เมื่อลูกกลายเป็น “หัวโจกชอบเเกล้งเพื่อน”
คุณพ่อคุณเเม่คงไม่รู้จะทำไงดี เมื่อลูกกลายเป็น หัวโจกชอบเเกล้งเพื่อน ไม่ว่าลูกของคุณพ่อคุณเเม่จะเป็น เด็กที่โดนเเกล้ง หรือ เด็กที่เเกล้งเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งไหน คนเป็นพ่อเป็นเเม่ไม่สบายใจหรอกนะคะ
การเเกล้งกันของเด็ก หากถูกเเกล้ง หรือ เเกล้งเพื่อน เป็นประจำ บ่อยๆ ทุกครั้งที่มีโอกาส ไม่ใช่การเล่นกัน เเต่เป็นเหมือนกับการคุกคามเเล้วนะคะ เเละสิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ส่วนใหญ่ไม่ได้คิดต่อ ก็คือ หากลูกเราเป็นคนเเกล้งเพื่อน การลงโทษไม่ใช่คำตอบเเละไม่ใช่จุดสิ้นสุดค่ะ
การเเกล้งกันคือปัญหา ที่ผู้ใหญ่ต้องยื่นมือเข้ามาช่วย
ทำใจยากค่ะ หากจะยอมรับว่าลูกเรามีพฤติกรรมชอบเเกล้งเพื่อน ยิ่งถ้าเเกล้งกันเเรงๆ หรือดูไม่มีเหตุผลในสายตาของเรา เเต่คุณพ่อคุณเเม่ทั้งฝั่งของลูกเราเเละอีกฝั่ง อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่า การเเกล้งกันที่เกิดขึ้น จะมาจากสาเหตุของการอยากเเกล้งเพื่อน เเต่เพียงอย่างเดียว เพราะเด็กๆ ย่อมมีเหตุผลของเขา ไม่ว่าเหตุผลของเขาจะดูไม่เป็นเหตุผลในสายตาผู้ใหญ่ เเต่มันคือเหตุผลในสายตาเด็กๆ นะคะ
เเน่นอนว่าการเล่นกันของเด็กๆ อาจจะมีเเรงไปบ้าง มีขัดเเย้ง กระทบกระทั่ง ทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจไปบาง จนทำให้ในเเต่ละที ดูเหมือนว่าจะเป็นการเเกล้งกัน เเต่หลังจากนั้นลูกของเรา หรือเด็กอีกฝ่าย มีท่าทียังไงก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งพ่อแม่ ผู้ดูเเล หรือคุณครูต้องสังเกตค่ะ เเละพร้อมจะยื่นมือเข้าไปช่วยโดยไม่ลังเล
พูดคุยเปิดอก = การรับฟังอย่างไม่ตัดสิน
สิ่งที่เเรกที่คุณพ่อคุณเเม่ต้องทำ คือให้ลูกเล่าในสิ่งที่เกิดขึ้น (เเละถ้าเป็นไปได้รับฟังเด็กอีกฝ่ายในสิ่งที่เกิดขึ้น) โดยยังไม่ต้องเเสดงความเห็นใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ เพราะในมุมมองของเด็กเเต่ละคนนั้นต่างกัน อีกฝ่ายอาจจะคิดว่าเล่น อีกฝ่ายอาจจะคิดว่าเเกล้ง ทั้งที่ความจริงอาจจะเป็นเเค่อุบัติเหตุ
เเต่หลังจากที่ฟังเรื่องราวทั้งหมด ทั้งการกระทำเเละคำพูดใดๆ ที่ลูกเราเเสดงออกไปนั้น ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของอีกฝ่าย คุณพ่อคุณเเม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ผลของการกระทำจะเกิดอะไรขึ้นกับเพื่อนบ้าง เช่น เวลาที่ลูกพูดถึงปมด้อยเพื่อน เช่น หน้าผากกว้าง หรือผิวดำ มันคือลักษณะที่เเตกต่างกันของคนทุกคน ไม่มีใครเกิดมาเหมือนกันก็ตาม เเต่การที่ลูกพูดเเบบนั้น จะทำให้เพื่อนเสียใจ ร้องไห้ เเละไม่อยากเล่นกับลูก หรือเวลาที่ลูกเเกล้งดึงเสื้อเพื่อน อาจจะทำให้เพื่อนสะดุดล้มลง ปากเเตก หัวเเตก เพื่อนเจ็บตัวได้ เป็นต้น
จากนั้นอธิบายเรื่องการเเกล้งกัน ว่าไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม เด็กที่เเกล้งเพื่อนในโรงเรียนจะโดนคุณครูลงโทษ เมื่อโตขึ้นมาการเเกล้งเเรงขึ้นอาจจะทำให้อีกฝ่ายเข้ามาทำร้ายตัวเองได้ หรือเมื่อไปทำในสังคม อาจจะทำให้ผิดกฎหมาย โดนลงโทษเข้าคุกได้ ซึ่งคุณพ่อคุณเเม่ควรอธิบายไปตามอายุของลูก เนื่องจากเด็กเเต่ละวัยเข้าใจตรรกะได้ไม่เท่ากัน หากบอกถึงขอบเขตของการเล่น เเละอะไรบ้างที่เรียกว่าการเเกล้ง ให้ลูกฟังบ่อยๆ การบอกย้ำๆ กับลูก หรือมีตัวอย่างให้ลูกดูจากในข่าว ในการ์ตูน หรือในนิทาน ลูกจะเห็นภาพมากขึ้น เเละเข้าใจมากขึ้น
ขอความช่วยเหลือจากเเหล่งอื่น
หากลูกเข้าโรงเรียนเเล้ว การปรึกษาคุณครูที่รับมือกับเด็กมาอย่างยาวนานนั้นช่วยได้ค่ะ หรือลองปรึกษากับนักจิตวิทยาเด็กเเละวัยรุ่นดู ว่าเกิดเหตุการณ์เเบบนี้ ทั้งลูก ทั้งคุณพ่อคุณเเม่ ควรจะปรับเปลี่ยนอะไรอย่างไร หรือคุณพ่อคุณเเม่ช่วยอะไรลูกได้บ้าง หรือควรช่วยอะไรลูกต่อไปบ้าง
ข้อควรระวัง
การเปิดรับข้อมูลเเละความคิดเห็นของลูก ยังไม่ควรเป็นการตัดสินทั้งการกระทำหรือคำพูด หรือเเม้เเต่การตัดสินใจของลูก เพราะหากคุณพ่อคุณเเม่รีบตัดสิน รีบวิจารณ์ รีบลงความเห็น ลูกจะรู้สึกว่าเขาไม่ปลอดภัยที่จะเล่าให้คุณพ่อคุณเเม่ฟัง เเละเหตุการณ์อาจจะยิ่งหนักมากขึ้นได้ค่ะ
ที่มา stomp out bullying
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลูกโดนแกล้งหรือเป็นคนชอบแกล้งเพื่อนรึเปล่า?
14 ข้อที่จะบอกว่าคุณเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน” กันหรือเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!