วัยทารก พัฒนาการทารก ทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี มีพัฒนาการอะไรบ้าง

เช็คลิสต์ พัฒนาการทารก แต่ละช่วงวัย ตั้งแต่ทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี ลูกจะเปลี่ยนไปยังไงบ้าง ลูกน้อยจะมีทักษะอะไรเพิ่มเติมในแต่ละเดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วัยทารก ทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี จะเริ่มจากการมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสิ่งรอบตัว ถ้าคุณแม่ลองจับแก้มนุ่ม ๆ ของลูกดู ลูกก็อาจจะหันศีรษะ เพื่อตอบสนองต่อสัมผัสนั้นด้วย ยังมี พัฒนาการทารก หรือ พัฒนาการของวัยทารก ด้านอื่น ๆ ที่ วัยทารก ทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี สามารถทำได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องตื่นเต้นกับ พัฒนาการทารก แน่ ๆ เลยค่ะ

 

เช็ก พัฒนาการทารก หรือ พัฒนาการของวัยทารก  แรกเกิด – 1 ปี และอ่านเทคนิคกระตุ้นพัฒนาการลูกให้เติบโตมาเป็นเด็กฉลาด มีสุขภาพแข็งแรง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ของลูกรักที่คุณแม่กังวลใจกับคุณหมอแบบส่วนตัว ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับครอบครัว ดาวน์โหลดเลย!

 

วัยทารก พัฒนาการของเด็กแต่ละเดือน

พัฒนาการ ทารก ในวัยทารก นเดือนแรกของชีวิตน้อย ๆ นั้น พฤติกรรมของลูกมักจะเป็นการตอบสนองต่อสัมผัสต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น ทำเสียงจุ๊บจั๊บ เมื่อมีอะไรมาสัมผัสที่ริมฝีปาก กำนิ้ว หรือวัตถุที่พ่อแม่นำมาวางบนไว้ฝ่ามือ

 

พัฒนาการทารกแรกเกิด วัย 1 เดือน พัฒนาการทารกแรกเกิด

  • ทารกสามารถจ้อง และเพ่งความสนใจไปที่ใบหน้าของแม่ได้นาน 1 – 2 วินาที ในระยะ 8 – 12 นิ้ว
  • ทารกสามารถนอนควํ่าได้ และยกศีรษะขึ้นช้า ๆ ขณะนอนหงาย ก็สามารถหันศีรษะไปข้างใด ข้างหนึ่งได้
  • ลูกจะมีอาการสะดุ้ง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้ยินเสียง
  • สามารถแยกแยะเสียงของแม่ได้บ้างแล้ว
  • ยืดนิ้วมือ ร่างกาย และแขน ขาได้
  • สามารถกำมือได้

วัยทารก พัฒนาการทารก วัย 2 เดือน

  • ลูกน้อยจะมองตามสิ่งของที่คุณพ่อคุณแม่ถือ ในระยะห่างจากหน้าลูกเพียงไม่กี่นิ้วได้ ลองถือของเล่นสีสด ๆ หรือสีตัดกัน ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ไม้บรรทัด หรือ 30 ซม. ให้ลูกมองตามสิ่งของจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้
  • ลูกสามารถกลั้วคอ เริ่มหัวเราะ และทําเสียงในลำคอ “อู” หรือ “อือ” ได้
  • ลูกน้อยอาจทำเสียงตื่นเต้น มีความสุข ยกแขนขึ้นบ่อย ๆ ถีบขา รวมทั้งสามารถยิ้ม หรือส่งเสียงตอบได้บ้างแล้ว
  • ลองวางนิ้วลงบนอุ้งมือของลูก ดูว่าลูกสามารถกำนิ้วของคุณโดยอัตโนมัติหรือไม่
  • เมื่อลูกนอนควํ่า สามารถยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที
  • สามารถมองหน้าคุณแม่ได้นานมากขึ้น ประมาณ 5 วินาที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารก วัย 3 เดือน และ 4 เดือน

  • สามารถยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาเล่น โดยเหยียดแขนออกห่างจากลำตัว
  • มองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้เป็นมุม 180 องศา
  • ลูกหันตามทิศทางของเสียงได้ และสามารถฟังสิ่งที่แม่พูดได้อย่างตั้งใจ
  • เริ่มยิ้มทักทายผู้คนที่คุ้นเคยได้
  • เปล่งเสียง เพื่อแสดงความรู้สึก พูดจาอ้อแอ้
  • ลูกชอบกลิ้งไปมา หมุนตัวได้ และพยายามที่จะลุกขึ้นนั่ง
  • เริ่มกำมือ และทุบตีสิ่งของตรงหน้า
  • ทารกอาจดูดนิ้ว เอามือเข้าปาก พยายามอมก้ำปั้นตัวเอง หรือแม้แต่พยายามอมนิ้วเท้า

พัฒนาการทารก วัย 5 เดือนและ 6 เดือน

  • ลูกยันตัวขึ้นจากท่านอนควํ่า เหยียดแขนตรงได้ทั้งสองข้าง และเริ่มนั่งเองได้
  • อยากหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เอื้อมมือ และถือวัตถุไว้ ขณะอยู่ในท่านอนหงาย
  • สนใจฟังคนพูด แม่สามารถเล่นจ๊ะเอ๋กับลูกได้แล้ว
  • มองไปยังของเล่นที่คุณแม่ถือไปมา นับได้สัก 1 นาที
  • เลียนแบบพฤติกรรมของผู้คนได้ ส่งเสียงตามได้ เป่าน้ำลายได้
  • กอดคุณพ่อคุณแม่ หรือตุ๊กตาได้แน่น ๆ ยกแขนขึ้น เมื่อเห็นพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ
  • ดื่มน้ำจากถ้วยหัดดื่มได้

พัฒนาการทารก วัย 7 เดือน ถึง 9 เดือน

  • สามารถหยิบจับสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ เอี้ยวตัวใช้มือเล่นได้อย่างอิสระ ในท่านั่ง
  • พูดจาอ้อแอ้เสียงดัง เริ่มตบมือ
  • คลานโดยการขยับก้น และขยับตัวเพื่อเคลื่อนที่ระยะสั้น ๆ พอเข้าช่วง 7 เดือนขึ้นไป ลูกจะเริ่มคลานได้ดี เด็กบางคนไม่คลานด้วยมือ และเข่า แต่จะเคลื่อนที่ด้วยก้น หรือคลานด้วยท้องแทน
  • ช่วงวัย 7 เดือนจะเริ่มพยายามยืนขึ้นโดยยึดจับอะไรไว้พยุง พยายามปีนป่ายบริเวณต่าง ๆ
  • จ้องมองไปที่หนังสือพร้อมกับผู้ใหญ่ได้ถึง 2 – 3 วินาที
  • รู้เรื่องมากขึ้น หันตามเสียงเรียกชื่อตัวเองได้แล้ว หรือร้องตอบเมื่อแม่เรียก
  • หัดออกเสียงสระผสมกับพยัญชนะ เช่น มามา หม่ำหม่ำ
  • ถือขวดน้ำเองได้ ฝึกทานอาหารเอง ใช้มือป้อนอาหารตัวเอง แม่ลองฝึกลูกถือช้อนดูได้
  • หยิบสิ่งของเล็ก ๆ ด้วยนิ้ว
  • พัฒนาการลูกเมื่ออายุ 8 เดือน จะสามารถนั่งได้ โดยไม่ต้องประคอง ลุกนั่งได้เอง

 

