X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พาเที่ยวกรุงเก่า ไหว้พระ 9 วัด วัดที่ 2 ที่ วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

บทความ 5 นาที
พาเที่ยวกรุงเก่า ไหว้พระ 9 วัด วัดที่ 2 ที่ วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา

พาเที่ยววัดจังหวัดใกล้กรุงเทพ

หลังจากคราวก่อน เราพาไปไหว้พระที่ วัดที่ 1 วัดพนัญเชิง มาแล้ว จุดเช็คอินต่อไป แถมยังเป็นจุดเช็อินสุดคลาสสิคของนักท่องเที่ยว ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี คือ วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ 

มีจุดเด่นที่สำคัญคือ เป็นวิหารเก่าแก่ในเขตกำแพงเมือง ที่ได้รับการบูรณะอย่างดี ภายใน เป็นที่ประดิษฐาน ของพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ. 2081 เคยได้รับความเสียหายเมื่อตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง แต่ได้รับการบูรณะใหม่ทั้งหมด ด้วยทองสำริดหุ้มทองตามปัจจุบัน

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีการสันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราว ๆ แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดาร เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง 

พระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตร

บางคนสันนิษฐานว่า  พระมงคลบพิตร เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาด ของชาวตะวันตก ที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ว่าเป็นรูปร่างคล้าย ๆ มณฑป

อีกทั้ง วิหารพระมงคลบพิตร ยังสะท้อนภูมิปัญญาในศาสตร์แห่งโลหะ และความชำนาญ ของช่างฝีมือไทย ในการหล่อโลหะ โดยเฉพาะงานหล่อสำริด ซึ่งเป็นโลหะสำคัญในสมัยอยุธยา

"<yoastmark

1วิหารพระมงคลบพิตร

ประวัติของ วิหารพระมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร อยุธยา

วิหารพระมงคลบพิตรสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ. 2081 มีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ประดิษฐาน ภายใน

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ราวๆ พุทธศักราช 2246 ยอดมณฑปถูกฟ้าผ่า เครื่องยอดมณฑปหักพังลงมา ต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯ ให้แปลงมณฑปเป็นวิหาร แต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียร ของพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงโปรดเกล้าให้ บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนหลังคาจนคล้ายในแบบที่เห็นกันในปัจจุบัน

 

ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตร ถูกข้าศึกเผาทำลาย วิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุด เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งยังคงเค้าความเป็นพระพุทธรูป สมัยอยุธยา และอีกทั้งยังสามารถเป็นแบบอย่าง ของพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนกลางได้อย่างดี 

"<yoastmark

วิหารพระมงคลบพิตร-

ในปี พ.ศ. 2474 พระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร โดยจะออกแบบให้เป็นปูชนียสถานกลางแจ้งเหมือน ไดบุซึของญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะรักษาตามแบบอย่างทางโบราณคดี 

 

และเมื่อ รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2499 ได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร และองค์พระพุทธใหม่ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ การบูรณะพระมงคลบพิตรได้ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2500 กรมศิลปากรได้พบพระพุทธรุป บรรจุไว้ในพระอุระด้านขวา เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

 

สำหรับบริเวณด้านข้างทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ นอกจากจะได้นมัสการพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทยแล้ว พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวนิยมแวะด้านหน้าวัด ซึ่งจำหน่ายของพื้นเมือง อาหารคาวหวาน ผลไม้ ขนม โรตีสายไหม เครื่องจักสานและของดีเมืองอยุธยาหลากหลายชนิด 

ที่นี่จึงเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาและหมุดหมายการท่องเที่ยวแห่งสำคัญ เปิดให้สักการะองค์พระได้ทุกวัน วันธรรมดาเปิดตั้งแต่เวลา 08.00  -16.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น. จะเดินเท้าชมวัดมงคลบพิตรต่อด้วยวัดพระศรีสรรญเพชญ์ หรือขี่ช้างชมวัดที่วังช้างอยุธยา ก็มีเตรียมไว้ให้บริการ

 

theAsianparent Thailand ขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทริปครอบครัว สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับเด็ก คาเฟ่เด็ก ฟาร์ม กิจกรรม 1 เดย์ทริป กิจกรรมสำหรับครอบครัว ทั้งทะเล ภูเขา ที่พักหลากสไตล์ทั้งแบบแคมป์ แบบพูลวิลล่า ที่พักริมหาด ที่พักติดทะเล ที่พักอิงแอบแนบภูเขา ให้ลูกได้ออกไปเรียนรู้กับธรรมชาติ สายลม แสงแดดและหาดทราย เสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาการได้สมวัย เสริมสร้างทักษะทางสังคมและสติปัญหา สามารถปรับตัวและเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมต่างถิ่น การใช้ชีวิตกับผู้อื่นและมารยาททางสังคม

ที่มา : (Wikipedia) (Wikipedia)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

เปิดซีรีย์พา ทำบุญ 9 วัด ที่อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน (วัดที่ 1 วัดพนัญเชิง)

ไหว้พระขอลูก อยากมีลูกต้องขอที่ไหน ขออย่างไร วิธีขอลูกที่ถูกต้อง ลูกติดทันที!

ต้อนรับปีฉลู ด้วยความศิริมงคล กับ 15 จุดสวดมนต์ข้ามปีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

 

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • พาเที่ยวกรุงเก่า ไหว้พระ 9 วัด วัดที่ 2 ที่ วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยา
แชร์ :
  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้  ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก!  ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

    TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้ ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก! ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

  • ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

    ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้  ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก!  ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

    TAP Awards สมัครได้แล้ววันนี้ ประกาศศักดาแบรนด์แม่และเด็ก! ชิงรางวัลใหญ่แห่งปีใน theAsianparent Awards 2025

  • ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

    ฤกษ์โกนผมไฟ 2568 เสริมดวงชะตาตั้งแต่แรกเกิด เสริมสิริมงคลเริ่มต้นชีวิตใหม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว