X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่แชร์ด้วยใจสลาย โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ต้นเหตุพรากลูกไปจากอกแม่

บทความ 3 นาที
แม่แชร์ด้วยใจสลาย โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ต้นเหตุพรากลูกไปจากอกแม่

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น หรือ เจอี อาจจะเป็นชื่อที่ฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่นัก โดยโรคนี้มีพาหะสำคัญคือ ยุง ซึ่งถ้าเป็นแล้วอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ต้นเหตุที่ทำให้เด็กน้อยคนหนึ่ง จากไปแบบไม่มีวันกลับ

เรื่องราวอันน่าเศร้า ของเด็กหญิงตัวน้อย ผู้ซึ่งป่วยด้วย โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น โดยคุณแม่ท่านหนึ่ง ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการที่ลูกของเธอต้องเสียชีวิต เพราะโรคร้ายที่มีชื่อว่า “ไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น”

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

วันพุธที่ 10 มกราคม 2561 ลูกสาวของเธอที่มีชื่อว่า Gavriella มีอาการปวดท้อง และมีไข้ขึ้นสูงถึง 38 องศาเซลเซียส

Advertisement

วันต่อมา ลูกของเธอก็ยังคงมีอาการตัวร้อนอยู่ เธอจึงได้ให้ลูกกินยาลดไข้ จนกระทั่งถึงตอนเย็น Gavriella ก็ยังคงตัวร้อนอยู่ เธอจึงตัดสินใจพาลูกสาวของเธอไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งคุณหมอได้ทำการวินิจฉัยเบื้องต้นพบว่า Gavriella ป่วยด้วยเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง

ในระหว่างที่รอรับยาอยู่ที่โรงพยาบาล Gavriella ลูกสาวของเธอยังคงวิ่งเล่นซุกซนตามประสาเด็กน้อย แม้ว่าจะยังมีอาการไข้และตัวร้อนอยู่ จนกระทั่งเธอให้ลูกของเธอกินนม แล้วจู่ ๆ ลูกสาวของเธอก็มีอาการตัวสั่น

หลังจากนั้น Gavriella ก็ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉิน ไข้ขึ้นสูงถึง 41 องศาฯ แล้วเธอก็เริ่มมีอาการชัก และเริ่มอาเจียน

จนในวันที่ 12 มกราคม หนูน้อย Gavriella มีอาการชัก ถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งหมดสติ และในช่วงสายของวันนั้น เธอก็ไร้รับการตรวจด้วยเครื่อง ซีที สแกน พบว่ามีอาการบวมของหลอดเลือดที่ด้านหลังของสมอง จนสุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่าเธอป่วยเป็นโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

แม้ทีมแพทย์และผู้เกี่ยวข้องทุกคนจะพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะรักษาหนูน้อยรายนี้ให้หายเป็นปกติ แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561 หลังจากต้องทนเจ็บปวดกับอาการของโรคสมองอักเสบญี่ปุ่นมากว่าสัปดาห์ หนูน้อย Gavriella ก็ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคนขอแสดงความเสียใจกับการจากไปด้วยนะครับ

โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น เป็นอย่างไร ติดต่อได้อย่างไร มีวิธีป้องกันอย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไป >>>

โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น คืออะไร

โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง สามารถติดต่อผ่านโดยยุง ชนิด Culex tritaeniorrhynchus ซึ่งมักแพร่พันธุ์ในนาข้าว โดยโรคนี้ เป็นโรคสมองอักเสบชนิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย

โรคสมองอักเสบญี่ปุ่นเป็นโรคไวรัสที่มีความรุนแรงทั้งในคน และสัตว์ อาการป่วยพบตั้งแต่มีอาการเล็กน้อย คือ มีไข้ อ่อนแรง จนถึงการติดเชื้อในสมองขั้นรุนแรง ทำให้เกิดสมองอักเสบ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น ติดต่อได้อย่างไร

โรคสมองญี่ปุ่นติดต่อได้จากการถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสโรคสมองอักเสบญี่ปุนกัด แต่ไวรัสไม่สามารถติดต่อจากคน หรือสัตว์ได้โดยตรง

คนส่วนใหญ่ที่ติดโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น มักไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อยมากในช่วงแรก แต่จะแสดงอาการอย่างรวดเร็วหลังติดเชื้อ และการติดเชื้อมักทำให้เกิดอาการที่รุนแรงได้ในเด็ก และคนชรา

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

อาการของโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจจะมี หรือไม่มีอาการป่วยก็ได้ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้น ที่จะมีอาการสมองอักเสบ โดยมักจะแสดงอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 5-15 วัน ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย

ต่อมาจะมีอาการปวดศีรษะ มีอาการอาเจียน ง่วงซึม ซึ่งจะกินเวลา 1-7 วัน (ส่วนใหญ่ 2-3 วัน) หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการทางสมอง เช่น ซึม เพ้อ คลั่ง มือสั่น บางรายอาจมีอาการเกร็ง หรือชักกระตุกด้วย ระยะนี้จะกินเวลา 3-6 วัน อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากอาจเสียชีวิตได้ในระยะนี้ (อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 15-30 ของผู้ป่วย)

หลังจากนั้นไข้จะค่อย ๆ ลดลง และอาการทางสมองจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รอดชีวิต อาจจะยังคงมีความผิดปกติทางสมองเหลืออยู่ เช่น มีอาการเกร็ง ชัก อัมพาต หงุดหงิดง่าย พูดไม่ชัด หรือแม้กระทั่งมีอาการปัญญาอ่อน เป็นต้น

โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

ไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้เป็นโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด โดยเฉพาะในช่วงหัวค่ำ และควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันยุงกัดได้เมื่อออกนอกบ้าน หรือใช้ยากันยุง
  • ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน

ที่มา id.theasianparent, eidas.vet.chula.ac.th, eidas.vet.chula.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อแชร์ สาเหตุที่เกือบต้องสูญเสียลูก เพราะ RSV ที่กำลังระบาด

อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

โรคมะเร็งในเด็ก เป็นได้ตั้งแต่เกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้ดี ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วยเป็นมะเร็ง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • แม่แชร์ด้วยใจสลาย โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ต้นเหตุพรากลูกไปจากอกแม่
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว