X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคโมยาโมยา ชื่อแปลกแต่น่ากลัว

บทความ 3 นาที
โรคโมยาโมยา ชื่อแปลกแต่น่ากลัว

โรคโมยาโมยาคืออะไร น่ากลัวแค่ไหน มาทำความรู้กับโรคชื่อแปลกนี้กันค่ะ

โรคโมยาโมยา

น้องซีดีป่วยเป็นโรคโมยาโมยา

โรคโมยาโมยาเป็นโรคที่พบน้อยมากในประเทศไทย คาดว่าจะพบ 1 รายในประชากรหนึ่งล้านคน แต่พบได้บ่อยกว่าในประเทศญี่ปุ่น คือประมาณ 3 คนต่อประชากร 100,000 คน พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ ในเด็กช่วงอายุ 10 ปีแรก มักในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย

โรคโมยาโมยาคืออะไร?

โรคโมยาโมยาเป็นโรคที่เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง ตรงบริเวณ Circle of Willis ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงบริเวณใต้สมองที่มาหล่อเลี้ยงสมองและก้านสมอง ชื่อโรค “โมยาโมยา” เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า กลุ่มควันบุหรี่ เพราะจากการตรวจภาพของหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสีดูเส้นเลือดของผู้ป่วยจะพบเส้นเลือดเส้นเล็กๆ ที่ผิดปกติซึ่งมาช่วยเลี้ยงสมองแทนหลอดเลือดที่เกิดการอุดตันเป็นลักษณะคล้ายกลุ่มควันบุหรี่อยู่รอบๆ เส้นเลือดแดงที่มีการอุดตัน

อะไรเป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคโมยาโมยา?

สาเหตุของโรคโมยาโมยานี้ยังไม่ทราบได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ปัจจุบันมีการศึกษาพบตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคแล้ว นอกจากนี้พบว่าปัจจัยทางด้านความผิดปกติของภูมิคุ้มกันอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค และมีโรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับโรคโมยาโมยา ได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ, กลุ่มอาการดาวน์, โรคติดเชื้อวัณโรค

กลไกการเกิดโรคโมยาโมยาเป็นอย่างไร?

Advertisement

กลไกการเกิดโรคโมยาโมยานี้คือ มีการหนาตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นผิดปกติตรงบริเวณ Circle of Willis ทำให้ค่อยๆ มีการตีบของหลอดเลือดจนหลอดเลือดอุดตัน จึงต้องมีหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ข้างเคียงมาช่วยเลี้ยงสมองที่ขาดเลือดนี้ แต่ถ้าปริมาณเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ก็จะเกิดภาวะสมองขาดเลือด นอกจากนั้น หลอดเลือดข้างเคียงหรือหลอดเลือดที่ตีบ ก็อาจเกิดการโป่งพองของผนังหลอดเลือด ทำให้มีโอกาสเกิดการแตกของผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง ส่งผลให้มีเลือดออกในสมองได้

โรคโมยาโมยามีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคโมยาโมยาอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้งสมองขาดเลือดหรือเลือดออกในสมอง เช่น ในผู้ใหญ่และเด็กโตอาจมาด้วยอาการ ปวดศีรษะ, ความจำลดลง, ชัก, มีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ ในเด็กเล็กอาจร้องกวนผิดปกติ หรือซึมลง ไม่ค่อยดูดนมหรือเล่น

คุณหมอสามารถวินิจฉัยโรคโมยาโมยาได้อย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยมาพบคุณหมอด้วยอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ดังกล่าวข้างต้น คุณหมอจะสอบถามประวัติอาการต่างๆ ตรวจร่างกายระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบประสาท มีพบความผิดปกติที่น่าสงสัยก็จะส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองซึ่งอาจพบว่าจะมีลักษณะของสมองขาดเลือด หรือเลือดออกในสมอง แล้วคุณหมอก็จะส่งตรวจภาพของหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมด้วยการฉีดสี ซึ่งจะพบลักษณะจำเพาะ คือ หลอดเลือดที่ใต้สมองมีลักษณะคล้ายกลุ่มควันบุหรี่

การรักษาโรคโมยาโมยาทำได้อย่างไร?

การรักษาโรคโมยาโมยา ทำได้ด้วยการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดสมองระหว่างหลอดเลือดสมองที่อุดตันกับหลอดเลือดสมองที่ปกติ เพื่อแก้ปัญหาการอุดตันของหลอดเลือด การใช้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันการตีบตันของหลอดเลือดสมอง

การพยากรณ์โรคของโรคโมยาโมยาเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากภาวะเลือดออกในสมอง โดยทั่วไปโอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วยเด็กมีประมาณ 4.3% และผู้ใหญ่ประมาณ 10% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของเลือดที่ออกในสมอง รวมถึงการเกิดเลือดออกซ้ำๆ และจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง

ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/CDVIP

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

น้องซีดี นักแสดงเด็กจากเรื่องตุ๊กแกรักแป้งมากป่วยเป็นโรคโมยาโมยา ต้องการเลือดด่วน!!

โรคที่พ่อแม่ควรทำความรู้จัก : โรคคาวาซากิคืออะไร?

โรคเฮอร์แปงไจน่า: โรคระบาดน่ากลัว กลุ่มเดียวกับโรค มือ เท้า ปาก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคโมยาโมยา ชื่อแปลกแต่น่ากลัว
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว