X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

"ลูกสะโพกหลุด"แต่กำเนิด เรื่องจริงที่แม่อยากบอกต่อ

5 Dec, 2016
"ลูกสะโพกหลุด"แต่กำเนิด เรื่องจริงที่แม่อยากบอกต่อ

คุณแม่ท่านนี้ เล็งเห็นถึงอันตรายจึงอยากแชร์ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากลูกเป็น "โรคสะโพกหลุดแต่กำเนิด"

โรคสะโพกหลุดตั้งแต่กำเนิด หรือ Developmental Dysplasia of the Hip คืออีกโรคหนึ่งที่คุณแม่ท่านนี่ อยากบอกเล่าให้ผู้ปกครองทุกคนได้ทำความรู้จักผ่านประสบการณ์ตรงของตัวเองผ่านเพจคนท้องคุยกัน เมื่อลูกวัยเพียง 23 วัน ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ไปพบเรื่องเล่าของคุณแม่ท่านนี้กันเลยค่ะ

ลูก สะโพกหลุด

เรามีเรื่องจะมาเล่าให้แม่ ๆ ฟัง ประสบการณ์ของเราและลูก ลูกเราคลอดมาเมื่อวันที่ 12 ตุลา วันแรกหลังคลอด คุณหมอมาบอกว่า หลังจากตรวจเช็ค ลูกเราสะโพกด้านซ้ายเหมือนจะหลุด มีเสียงกึก ๆ เวลาขยับ จะแจ้งให้ทราบอีกทีหลังจากอัลตร้าซาวด์ดูรายละเอียดของสะโพกซ้ายก่อน
วันถัดมา หมอเด็กแจ้งว่า ลูกเราเป็นโรคสะโพกหลุดแต่กำเนิด หรือ Developmental Dysplasia of the Hip
เราเอ๋อเลย ไม่เคยรู้จัก ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ถามหมอว่าเกิดได้อย่างไร หมอก็บอกรายละเอียดไม่ได้ หมอบอกว่า ช่วงบ่ายจะให้หมอที่เชี่ยวชาญมาอธิบาย ตอนบ่าย มีคุณหมอมาอธิบายพร้อมกับให้ลูกเราใส่เข็มขัดที่เราเรียกว่า Harness เราถามหมอว่าจะต้องใส่นานแค่ไหน หมอตอบว่าอย่างต่ำเดือนครึ่ง และต้องใส่ สิ่งที่เรียกว่ากระดองเต่า เป็นตัวซับพอร์ต สะโพกต่ออีก อย่างต่ำ 1 ปี วันนี้ ลูกเราถอด Harness แล้ว เค้าได้อาบน้ำครั้งแรกในรอบ เดือนครึ่งแล้ว (ใส่Harness อาบน้ำไม่ได้) ตอนนี้ รอใส่กระดองเต่า เราไปสั่งผลิตมาแล้ว ที่เรามาแชร์ประสบการณ์ เพราะ เราพยายามหาข้อมูลของโรคที่ลูกเราเป็น แต่แทบไม่มีเลย ไม่ใช่ไม่มีใครเป็น แต่คนที่เป็นไม่รุ้ว่าตัวเองเป็น พ่อแม่ไม่รู้ว่าลูกเป็นกว่าจะรู้ลูกก็เดินขาไม่เท่ากันแล้ว และเลยเวลารักษาแล้ว ต้องผ่าตัดอย่างเดียว เราจึงมาเตือนว่าใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังนี้ อย่าละเลยนะคะ ลองเช็คสะโพกลูกของคุณดู กลุ่มเสี่ยงมีดังนี้ค่ะ

– ลูกผู้หญิง เนื่องจากการรายงานพบว่า เด็กที่เป็นโรคนี้พบว่าเป็นเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กชาย มีอัตราส่วน ผู้หญิง: เด็กผู้ชาย อยู่ประมาณ 5-8 คน : 1 คน (อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนเพศ)

– ลูกคนแรกของครอบครัว เนื่องจากบริเวณมดลูกและช่องคลอดของแม่ยังขยายตัวไม่มากนักอาจบีบรัดตัวลูกน้อย

– พบในขาซ้ายมากกว่าขาขวา
Advertisement
– ทารกเอาก้นลงในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครภ์
– ของเหลวในครรภ์น้อย น้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กอาจมีปริมาณน้อยเกินกว่าปกติ
– ประวัติครอบครัว มีประวัติคนในครอบครัวมีอาการของโรคนี้มาก่อน
– ทารกตัวใหญ่ ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวมากขณะที่มารดามีขนาดตัวที่เล็ก
– ห่อตัวแน่นเกินไป การห่อตัวทารกแรกเกิดแน่นจนเกินไป
– เท้าหรือคอผิดปกติ. เด็กที่มีอาการเท้าผิดปกติหรือคอเกร็ง (foot deformities or tightness in the neck)

– ฮอร์โมนมารดา ฮอร์โมนของมารดาขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อการตอบสนองของทารกหากลูกคุณมีอาการสะโพกทั้ง 2 ข้างกางไม่เท่ากัน ขณะที่ให้ลูกนอนหงาย งอสะโพกชันเข่า แล้วกางขาแบะออก ซึ่งเป็นท่าที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ใส่ผ้าอ้อมเด็กนั่่นเองค่ะ ซึ่งสิ่งที่จะสังเกตได้ว่าผิดปกติคือ สะโพก 2 ข้างจะแบะออกได้ไม่เท่ากัน โดยข้างที่แบะออกได้น้อยกว่ามักเป็นข้างที่ผิดปกติ

คลานด้วยการลากขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือยืนขาข้างใดข้างหนึ่งหมุนได้มากผิดปกติ ยืนโดยเท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือยืนบนปลายเท้า รวมทั้งยกส้นเท้าสูงกว่าปกติ

เดินเอวแอ่นมาข้างหน้ามากกว่าปกติ หากลูกอยู่ในวัยที่เริ่มเดินได้ จะเห็นว่าลูกเดินยักสะโพก หรือเดินเอวแอ่นมาข้างหน้ามากกว่าปกติ และหากให้นอนหงายชันเข่า จะเห็นว่าเข่า 2 ข้างจะสูงไม่เท่ากัน

ไปหาหมอนะคะ โรคนี้รู้เร็วจะรักษาได้ หากช้า ลูกคุณอาจเดินขาไม่เท่ากันตลอดชีวิต

รูปที่เราเอาลง เป็นรูปลูกเราใส่ Harness นะคะ เดี๋ยวได้กระดองเต่าจะอัฟเดตทีหลัง

ลูก สะโพกหลุด

อัพเดทล่าสุด คุณแม่เล่าว่า ตอนนี้น้องปรับตัวเยอะมาก และค่อนข้างที่จะรู้สึกหงุดหงิดเวลาที่ยืดขาแล้วออกไปไม่สุด คุณแม่บอกกับทีมงานว่า คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักนึง กว่าที่น้องจะชิน และน้องจะต้องใส่ติดตัวตลอดเวลา เว้นแต่เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมหรืออาบน้ำเท่านั้น

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่และน้องด้วยนะคะ ขอให้น้องหายไว ๆ นะคะ

ที่มา: คนท้องคุยกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

แม้ร่างจะพิการ แต่แม่ก็คลอดลูกได้อย่างปลอดภัย

ดื่มเหล้าไม่รู้ว่าท้อง ลูกจะพิการไหม

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • "ลูกสะโพกหลุด"แต่กำเนิด เรื่องจริงที่แม่อยากบอกต่อ
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว