X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สมองเปลี่ยนไป เมื่อกลายเป็นคุณพ่อ

บทความ 3 นาที
สมองเปลี่ยนไป เมื่อกลายเป็นคุณพ่อ

เมื่อกลายเป็นพ่อคนอะไรๆ ก็เปลี่ยนไป ทั้งวิถีชีวิต การปฏิบัติตัว เรื่องที่จะต้องคิด รวมไปถึงสมองและฮอร์โมนที่หลั่งออกมาด้วยนะคะ

สมองมนุษย์เป็นอะไรที่น่าพิศวง เพราะนอกจากการสั่งการ การวางแผน การมีลูกยังทำให้สมอง ทั้งของคุณพ่อและคุณแม่พัฒนาในส่วนของสติปัญญา กระบวนการคิดและการรับรู้ การมีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องที่เกี่ยวกับลูกอีกด้วยละค่ะ

สมองของพ่อกับแม่ ทำงานเหมือนกันเมื่อมีลูก

ในงานวิจัยที่ทำการศึกษาสมองของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คุณแม่ที่คลอดลูกเอง คุณพ่อที่ช่วยเลี้ยงลูก และคุณพ่อชาวเกย์ที่เลี้ยงลูก(ปราศจากผู้หญิง) คนทั้ง 3 กลุ่มนี้มีการทำงานของสมองที่เหมือนกัน ในเรื่องของการประมวลผลทางอารมณ์ (emotional processing) และความเห็นอกเห็นใจคนอื่น (social understanding)

กรณีศึกษาเรื่องคำสัญญาที่พ่อแม่ให้ลูก

พ่อก็ต้องรับมันกับฮอร์โมนเหมือนกัน

ต่อไปนี้คุณแม่จะอ้างไม่ได้แล้วนะคะในเรื่องของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นตอนตั้งครรภ์ ตอนคลอดลูก และตอนให้นมแม่ เพราะมีหลักฐานงานวิจัยที่บ่งบอกว่าคุณพ่อมีก็ฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป เมื่อกลายเป็นคุณพ่อแล้ว ฮอร์โมนเอสโทรเจน (estrogen) ออกซิโทซิน (oxytocin) โพรแล็กทิน (prolactin) และกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) จะมีการเพิ่มขึ้นในสัตว์และมนุษย์เพื่อมีประสบการณ์ของการเป็นพ่อ (ในงานวิจัย Men vs. Women: Our Key Physical Differences Explained)

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าพ่อจะมีปริมาณฮอร์โมนเทสโทสทอโรน (testosterone) ลดลง ส่งผลให้เวลาที่อยู่กับลูกจะมีความก้าวร้าวลดน้อยลง แต่จะฮอร์โมนนี้จะเพิ่มขึ้นในเวลาที่พ่อมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการปกป้องลูก และสำหรับคุณพ่อที่คอยดูแลและช่วยคุณแม่เลี้ยงลูกนั้น จะมีปริมาณของฮอร์โมนออกซิโทซิน หรือที่เรียกกันว่า ฮอร์โมนกอด (cuddle hormone) เพิ่มขึ้น ขณะที่เล่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับลูก

Advertisement

พ่อที่ดีเป็นอย่างไร

เลี้ยงลูกช่วยสร้างเซลล์ประสาทขึ้นใหม่

การมีลูกและการเลี้ยงลูกนั้นช่วยให้สมองมีการสร้างเซลล์ประสาท (neurons) ขึ้นใหม่ เพราะเซลล์ประสาทจะถูกสร้างขึ้นเมื่อมีคุณภาพและความมั่งคั่งของสิ่งแวดล้อม (environmental richness) เนื่องจากคุณพ่อมือใหม่จะได้มุมมองและมิติใหม่ๆ จากการเลี้ยงลูกและการเป็นพ่อ งานวิจัยยังพบว่าเซลล์ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสโตขึ้น สัมพันธ์กับความทรงจำและการนำทาง

วิธีแสดงออกของพ่อ ให้ลูกสาวรู้ว่ารัก

คุณพ่อกับเสียงร้องอ้อแอ้

คุณแม่มีสัญชาตญานความเป็นแม่ ทำให้แยกแยะเสียงร้องของลูกได้ คุณพ่อก็เช่นกันค่ะ จากการเก็บข้อมูลเรื่องเสียงร้องของเด็กๆ ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นคุณพ่อ 27 คนและคุณแม่ 29 คน ให้ตามหาเสียงร้องของลูกตัวเอง เมื่อเด็กๆ ร้องพร้อมกันทั้ง 5 คน ปรากฎว่ากว่า 90% นั้นทายถูกค่ะ แต่จำนวนคุณพ่อกับคุณแม่ก็มีพอๆ กันเสียด้วยสิคะ

แม้ว่างานวิจัยเรื่องสายสัมพันธ์ของลูกกับคุณพ่อจะมีมากมายแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับเรื่องจริงที่ว่า การเลี้ยงลูกนั้นเป็นงานของทั้งคุณพ่อและคุณแม่นะคะ ข้อดีต่างๆ ของการมีลูกจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากคุณพ่อมีลูกแต่ไม่ได้ช่วยคุณแม่เลี้ยง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูก

ที่มา livescience

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • สมองเปลี่ยนไป เมื่อกลายเป็นคุณพ่อ
แชร์ :
  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว