เพราะคุณแม่ท้องกับ อาการหอบหืด แทบจะเป็นของคู่กัน โดยทาง Asianparent จะพามารู้จักกับ อาการ และสาเหตุ ของอาการหอบหืด และ อาหารต้านหอบหืด เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมพร้อม และป้องกันอาการที่จะเกิดขึ้น
อาการหอบหืด เป็นปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ที่จะพบได้บ่อย ในกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 8 และมีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มขึ้น ภาวะดังกล่าว อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ของการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ จะเป็นผลดีต่อทั้งมารดา และทารกในครรภ์ เราควรมาดูสาเหตุ และวิธีดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นจาก อาหารต้านหอบหืด กันค่ะ
โรคหอบหืด … เกิดจากอะไร?
กว่าร้อยละ 50 อาการหอบหืด จะเกิดขึ้น ในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เคยมีประวัติการเป็นโรคประเภทนี้มาก่อน หรือมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่น หรืออาหารบางชนิด ก็จะไปกระตุ้น ให้เกิดอาการหอบหืด ขึ้นได้เช่นกัน
ซึ่งคุณแม่บางคน อาจจะไม่เคยมีอาการนี้ แสดงให้เห็นมาก่อน ในขณะเดียวกัน คุณแม่ที่มีประวัติ เป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน จะทำให้อาการที่เป็น รุนแรงมากยิ่งขึ้น และส่งผล ให้เกิดอาการหอบหืด ตามลำดับ เช่น เดินเยอะ ๆ แล้วมีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการมากขึ้น ในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งพอมาตรวจวินิจฉัยจริง ๆ จึงพบว่าตัวคุณแม่เอง เป็นโรคหอบหืด
สิ่งที่กระตุ้น อาการของโรคหอบหืด ที่สำคัญที่สุด ได้แก่
- การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
- เรื่องการเปลี่ยนแปลง ของอากาศ อุณหภูมิ และความชื้น
- การได้รับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ
- การออกกำลังกาย
- สิ่งแวดล้อม
- อารมณ์
- อาหารบางประเภท โดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มีซัลไฟท์ จะเป็นอาหาร ที่กระตุ้นโรคหอบหืดโดยตรง
อาหารที่กระตุ้นโรคหืดหอบ ที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ นม ถั่วลิสง ถั่วอื่น ๆ ข้าวสาลี ปลาและหอย หากสังเกตจะพบว่า อาหารที่เป็นตัวกระตุ้นนั้น มักเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนใหญ่
อาการหอบหืด มีดังต่อไปนี้
- หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
- แน่นหน้าอก
- ไอ
- หายใจเสียงดัง
- โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอน อาการของผู้ป่วย จะผันแปรได้หลายรูปแบบ
- อาการหอบ อาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
- อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
- อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้ง ๆ หรืออาการ อาจจะหายไปเป็นเวลานาน
- อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
วิธีการรักษาหอบหืด
- ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
- ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
- ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาล เพราะโรคหอบหืด
- สามารถคุมอาการให้สงบลงได้ และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
- ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
- ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอด ให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติ ไม่ต้องหยุดเรียน หรือหยุดงาน
- หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
- ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
- ใช้ยา beta2 – agonist เพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
- ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
- สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
ในขณะเดียวกัน อาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะเข้าไปกระตุ้นภูมิแพ้ และส่งผลไปถึงอาการหอบหืดได้ เช่นกัน ดังนั้น อาหารดังนั้นต่อไป คืออาหารที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ รวมถึงผู้ที่เป็นหอบหืด ควรจะต้องให้ความใส่ใจเป็นสำคัญ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหอบหืด ลูกของคุณมีอาการแบบนี้รึเปล่า? ดูแลลูกยังไง?
สารผสมอาหาร
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่จะมีความระแวดระวังอยู่พอควรในการเลือกรับประทานอาหาร สารอาหารที่ประกอบด้วย ซัลไฟท์ ซึ่งพบได้บ่อยในผลไม้แห้ง ผักกาดแห้ง ผักดอง เครื่องเทศ ไวน์ เบียร์ น้ำมะนาว สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้โรคหอบหืดมีความรุนแรงเพิ่ม รวมทั้งสารประกอบอื่น ๆ เช่น สีผสมอาหาร โดยเฉพาะสีเหลืองสารกันบูด ผงชูรส ดินประสิว (ซึ่งพบมากในแหนม) ก็อาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงได้เช่นกัน
ซัลไฟท
เป็นสารที่ใช้เคลือบผิวอาหาร โดยเฉพาะผลไม้ เพื่อให้สีเสมอ และต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ดังนั้น ต้องระวังอาหารที่มีลักษณะผิวมัน ๆเรียบ ๆ สวย ๆ ซึ่งผู้ป่วยที่แพ้สารนี้ จะมีอาการหอบ และช็อคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น และสารนี้จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการของหืดแย่ลง
องค์การอาหาร และยา ไม่อนุญาตให้ใช้ซัลไฟท์ ในการเคลือบผักสด ผลไม้ (ยกเว้นมันฝรั่ง) และอาหารที่เคลือบด้วยสารประกอบซัลไฟท์ จะต้องมีแสดงให้เห็นในฉลากบรรจุอาหารเสมอ ดังนั้นเวลาเลือกอาหาร ต้องดูฉลากด้วยว่า มีส่วนผสมที่จะทำให้แพ้ หรือกระตุ้นโรคหืดให้มีอาการแย่ลงหรือไม่
ผงชูรสโมโนโซเดียมกลูตาเมท
มีรายงานว่าทำให้คนจำนวนไม่น้อย ที่มีอาการผิดปกติหลังรับประทานผงชูรส ดังนั้นอาหารที่มีผงชูรสเป็นส่วนผสม จำเป็นจะต้องมีฉลากเพื่อบอกว่ามีผงชูรสเป็นส่วนผสมอยู่ โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จต่าง ๆ เช่น มะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนน้ำตาลเทียมมีบางคนกล่าวว่าแพ้น้ำตาลเทียม แต่ในการศึกษาจริง ๆ ไม่มีผลต่อปฏิกิริยาแพ้อย่างชัดเจน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิจัยเผย คนท้องอ้วน ลูกเสี่ยงเป็นภูมิแพ้! ปัญหาของแม่ท้องที่อ้วนเกินพิกัด!
ภาวะแพ้อาหารกับโรคหอบหืด
ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอุบัติการณ์ของภาวะแพ้อาหารประมาณ 52 % เมื่อเทียบกับปกติ คือโดยทั่วไปจะพบได้ 27 % ผู้ป่วยโรคหืดที่แพ้อาหาร จะมีอาการหอบเฉียบพลันสูงถึงประมาณ 10 % และมีอาการช็อค อะนาฟัยแลกซิสสูงถึง 5 % ที่สำคัญไม่มีใครบอกได้ว่า ใครรับประทานอะไรแล้วจะแพ้ในลักษณะเช่นนี้
ผู้ป่วยโรคหืด ที่มีระดับของปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่ออาหารชนิด IgE สูง จะมีแนวโน้มที่ต้องใช้ยาพ่น เพื่อขยายหลอดลมเป็นประจำ ผู้ป่วยหืดที่แพ้อาหาร จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ได้มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคหืด
ดังนั้นผู้ป่วยโรคหืด ที่มีภาวะแพ้อาหารจึงควรพกยาติดตัวเสมอ อันดับแรกคือ ยาขยายหลอดลมที่กันอยู่ประจำ และยาช่วยชีวิต เช่น Epinephrine ซึ่งเป็นยาช่วยชีวิตสำหรับคนที่มีปฏิกิริยาแพ้รุนแรง และจำเป็นต้องมียานี้ติดตัวเป็นเข็มพร้อมยาสำหรับฉีดตัวเอง
การแพ้อาหาร
คือการที่มีปฏิกิริยาต่ออาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร โดยผ่านปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกาย คล้ายกับโรคหอบหืด อาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ไม่ใช่ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน หรือเกลือแร่ เมื่ออาหารไปกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ IgE และ mast cells ตามลำดับ เซลล์พวกนี้ จะถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสาร ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น เมื่อมีการกระตุ้นซ้ำ เซลล์ตัวนี้จะแตกตัวง่ายมาก และเกิดสารพวกนี้อย่างรุนแรง
จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ จะมีอาการแพ้อาหาร แต่ทั้งนี้ก็พบเพียงไม่ถึง 2 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่สามารถพบในเด็กได้ถึง 5 % ในเด็กเล็กส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาต่อนม ถั่วลิสง ถั่วอื่น ๆ และข้าวสาลี สำหรับวัยรุ่น และผู้ใหญ่มักจะแพ้ ถั่วลิสง ปลา หอยสองฝา และถั่วอื่น ๆ
เมื่อสงสัยว่าแพ้อาหาร อาจจะพิสูจน์ได้ง่าย ๆ โดยการหยุดรับประทานอาหารที่สงสัยสักหนึ่ง หรือสองอย่าง แล้วดูว่ายังแพ้อยู่ หรือไม่ สงสัยชนิดไหน ก็หยุดชนิดนั้น และหากรับประทานอาหารชนิดนั้นแล้วแพ้อีก ก็แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น แต่การพิสูจน์ไม่ควรกินอาหารที่คิดว่าแพ้ เพราะอาจจะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อทดสอบให้แน่ใจ
อีกสิ่งหนึ่งที่แพ้คือยาง ซึ่งยางพวกนี้จะพบได้ในผลไม้ โดยเฉพาะกล้วย อะโวคาโด กีวี ลูกเกาลัด สำหรับผลกีวีนั้น มีรายงานเรื่องของการแพ้บ่อยขึ้น เพราะปัจจุบัน เป็นอาหารที่อยู่ในหลายเมนูของคนไทย
การแพ้อาหารสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 – 3 นาที หลังรับประทานอาหารจนถึง 2 – 3 ชั่วโมง แต่คนที่ไวมาก ๆ เพียงได้กลิ่น หรือสัมผัสอาหารที่แพ้ ก็สามารถแสดงปฏิกิริยาได้ โดยการแพ้อาหาร จะผันแปรได้มากในแต่ละบุคคล และในคนคนเดียวกันจะมีปฏิกิริยาการแพ้อาหารชนิดเดียวกันในแต่ละครั้งแตกต่างกันไป และความรุนแรงของการแพ้ก็ไม่เท่ากัน
อาการแพ้อาหาร อาการแพ้จะพบได้ที่ผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ที่ผิวหนัง จะมีอาการบวมบริเวณริมฝีปาก หนังตา ลิ้น ใบหน้า ผลต่อทางเดินอาหารนั้น จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ส่วนผลต่อทางเดินหายใจ จะมีอาการจาม ไอเรื้อรัง เยื่อบุจมูกบวม หายใจลำบาก และหอบส่วนปฏิกิริยาแพ้รุนแรง ชนิดอนาฟัยแลกซิส บางครั้งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คนท้องกับเทียนหอม แม่ท้องต้องระวัง เทียนหอมมีผลต่อร่างกายแม่และลูก!
หลักในการวินิจฉัยโรค
เมื่อหยุดอาหารที่สงสัยแล้วไม่มีอาการ แต่เมื่อลองใหม่แล้วเกิดอาการซ้ำ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการตรวจเลือดหาระดับปฏิกิริยานั้น ๆ RAST TEST ถ้าใครแพ้อาหารประเภทไหน ต้องเลี่ยงอาหารนั้นไปประมาณ 1 – 2 ปี แต่อาหารบางรายการอาจจะแพ้ตลอดชีวิต จึงเน้นการหลีกเลี่ยงสารอาหารนั้น
วิธีการดูแลรักษา
ต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ต้องชี้แจงโอกาสที่จะเกิดอาการ และวิธีการรักษาที่เจาะจง ที่สำคัญที่สุดต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ รวมทั้งผู้ป่วยต้องอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารด้วย เพราะปัจจุบันนี้ มีอาหารสำเร็จรูปค่อนข้างมากเมื่อ แปรรูปไปแล้วทำให้เราไม่ทราบว่า มีส่วนประกอบที่เราแพ้รวมอยู่ด้วยหรือไม่
อาหารต้านหอบหืด
เป็นอาหารที่ถูกกล่าวอ้างบ่อย ๆ ว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันโรคหืด – หอบ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี และบีต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนั้น อาหารเสริมที่มี ธาตุซิลีเนียม แมงกานิส ทองแดง สังกะสี ผลการศึกษาพบว่าไม่ช่วยในการรักษาโรคหืด แต่ในเด็กอาจจะลดปฏิกิริยาภูมิแพ้
สำหรับอาหารที่มีสาร Flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง พบมากใน ชา แอปเปิล หัวหอม ไวน์แดง พบว่าไม่มีผลต่อการลดอาการของโรคหอบหืด นอกจากจะรับประทานแอปเปิลทุกวัน วันละ 2-5 ผลอาจจะช่วยลดความเสียงต่อการเกิดโรคหืด
ผู้ที่รับประทานอาหารไขมันอิ่มตัวสูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคหืดสูงกว่าผู้ที่รับประทานไขมันไม่อิ่มตัว
ที่มา : bumrungrad , siamhealth , baby.kapook
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!