X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก สัญลักษณ์ใต้ขวด บอกอันตราย! ขวดนมไม่ปลอดภัย อย่าซื้อให้ลูก

บทความ 5 นาที
สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก สัญลักษณ์ใต้ขวด บอกอันตราย! ขวดนมไม่ปลอดภัย อย่าซื้อให้ลูก

เคยรู้ไหม สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูกบอกอะไร? แม่ซื้อขวดนม เคยสังเกตกันหรือเปล่า

ความสำคัญ สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก สัญลักษณ์พลาสติก ถ้าซื้อขวดนมลูกไม่ได้มาตรฐาน มีสารต้องห้าม เสี่ยงสารเคมีปนเปื้อนน้ำนมให้ลูกกิน มีผลต่อร่างกาย อันตรายกับลูกรัก

 

อันตรายดูได้จากสัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก

พญ.รัชดา เกษมทรัพย์ กุมารแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ขวดนมจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต มีสารเคมี BPA ที่มีผลวิจัยจากทางยุโรปเมื่อประมาณปี 2551 โดยวิจัยในสัตว์ทดลองให้กินนมจากขวดนมที่ทำจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนตอย่างต่อเนื่อง พบว่าสารเคมีดังกล่าวปนเปื้อนมาในน้ำนมและมีผลในการไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง รวมถึงมีผลต่อการผลิตอสุจิได้น้อยลง ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ทดลอง ทำให้ในประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป จีน มาเลเซียและแอฟริกาใต้ ออกประกาศห้ามผลิตและจำหน่ายขวดนมที่ผลิตจากโพลีคาร์บอนเนตไปแล้ว

ในเมืองไทยเองก็เคยทดสอบ พบว่ามีสารเคมี BPA ปนเปื้อนในน้ำนม แม้ว่าจะยังไม่มีการวิจัยในตัวเด็กทารก เนื่องจากไทยยังขาดห้องแล็บที่สามารถทดลองในเรื่องนี้ได้ แต่ในเกาหลีและไต้หวันเคยทดลองวิจัยปัสสาวะของเด็กทารกที่ดื่มนมจากขวดนมที่ทำจากพลาสติกชนิดนี้ พบว่ามีสารเคมี BPA ปนเปื้อนเช่นกัน

 

วิธีเลือกขวดนมดูจากสัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก

  • พ่อแม่เลือกซื้อขวดนมที่ผลิตจากพลาสติก โพลีพรอพพีลีน หรือ PP โดยสังเกตข้างขวดจะมีเขียนไว้ว่า BPA Free หรือ PP
  • สังเกตก้นขวดนมจะมีสัญลักษณ์ มีเลข 5 ตรงกลางและมีรูปลูกศรล้อมรอบ แต่หากเป็นขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต บริเวณก้นขวดจะมีสัญลักษณ์เลข 7 อยู่ตรงกลางและมีลูกศรล้อมรอบ

 

การเลือกขวดนมพลาสติก

ขวดนมพลาสติกเป็นขวดนมที่หาซื้อได้ง่ายและเป็นที่นิยม เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก หาซื้อง่าย และมีให้เลือกหลายราคาตามกำลังทรัพย์

ขวดนมพลาสติกแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

ขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกต่างชนิดกัน จะมีสี การทนต่อความร้อน และอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน

– ขวดนม PP ผลิตจากวัสดุ Polypropylene

เนื้อพลาสติกจะมีสีกึ่งโปร่งใส หรือสีขาวขุ่น

ทนอุณหภูมิ -20 – 110 C

มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน และอาจเหลือ 3 เดือนถ้านึ่งหรือต้มบ่อยเกินไป

– ขวดนม PES ผลิตจากวัสดุ Polyethersulfone

เนื้อพลาสติกออกสีน้ำผึ้ง หรือสีชา

ทนอุณหภูมิ -50 – 180 C

มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นกับการดูแลรักษา และความถี่ในการต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อ

– ขวดนม PPSU ผลิตจากวัสดุ polyphenylsulfone

ขวดสีน้ำตาลอ่อน

ทนอุณหภูมิ -50 – 180 C

มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 8 เดือน ถึง 2 ปี ขึ้นกับการดูแลรักษา และความถี่ในการต้ม หรือนึ่งฆ่าเชื้อ

นอกจากนี้ คุณภาพของพลาสติกชนิดเดียวกันแต่คนละเกรด ก็ทำให้ขวดนมมีความแตกต่างกันอีกด้วย เช่น ขวด PP ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงไม่ผสมเศษ ขวดมักจะใสกว่า เป็นต้น

 

สัญลักษณ์ BPA Free จำเป็นแค่ไหน

คุณแม่อาจเคยได้ยินว่าถ้าซื้อขวดนมให้เลือกที่เป็น BPA Free เนื่องจากเมื่อขวดนมถูกล้างทำความสะอาดบ่อย ๆ จะเกิดรอยขีดข่วน เกิดคราบขุ่น ๆ รวมถึงเมื่อสัมผัสความร้อนบ่อยๆ สาร BPA ในขวดนมพลาสติกอาจปนเปื้อนลงไปในน้ำนม และหากสะสมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสมอง เซลล์ประสาท พฤติกรรม การเรียนรู้ และส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกายได้

ขวดนมที่มีสาร BPA มักเป็นขวดนมรุ่นเก่า ที่ผลิตจากวัสดุ polycarnonate (PC) ซึ่งมีความแข็งใส และทนทาน แต่ในปัจจุบันขวดนมรุ่นใหม่ส่วนมากผลิตจาก polypropylene (PP), polyethersulfone (PES), polyphenylsulfone (PPSU) ซึ่งไม่มีสาร BPA ในกระบวนการผลิตอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมองหาคำว่า BPA Free แต่ควรพิจารณาจากชนิดพลาสติกตามที่ได้กล่าวมา ซึ่งมักจะระบุไว้ที่ข้างกล่องหรือก้นขวดค่ะ

 

สัญลักษณ์บนขวดพลาสติก

ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายเรื่องผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์พลาสติกสามารถแบ่งตามชนิดของพลาสติกได้เป็น 7 ชนิด มีการแสดงไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในเรื่องการคัดแยกพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล ลักษณะสัญลักษณ์คือ ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเลขกำกับอยู่ภายใน และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ฐานของสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “รหัสพลาสติก” กำหนดโดย NA Society of the Plastics Industry ในปี ค.ศ. 1988 ดังตารางนี้

สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก สัญลักษณ์ใต้ขวดนมลูก บอกอันตราย! ขวดนมไม่ปลอดภัย อย่าซื้อ! ถ้ายังไม่รู้สัญลักษณ์ใต้ขวดนมลูก อาจมีสารเคมีปนเปื้อนน้ำนมให้ลูกกิน

สัญลักษณ์ก้นขวดนมของลูก สัญลักษณ์ใต้ขวดนมลูก บอกอันตราย! ขวดนมไม่ปลอดภัย

ที่มา : https://www.pharmacy.mahidol.ac.th

 

สำหรับการดูสัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก ถ้าจะให้ปลอดภัยจริง ๆ ก้นขวดนมจะมีสัญลักษณ์ มีเลข 5 ตรงกลางและมีรูปลูกศรล้อมรอบ ขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกโพลีพรอพพีลีน โดยสังเกตข้างขวดจะมีเขียนไว้ว่า BPA Free ส่วนสัญลักษณ์ก้นขวดนมลูกที่ผลิตจากพลาสติกโพลีคาร์บอนเนต บริเวณก้นขวดจะมีสัญลักษณ์เลข 7 อยู่ตรงกลางและมีลูกศรล้อมรอบ อันนี้ไม่ควรซื้อเด็ดขาดค่ะ

สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก สัญลักษณ์ใต้ขวด บอกอันตราย! ขวดนมไม่ปลอดภัย อย่าซื้อให้ลูก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

หน้าอกเล็ก กลัวไม่มีน้ำนมให้ลูกจัง ขนาดของเต้านมแม่มีผลต่อน้ำนมลูกไหม?

ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่ มีเคล็ดลับอย่างไรให้ลูกหย่านม

จุกนม ต้องเลือกแบบไหน เลือกอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ขวดนมคอกว้าง ขวดนมคอแคบ ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนให้ลูกดี

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • สัญลักษณ์ก้นขวดนมลูก สัญลักษณ์ใต้ขวด บอกอันตราย! ขวดนมไม่ปลอดภัย อย่าซื้อให้ลูก
แชร์ :
  • ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
    บทความจากพันธมิตร

    ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

  • แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
    บทความจากพันธมิตร

    แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด

  • MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
    บทความจากพันธมิตร

    MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

  • ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
    บทความจากพันธมิตร

    ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

  • แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
    บทความจากพันธมิตร

    แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด

  • MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
    บทความจากพันธมิตร

    MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว