ขั้นตอน การขอทบทวนสิทธิ เราชนะ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดให้ประชาชนที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ของโครงการเราชนะ สามารถเช็คสิทธิว่าผ่านหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com หากเช็คแล้ว พบว่าไม่ผ่านสามารถยื่นเรื่อง การขอทบทวนสิทธิ ได้ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 นี้
www.เราชนะ.com
หลังจากที่มีการเปิดให้ลงทะเบียนในนโยบายเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่นั้น สำหรับผู้ที่มีสิทธิจะได้รับเงินเยียวยาในโครงการ เราชนะ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอ
- ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ผู้เข้าร่วมโครงการ “คนละครึ่ง” ผู้เข้าร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”
- กลุ่มที่ไม่เคยได้รับสิทธิ (ไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูล)
ในกลุ่มที่ 3 จะเป็นกลุ่มเดียว ที่จะต้องมีการลงทะเบียนใหม่ ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com และหลังจากการเปิดให้ลงทะเบียน เมื่อวันที 29 มกราคม 2564 พบว่ามีประชาชนเข้าไป ลงทะเบียนตั้งแต่มีการเริ่มเปิดให้เข้าลงวทะเบียน และล่าสุดพบผู้เข้ามาลงทะเบียนแล้วกว่า 8 ล้านสิทธิ์
โดยเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา จะเป็นขั้นตอนในการเช็คสิทธิ์เราชนะ ของกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคยลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่ง หรือเราเที่ยวด้วยกัน จึงนี้มีฐานข้อมูล รวมไปถึุงแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง อยู่ก่อนอยู่แล้ว โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิของตนเองว่าผ่านหรือไม่ ได้บนเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา โดยมีขั้นตอนดังนี้
สิทธิช่วยเหลือรายสัปดาห์
ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิ์ กลุ่มที่ 2
- เข้าไปยังเว็บไซต์ www.เราชนะ.com
- กดที่คำว่า ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ
- กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- กรอกชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด
- กดปุ่มตรวจสอบสถานะ
- หลังจากนั้นระบบจะแจ้งว่าท่าน ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน
ขั้นตอนต่อไปหากสิทธิ์ผ่านแล้ว เตรียมกดยืนยันสิทธิ์ในแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง ดังนี้
- เปิดเข้าไปยังแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง
- กดที่แบนเนอร์ เราชนะ เพื่อยืนยันสิทธิ์ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564
- เงินจะโอนเข้าทันที 2,000 บาท วันที่ 18 กุมภาพันธ์ และจะทยอยโอนสัปดาห์ละ 1,000 บาท ทุก ๆ วันพฤหัสบดี
ทั้งนี้หลังจากการเปิดให้ตรววจสอบสิทธิ์ เมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา พบว่ามีทั้งผู้ที่ผ่าน และไม่ผ่าน ประชาชนที่ตรวจสอบสิทธิแล้วไม่ผ่านนั้น ส่วนใหญ่ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า คุณสมบัติของตนเองนั้นผ่าน และไม่มีเงินในบัญชีเกินตามที่ทางโครงการระบุไว้แต่อย่างใด
ตัวอย่างหน้า website หากท่านไม่ได้รับสิทธิ
ล่าสุดเกี่ยวกับ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “กระทรวงการคลังจะเปิดช่องทางให้กลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลฯ และกลุ่มประชาชนที่ลงทะเบียนฯ ที่ตรวจสอบสถานะแล้วพบว่า ไม่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ สามารถแสดงความประสงค์ เพื่อขอทบทวนสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เท่านั้น
โดยสามารถแสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2564 และสามารถตรวจสอบผลการทบทวนสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยมี 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
วิธียื่นขอทบทวนสิทธิ์(เบื้องต้น)
- เข้าไปที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com (ยื่นทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2564)
- เลือกเมนู “ขอทบทวนสิทธิ์”
- กรอกข้อมูลส่วนตัวตามที่ระบบแจ้ง
- กระทรวงการคลังนำข้อมูลไปคัดกรองใหม่อีกครั้ง โดยผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ต้องมีคุณสมบัติตามที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 ดังนี้
- สัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
- ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการการเมือง หรือผู้รับบำนาญ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
- ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลล่าสุด
- ไม่เป็นผู้มีเงินฝากรวมทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลล่าสุด
- ตรวจสอบผลการทบทวนสิทธิ์ผ่าน www.เราชนะ.com
- ผลการพิจารณาทบทวนสิทธิเป็นอันสิ้นสุด
สำหรับกลุ่มประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ทางกระทรวงการคลัง ล่าสุดแจ้งว่า จะเปิดให้ลงทะเบียนที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ของธนาคารกรุงไทย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. เป็นต้นไป ยังไม่มีกำหนดปิดรับลงทะเบียน
ที่มา : www.komchadluek.net
บทความอื่นๆ ที่นาา่าสนใจ :
เตรียมเช็คได้เลย เงินเยียวยา โครงการเราชนะ พร้อมโอนให้กลุ่มแรกแล้วศุกร์นี้
โครงการเราชนะ เปิดความหมาย กลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง
เราชนะ โครงการเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ระลอก 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!