X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยง ”ปวดคอ” เรื้อรัง

บทความ 3 นาที
ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยง ”ปวดคอ” เรื้อรัง

โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนได้กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์ในโลกดิจิตอลไปเรียบร้อย อาการติดมือถือก็มาพร้อมอาการเจ็บป่วย เช่น การปวดคอเรื้อรังที่คุณอาจไม่ทันระวัง เรามีคำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปมาฝาก

ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยง ปวดคอ เรื้อรัง

ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยง ”ปวดคอ” เรื้อรัง

คุณเคยฉุกคิดสักนิดหรือไม่ว่าการก้มดูโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ อาจทำให้กระดูกสันหลังบาดเจ็บถาวร นี่เป็นความจริง เพราะเราเชื่อว่าคุณคงไม่ได้ก้มเช็คมือถือแค่วันละครั้งแน่นอน มีรายงานระบุว่าคนเราจะก้มดูมือถือเฉลี่ยวันละ 110 ครั้ง

นี่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็กจำนวนมากก็มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่เช่นกัน ผู้ปกครองมักสงสัยว่าลูก ๆ ของพวกเขามีอาการเหล่านี้ได้อย่างไร แต่แพทย์ระบุว่าอาการเจ็บปวดเหล่านี้อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังหากผู้ป่วยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากเกินไป

iSlouching และ iGrinding

เมื่อไม่นานนี้มีศัพท์ใหม่ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อไว้บรรยายลักษณะท่าทางในการเล่นมือถือหรือแท็บเล็ตโดยเฉพาะ คำแรกคือคำว่า “iSlouching” หรือท่านั่งหลังงอเวลาเล่นแท็บเล็ตหรือมือถือ ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังมากกว่าปกติ

แพทย์อธิบายว่าหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กมักมีอาการปวดคอจากการนั่งผิดท่าผิดทาง และอาจทำให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังหากไม่ระวัง และทำให้กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อระหว่างกระดูกสันหลังเสียหายถาวร

ส่วนคำว่า “iGrinding” หมายถึงการขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน กัดฟันระหว่างที่กำลังเล่นเกม ซึ่งทำให้กรามเกิดอาการเจ็บปวด มักเกิดขึ้นได้บ่อยในกลุ่มเด็ก ๆ

การอยู่ในอิริยาบถเหล่านี้นาน ๆ เป็นประจำจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Repetitive strain injury (RSI) หรืออาการบาดเจ็บซ้ำซาก ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือเส้นประสาท อันเกิดจากการเคลื่อนไหวส่วนนั้น ๆ ของร่างกายซ้ำ ๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการที่ยืนยันว่าการเล่นเกมหรือการใช้โทรศัพท์มือถือจะทำให้เกิด RSI

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

5 เคล็ดลับเลี่ยงอาการปวดคอ หลัง และไหล่

เมื่อโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และการใช้คอมพิวเตอร์ทำให้คุณเกิดอาการปวดคอ หลัง และไหล่ เรามีเคล็ดลับวิธีแก้ดังนี้

เคล็ดลับเลี่ยงอาการปวดคอ หลัง และไหล่

1. เงยหน้า

วิธีที่จะหลีกเลี่ยงอาการปวดคอที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการก้มหน้านาน ๆ แทนที่จะก้มดูมือถือ เราแนะนำให้คุณยกมือถือขึ้นมาที่ระดับสายตา แรก ๆ อาจจะดูเงอะงะไม่ถนัด แต่สักพักคุณจะเริ่มชิน ถ้าเด็ก ๆ นั่งเล่นแท็บเล็ตบนตัก ให้ยกแท็บเล็ตขึ้นมาตั้งบนโต๊ะแทนจะดีกว่า

2. พักซะบ้าง

ถ้าคุณก้มหน้าเล่นแท็บเล็ตนาน ๆ คุณควรจะพักยืดเส้นยืดสายบ้าง คนเราไม่ควรนั่งอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ  เช่นเดียวกับเด็ก ๆ คุณควรให้เด็ก ๆ พักจากการเล่นแท็บเล็ตเพื่ออกไปวิ่งเล่นหรือออกกำลังกายบ้าง

3. โทรแทนแชท

แทนที่จะแชทกันตลอดเวลา บางครั้งก็ลองเปลี่ยนเป็นการโทรหาเพื่อนแทน คุณจะได้ไม่ต้องก้มหน้าพิมพ์ และได้พักสายตาหรือยืดคอบ้าง

4. ถนอมนิ้ว

การพิมพ์ข้อความทางมือถือมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกได้ ฉะนั้นพยายามหาลูกบอลบริหารนิ้วมาบีบเล่นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อมือ

5. ให้แอพช่วย

เคล็ดลับเลี่ยงอาการปวดคอ หลัง และไหล่

ลองโหลดแอพพลิเคชั่นของระบบแอนดรอยด์ที่มีชื่อว่า “Text neck” มาใช้ดู แอพนี้จะโชว์ไฟเขียนเมื่อคุณยกโทรศัพท์ขึ้นมาที่ระดับสายตา และโชว์ไฟสีแดงเมื่อคุณก้มหน้าลง แต่ที่เจ๋งกว่านั้นคือ แอพนี้สามารถส่งรายงานท่าทางการเล่นแท็บเล็ตของลูกไปให้ผู้ปกครองดูอีกด้วย

เหตุผลที่คุณไม่ควรนอนกับสมาร์ทโฟน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เสี่ยง ”ปวดคอ” เรื้อรัง
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว