่วงการเลี้ยงลูกขวบปีแรกในโมเม้ท์สำคัญ ๆ ได้บ้าง เก็บความทรงจำนี้ไว้ วันหนึ่งเมื่อลูกโตขึ้น คุณอาจจะยื่นบันทึกเล่มนี้แบ่งปันเรื่องราววัยเด็กของเขา แน่นอนว่าลูกชอบแน่ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เลี้ยงลูกขวบปีแรก พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง 6 เรื่องนี้

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อาจจะยังตื่นเต้น สับสน หรืออาจจะยังสงสัยว่าอะไรดีไม่ดี ในการ เลี้ยงลูกขวบปีแรก เราจึงได้รวบรวมสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยง ในการเลี้ยงลูกขวบปีแรกมาฝากครับ

1. ใช้เครื่องนอนมากชิ้นเกินไป

คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน มักจะเตรียมข้าวของเครื่องใช้ ของลูกน้อยไว้ตั้งแต่ตอนที่เค้ายังไม่เกิด อีกทั้งยังมีตุ๊กตานุ่มนิ่ม ที่บรรดาเพื่อนๆ หรือญาติๆ ให้มาเพื่อเป็นของขวัญให้หลาน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่าน ก็มักจะวางตุ๊กตานุ่มนิ่มน่ารักเหล่านั้นไว้ที่เตียงนอนของลูก

จริงอยู่ว่าทารกตัวน้อยๆนั้น ยิ่งมีความน่ารักน่าเอ็นดู เมื่อนอนอยู่ท่ามกลางหมอน ผ้าห่ม และตุ๊กตาน่ารักๆ เต็มเปลไปหมด แต่การให้ลูกนอนในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น อาจทำให้ลูกเสี่ยงกับภาวะไหลตายในทารก หรือ SIDS ได้

ติดตามอ่าน : โรคไหลตายในทารก ภัยเงียบคร่าชีวิตลูก

2. กังวลเรื่องการพูดของลูกเกินกว่าเหตุ

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนมักจะวิตกกังวลเรื่องที่ว่า ทำไมลูกยังไม่พูดเสียที มิหนำซ้ำ ญาติๆยังชอบถามกันไม่หยุด ว่าลูกของคุณเริ่มพูดหรือยัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งจริงๆแล้ว เด็กทารกจะเริ่มหัดออกเสียงต่าง ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ หัดพูดเป็นคำ (อาจพูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ตั้งแต่อายุ 9-10 เดือน) เมื่ออายุครบหนึ่งขวบ เด็กจะเริ่มเลียนแบบเสียงที่เขาได้ยินรอบ ๆ ตัว คุณอาจจะได้ยินลูกเริ่มพูดภาษาของตัวเอง (ที่เด็กหนึ่งขวบคนอื่น ๆ อาจจะเข้าใจ)

หลังจากนั้นก็จะเป็นช่วงที่เด็กเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กจะเริ่มจากพูดคำง่าย ๆ ไม่กี่คำ และพัฒนาขึ้นเป็นการถามคำถาม บอกวิธีการ และเล่าเรื่องที่เขาแต่งขึ้นเอง นี่คือพัฒนาการการพูดของเด็กโดยทั่วไปครับ

3. ไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากของลูก

การที่ลูกน้อยยังไม่มีฟัน ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเพิกเฉยต่อสุขภาพในช่องปากของลูกได้นะครับ คุณควรหมั่นใช้ผ้าก๊อชชุบน้ำ เช็ดทำความสะอาดเหงือกและลิ้นของลูก และเมื่อฟันซี่แรกของลูกเริ่มโผล่ขึ้นมา ก็ควรใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม แปรงให้ลูกด้วยนะครับ

ติดตามอ่าน : วิธีทำความสะอาดลิ้นลูก แบบง่ายๆ พร้อมวีดีโอสาธิต

4. คาดหวังว่าลูกจะนอนเป็นเวลาในทันที

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ต่างก็คาดหวังที่จะให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดคืน แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่จะไม่ได้เป็นเช่นนั้น ในขณะที่ทารกบางคน อาจจะมีการนอนสลับเวลา กลางวันหลับ กลางคืนตื่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องอาศัยความอดทนให้มากๆนะครับ

ติดตามอ่าน : ลูกนอนสลับเวลา กลางวันหลับ กลางคืนตื่น ทำอย่างไรดี

5. ใช้รถเข็นหัดเดิน

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะคิดว่า รถหัดเดินจะช่วยสอนให้ลูกเดินได้เร็วขึ้น คล่องขึ้น แต่ความจริงแล้ว การใช้รถหัดเดินอาจจะมีผลเสีย มากกว่าผลดี เพราะอันตรายที่สุดของรถหัดเดิน คือรถอาจจะพลิกคว่ำ และทำให้ลูกน้อยบาดเจ็บได้

อย่างไรก็ตาม เด็กโดยทั่วไปจะเริ่มเดินในช่วงอายุประมาณ 1 ขวบ อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ไม่กี่เดือน เพราะเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการเร็วหรือช้าต่างกัน คุณพ่อคุณแม่อย่ากังวลใจไปเลยครับ ถ้าเห็นลูกบ้านอื่นเดินได้ แต่ลูกเราเพิ่งจะเกาะยืน

ติดตามอ่าน : แม่แชร์ รถหัดเดินทำให้ลูกต้องทำกายภาพ

6. ละเลยอาการไข้ในเด็กทารก

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะเห็นว่า ลูกน้อยมีไข้ไม่สูงนัก จึงละเลย ไม่ได้สนใจ และไม่คิดว่าจะเป็นอันตรายมากนัก แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญกว่าที่คิดนะครับ หากลูกน้อยวัยแรกเกิดของคุณตัวรุมๆ แม่แต่เพียงเล็กน้อย ก็ขอให้รีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของลูกนะครับ


credit content : sg.theasianparent.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

เผยเคล็ดลับเด็ด!! ช่วยเบบี๋ฉลาดล้ำหัวไวในขวบปีแรก

ทางลัดเลี้ยงลูกด้วย 4 อ. พลิกชีวิตให้ลูกฉลาดสมวัยตั้งแต่ขวบปีแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R