พัฒนาการทารก วัย 10 เดือน ถึง 12 เดือน หรือ 1 ปี

พัฒนาการทารกช่วงนี้ เริ่มก้าวหน้าไปมาก สามารถทำหลาย ๆ อย่างได้แล้ว ตัวอย่างพัฒนาการที่เริ่มเห็นเด่นชัด มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พอลูกเริ่มเคลื่อนที่ได้มากขึ้น แม่ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย ปิดเหลี่ยมมุม ปิดปลั๊กไฟ ใช้ประตูกั้นบันได เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
  • ลูกจะดึงตัวเองให้ยืน เกาะเดิน พอเริ่มทรงตัวได้ ก็จะก้าวเดินโดยไม่ต้องประคอง ซึ่งเด็กวัย 12 เดือน หรือขวบปีแรกนั้น จะเริ่มเดินได้แล้ว
  • ใช้นิ้วมือหยิบสิ่งของเล็ก ๆ ได้ กางนิ้ว และทิ้ง หรือโยนสิ่งของ เริ่มเขย่า ตี หรือเคลื่อนย้ายของจากมือหนึ่ง ไปอีกมือหนึ่ง และยังชอบเอานิ้วจิ้มเข้าไปในวัตถุที่มีรูด้วย
  • เริ่มเรียก “แม่” “พ่อ” และเลียนแบบเสียงที่คำอื่นทำ ภายใน 12 เดือนลูกน้อยจะสามารถพูดอย่างน้อย 1 คำที่ไม่ใช่ “แม่” “พ่อ”
  • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เริ่มสื่อสารด้วยท่าทาง การชี้ การคลานไปยังสิ่งที่ต้องการ

เด็กวัยนี้เริ่มกลัวคนแปลกหน้า และการพรากจาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 9 – 18 เดือน และจะหายไปเมื่ออายุ 24 เดือน

เช็คลิสต์ พัฒนาการลูก เมื่ออายุครบ 1 ปี

 

พัฒนาการลูก วัย 12 เดือน หรือ พัฒนาการของวัยทารก  ด้านทักษะการเคลื่อนไหว

  • นั่งเองได้
  • คลานโดยใช้มือ และเข่าได้
  • ดึงตัวเองให้ลุกยืน และเกาะเดินได้ ยืนโดยไม่ต้องประคอง ก้าวได้สองสามก้าวโดยไม่ต้องประคอง และเริ่มเดิน
  • หยิบด้วยนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ได้
  • วางวัตถุในภาชนะ และหยิบออกจากภาชนะได้
  • เริ่มจับช้อน หรือพลิกหน้าหนังสือได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการลูก วัย 12 เดือน ด้านทักษะภาษา

  • เรียก “แม่” “พ่อ” และใช้คำอื่นที่สื่อความหมายถึงพ่อแม่ได้
  • อุทานได้
  • พยายามเลียนแบบคำพูด และอาจพูดตามคำแรกได้
  • ใช้ท่าทางง่าย ๆ เช่น ส่ายหน้า คือ “ไม่” หรือโบกมือ คือ “บ๊ายบาย” เช่นตบแปะ หรือจ๊ะเอ๋ได้

 

พัฒนาการลูก วัย 12 เดือน ด้านทักษะอารมณ์และสังคม

  • หาวัตถุที่ซ่อนอยู่ได้
  • ใช้สิ่งของอย่างถูกวิธี เช่น ถือโทรศัพท์ได้ถูกทิศทาง ดื่มน้ำจากแก้ว
  • อาย กลัวคนแปลกหน้า
  • ร้องไห้ เมื่อแยกจากแม่ หรือพ่อ

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างพัฒนาการทารก ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด 1 เดือน จวบจน 12 เดือน หรือขวบแรกของชีวิต ซึ่งพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขอแค่พ่อแม่เข้าใจ อย่าเอาลูกเราไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น ค่อย ๆ สร้างพัฒนาการที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยให้กับลูก เล่นกับลูกเยอะ ๆ ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย คอยให้กำลังใจลูก และระแวดระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับลูก เพียงเท่านี้ลูกก็จะเติบโตอย่างสมวัย และมีความสุข หากคุณพ่อคุณแม่กังวลใจ ลองปรึกษาเรื่องพัฒนาการของลูกกับคุณหมอ จะดีที่สุดค่ะ

ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด

ค้นหาคำตอบกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU

ที่มา : คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง กระทรวงสาธารณสุข , www.webmd.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็กที่พ่อแม่ภูมิใจ โบกมือ ปรบมือ ชี้มือ ทำไม 3 อย่างนี้ไง

ลูกฉลาดได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง แม่ท้องอ่านหนังสือเสริมความฉลาดทารกตั้งแต่ในครรภ์

ลูกไม่ยอมตั้งไข่ ทรงตัวไม่ดี มีผลต่อพัฒนาการสมองของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya