X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่แชร์ ควรทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยแพ้โปรตีนนมวัว!

7 Mar, 2017
แม่แชร์ ควรทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยแพ้โปรตีนนมวัว!

เมื่อลูกวัยเพียงไม่ถึงเดือน เกิดอาการแพ้โปรตีนนมวัน แม่จึงออกมาแชร์ประสบการณ์พร้อมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่น

เนื่องจากตอนท้อง แม่ทานนมวัวเยอะและทานทุกวัน ยิ่งตอน 7 เดือนไม่ว่าใครแนะนำว่าโปรตีนอะไรดี แม่ก็หามาทานทุกวันจนคลอด ซึ่งตอนนั้นก็ยังทานนมวัวควบคู่ไปด้วย ตอนคลอดน้องมา น้องแข็งแรงดี แต่แม่สังเกตว่า น้องชอบจามบ่อย ๆ จนเริ่มมีเม็ดตุ่มหนองขึ้นมาที่ศีรษะทีละนิด แต่แม่ก็ยังไม่คิดอะไรมาก เพราะคนเฒ่าคนแก่บอกว่าเป็นลูกไฟ

ลูก แพ้โปรตีนนมวัว

โดยในระหว่างที่ให้นมลูก แม่ก็ยังคงทานนมแม่อยู่ไปด้วย ครั้งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใกล้กลับไปทำงาน แม่ก็ลองให้ลูกทานนมผงคู่ไปกับนมแม่ด้วย ผลปรากฎว่า ตุ่มหนองที่ศีรษะลูกนั้นเยอะขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเริ่มลามไปที่ข้อพับแขน ซอกคอ ใบหู และหลัง แม่จึงเห็นท่าไม่ดีจึงไปปรึกษาแม่ท่านอื่น ๆ จนทราบว่า อาการดังกล่าวเขาเรียกว่า แพ้โปรตีนนมวัว แม่จึงรีบพาน้องไปหาหมอทันที

Advertisement

แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ หมอบอกว่าน้องแพ้โปรตีน และโปรตีนมีหลายประเภทเช่น ถั่วเหลืองและนมวัว เป็นต้น แม่จึงหยุดนมวัว ผลปรากฎว่า น้องแพ้น้อยลง ผื่นแดงบริเวณใบหน้าก็ไม่ขึ้น โดยคุณหมอแนะนำว่า หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ไม่แนะนำให้ใช้ออยล์เช็ดหรือทาโดยเด็ดขาด เพราะน้ำหนองอาจแตกจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แต่ให้ใช้น้ำเกลือล้างทุกครั้ง ล้างบ่อย ๆ แต่ถ้าหากดูแล้วตุ่มน้ำหนองไม่ดีขึ้น ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และยังแนะนำอีกว่า ให้งดทานอาหารจำพวกที่ผสมนมวัวทุกชนิด แต่ถ้าหากจำเป็นต้องให้นมเสริมก็ต้องเป็นสูตรเฉพาะสำหรับเด็กแพ้โปรตีนเท่านั้น

“อยากฝากบอกแม่ท่านอื่น ๆ ที่กำลังตั้งครรภ์ว่า อย่าหักโหมบำรุงนมโปรตีนให้ทารกในครรภ์มากเกินไป โดยเฉพาะแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีกรรมพันธุ์ยิ่งต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่า ลูกของเราจะแพ้อะไร ที่สำคัญคอยสังเกตและอย่าละเลยอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกเด็ดขาดค่ะ” แม่กล่าว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

ลูก แพ้โปรตีนนมวัว

พญ.ภาสุรี แสงศุภวานิช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า จากสถิติเด็กไทยเกิดปีละประมาณ 8 แสนคนต่อปี การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน เพียงร้อยละประมาณ 20 % เพราะฉะนั้นจะมีเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมวัวประมาณ 6 แสนคน และมีเด็กแพ้นมวัวสูงถึงปีละ 20,000 ราย

“ทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ คือ ทารกที่มีบิดามารดา พี่น้องท้องเดียวกันเป็นโรคภูมิแพ้ หรือการกินนมวัวขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการให้ทารกได้รับนมแม่ ทั้งในระยะกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้ต่อเนื่องกับอาหารอื่นตามวัย ซึ่งนมแม่มีกลไกในการป้องกันโรคแพ้อาหาร เนื่องจากการกินนมแม่ช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายจะได้รับ เช่น โปรตีนนมวัว และในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของลูก ที่สำคัญการกินนมแม่ยังช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียในวัยทารก ”

พญ.ภาสุรีบอกด้วยว่า โรคแพ้โปรตีนนมวัวนี้ ถือเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากมาก บางรายพอได้รับนมวัวปุ๊บก็มีอาการทันที เช่น มีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหน้า แขน ขา ลำตัว ปากเจ่อบวม ขณะที่บางรายช่วงแรกที่ดื่มนมวัวจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่พอดื่มไปสักพัก 2-3 เดือน ก็จะมีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายมีเลือดปน หายใจขัด คัดจมูก หลับไม่สนิท ผื่นแพ้ ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นโรคธรรมดาในเด็ก ก็เลยยิ่งทำให้เด็กเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น และไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

ที่สำคัญคือ การแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้นได้

นอกจากนี้ ในระยะ 4-6 เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบน้ำย่อยสารต่าง ๆ ของทารกยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการได้รับนมผสม หรืออาหารอื่น ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้อาหารและการกระตุ้นให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง เนื่องจากนมผสมและอาหารอื่น จัดเป็นสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากในระยะที่ทารกยังมีระบบทางเดินอาหารที่ไม่แข็งแรง โปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้จึงไม่ถูกย่อย หรือทำลายความแปลกปลอมลงไม่ให้ได้มีโอกาสเล็ดลอดไปก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย

“โรคแพ้โปรตีนนมวัว ถึงจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาการจะส่งผลต่อเนื่องในอนาคตได้ เช่น โรคนี้จะทำให้เด็กหลับไม่สนิท ก็จะส่งผลให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง ง่วงซึม หรือหวัดเรื้อรัง เด็กก็จะได้รับยาปฏิชีวนะเรื่อย ๆ เมื่อได้รับบ่อย ๆ จะเสี่ยงต่อการแพ้ยา ถ้าแพ้รุนแรงอาจถึงชีวิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในระยะยาว เห็นได้จาก โรคหืดเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เด็กขาดเรียน อาการ หายใจไม่ทัน มีเสียงหืดขณะหายใจ ต้องพ่นยาขยายหลอดลม ค่าใช้จ่ายที่ตามมาก็จะมีความทวีคูณขึ้น ” แพทย์คนเดิมอธิบาย

ที่มา: Breastfeedingthai

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ภูมิแพ้ระยะยาว ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด

โปรตีนในนมแม่ช่วยลูกห่างไกลจากโรคภูมิแพ้

parenttown

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • แม่แชร์ ควรทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยแพ้โปรตีนนมวัว!
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว