X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ต้องรู้จัก “ไอพีดี” โรคร้ายในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ

บทความ 5 นาที
แม่ต้องรู้จัก “ไอพีดี” โรคร้ายในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ

โรคไอพีดี (IPD) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอกคัส สามารถพบได้ทั่วโลกในคนทุกกลุ่มอายุ แต่เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไอพีดีสูงที่สุด

โรคไอพีดี โรคร้ายในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ

รู้ไหม? เชื้อนี้อยู่ในร่างกายเรา

โรคไอพีดี (IPD) เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อชนิดแพร่กระจายที่อันตราย มักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ เรียกว่าเป็นพาหะ แต่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะแพร่กระจายออกไปเช่นเดียวกับโรคหวัด โดยพบว่าอัตราการเป็นพาหะของเชื้อจะสูงมากในเด็กโดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 50  ถ้าเชื้อนี้เข้าสู่เด็กเล็กซึ่งยังมีภูมิต้านทานต่ำก็จะติดเชื้อง่าย

เชื้อนิวโมคอกคัสอันตรายแค่ไหน?

โรค IPD ถือเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความพิการและการตายทั่วโลก โดยเชื้อนิวโมคอคคัส สามารถทำให้ติดเชื้อรุนแรงได้ในอวัยวะหลายระบบ เช่น โรคหูชั้นกลางอักเสบ (โรคหูน้ำหนวก) ปอดบวม (ปอดอักเสบ) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดรุนแรงที่มีการลุกลามเข้าสู่สมองหรือกระแสเลือด หากรักษาไม่ทันท่วงที เด็กสามารถเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง

เด็กกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไอพีดี?

เด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรค ไอพีดี ครอบคลุมตั้งแต่ เด็กที่มีสุขภาพอ่อนแอ มีโรคประจำตัว ไปจนถึงเด็กที่มีสุขภาพดีแต่อยู่รวมกับเด็กอื่นจำนวนมาก และเด็กสุขภาพดีที่อายุยังน้อยก็สามารถติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ ดังนี้

- เด็กที่มีสุขภาพดีอายุน้อยกว่า 2 ปี

- เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับเรื้อรัง

- เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี

- เด็กที่อยู่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน

- เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

- เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว

- เด็กที่เคยมีประวัติติดเชื้อในหู

- เด็กที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ

โรคไอพีดี มีอาการอย่างไร?

โรค ไอพีดี จะมีอาการไข้เหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไป แต่ถ้าการติดเชื้อรุนแรงลุกลาม ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ

1. การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง ส่วนในเด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคนี้ต้องมีการตรวจเพาะเชื้อ จากการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง

2. การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อค และเสียชีวิตได้

3. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว

4. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

โรคไอพีดี ป้องกัน ดีกว่า รักษา อย่างไร คลิกอ่านหน้าต่อไป

โรคไอพีดีรักษาอย่างไร?

การติดเชื้อนิวโมคอคคัส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบสามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบลุกลาม ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

การติดเชื้อแบบลุกลาม จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เด็กชัก เกิดความพิการของสมองปัญญาอ่อนได้ ถึงแม้ว่าโรค IPD จะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ปัจจุบันพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัส บางสายพันธุ์มีการดื้อยา ทำให้การรักษาลำบากมากขึ้น และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้เกิดความพิการ และเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันโรคไอพีดี จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคไอพีดี

1. การฉีดวัคซีนไอพีดี เสริมภูมิคุ้มกันตั้งแต่วัยทารก

วัคซีนสำหรับโรคไอพีดีสามารถฉีดได้ ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ ถึง 9 ปี แต่การฉีดวัคซีนป้องกันให้ได้ผลดีที่สุด ต้องฉีดตั้งแต่ยังเป็นทารก

วัคซีน นิวโมคอคคัส คอนจูเกต วัคซีนชนิด 7 สายพันธุ์ (เรียกย่อๆ ว่า pcv 7) สามารถครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัสที่สำคัญ 7 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคสำคัญ ที่พบบ่อยและมักจะดื้อยา

คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก คือ ให้ฉีดวัคซีนชนิด pcv 7 ตามคำแนะนำของต่างประเทศ คือ อายุ 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน (4 ครั้ง)

วัคซีนนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการเกิดโรคติดเชื้อ ไอพีดี ในทารกและเด็กเล็ก ทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อพาหะในโพรงจมูกและลำคอของเด็ก ทำให้ลดการแพร่กระจายเชื้อนิวโมคอคคัสไปยังเด็กอื่นๆ และบุคคลใกล้เคียง และยังลดอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะต่อเชื้อนิวโมคอคคัสด้วย

สำหรับเด็กที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีน 1 ครั้ง

2. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้มีภูมิต้านทานจากแม่ไปสู่ลูก

3. สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดีโดยการล้างมือบ่อยๆ ปิดปากจมูกทุกครั้งที่มีอาการจามหรือไอ

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

4. หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสัมผัสผู้ป่วย หรือสถานที่ที่มีเด็กจำนวนมาก เช่น สถานเลี้ยงเด็ก

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thaihealth.or.th, www.manager.co.th

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

อุทาหรณ์! โดนญาติเห่อทั้งอุ้มทั้งหอม ลูกป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

แม่รู้ไหม? เป่า กัดอาหารป้อนลูกเสี่ยงติดเชื้อฟันผุได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • แม่ต้องรู้จัก “ไอพีดี” โรคร้ายในเด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบ
แชร์ :
  • โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

    โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

  • ไอพีดี…ภัยในเด็ก ไอพีดี (IPD, invasive pneumococcal disease)

    ไอพีดี…ภัยในเด็ก ไอพีดี (IPD, invasive pneumococcal disease)

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

    โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

  • ไอพีดี…ภัยในเด็ก ไอพีดี (IPD, invasive pneumococcal disease)

    ไอพีดี…ภัยในเด็ก ไอพีดี (IPD, invasive pneumococcal disease)

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