เมื่อมีลูก กว่าจะออกนอกบ้านได้ มันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดแหะ
- การไปห้างสรรพสินค้าพร้อมกับเจ้าตัวน้อยก็มีวัตถุประสงค์เพื่อออกไปซื้อของใช้จำเป็นเท่านั้นแหละ
- หรืออย่างน้อยก็พากันออกไปเพื่อฟื้นคืนสภาพจิตใจ เปลี่ยนบรรยากาศให้ทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยกันบ้าง
- เตรียมตัวให้ดีสำหรับการให้นมลูกในที่สาธารณะที่คุณอาจจำเป็นต้องเตรียมเสื้อคลุมให้นมหรือการแหวะของลูกที่พร้อมจะออกมาได้เสมอ
- แน่นอนว่าหลังคลอดคุณอาจจะใส่ชุดคลุมท้องใส่ออกนอกบ้านได้ แค่ลองพยายามทำให้มันเป็นแฟชั่น
- แต่งตัวลูกน้อยด้วยชุดที่น่ารัก ๆ สมัยนี้มีชุดเด็กน่ารัก ๆ ราคาไม่แพงให้คุณแม่เลือกมากมายเชียวล่ะ
- พาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้านถ่ายรูปลูกเอาไว้ แม้ว่าจะมีรูปลูกภายในบ้านเพียงแค่ล้านกว่ารูปแล้วก็ตาม
- ทารกน้อยนั้นสามารถนอนหลับพอ ๆ กับการตื่นได้ทุกที่ในระหว่างที่คุณอยู่นอกบ้าน
- เตรียมของเล่นใส่ไว้ในกระเป๋า ในยามจำเป็นหากลูกน้อยเกิดงอแงขึ้นมาเมื่ออยู่นอกบ้าน หรือไม่ก็ลองจั๊กจี้เบา ๆ ที่เท้าของลูก เป่าลมใส่หน้าเค้า เอาทิชชู่เปียกไปวางไว้บนท้อง
- ภูมิใจได้เลยว่า ตอนนี้คุณกลายเป็นคุณแม่เต็มตัวที่ไม่ได้สะพายกระเป๋าของตัวเองแล้ว ยังแถมกระเป๋าผ้าอ้อมลูกอีกใบ
- การได้ออกนอกบ้านไปในยามที่คุณรู้สึกจิตตก เบื่อหน่าย หรือซึมเศร้า จะช่วยชีวิตจิตใจคุณแม่ให้กลับสดใสได้อีกครั้ง
การพาลูกอ่อนออกนอกบ้าน ไปพร้อมกับคุณแม่ไม่ใช่เรื่องยากนะคะ ช่วงเวลาอายุน้อยที่สุดที่พาลูกออกนอกบ้านได้ คือประมาณ 4-6 เดือนขึ้นไป เพราะลูกเริ่มมีความพร้อมทางร่างกายและอารมณ์ ที่พอจะรู้เรื่อง และผ่านการได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว คุณแม่สามารถเลือกสถานที่ที่เหมาะสมกับลูกเพื่อพาเจ้าตัวน้อยและตัวคุณเองได้เปลี่ยนบรรยากาศหลังจากที่เลี้ยงลูกอยู่บ้านมานาน แต่ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือมีคนมาก เตรียมสิ่งของเครื่องใช้ของลูกน้อยให้พร้อม วางแผนให้ดีถ้าหากจะเดินทางไกล เพียงเท่านี้ก็เที่ยวกันได้แบบไร้กังวลแล้วค่ะ
ไขข้อข้อใจ พาลูกออกนอกบ้านตอนกี่เดือน
พาลูกออกนอกบ้านตอนกี่เดือน คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ต่อการดูแลทารกแรกเกิดที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เพราะช่วงแรกเกิดของทารกเป็นช่วงที่ร่างกาย อวัยวะของลูกยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้อาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพาลูกออกจากบ้านในวัยที่อายุต่ำกว่าหนึ่งเดือน ไปในสถานที่ที่มีคนมาก จะมีโอกาสทำให้เด็กอ่อนติดเชื้อได้ง่าย
ภูมิคุ้มกัน รักจากแม่สู่ลูก
ในช่วงที่ลูกยังอยู่ในครรภ์จะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ทางสายสะดือ ซึ่งภูมิคุ้มกันจากส่วนนี้ที่ได้รับจากแม่เมื่อแรกคลอดทารกจะมีเกือบสูงเท่าของผู้ใหญ่ แต่จะค่อย ๆ ลดลงภายในสองถึงสามเดือนเพราะทารกไม่ได้เชื่อมต่อกับแม่ทางสายสะดือแล้ว โดยลูกจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันของตนเองเสริมและรับผ่านจากทางน้ำนมแม่ ดังนั้นสำหรับทารกในช่วงสามเดือนแรกจึงเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันต่ำสุด และไม่ควรพาลูกออกนอกบ้านในระยะนี้
เตรียมพร้อมก่อนพาลูกออกจากบ้าน
แต่ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบัน และการดำเนินชีวิตของหลายครอบครัวที่การเลี้ยงลูกอาจไม่มีตัวช่วยมากนัก ไม่สามารถฝากใครดูแลลูกได้ การออกไปจับจ่ายซื้อของหรือการเดินทางจึงจำเป็นต้องพาทารกออกจากบ้านไปพร้อมกัน ซึ่งนั้นก็คือสิ่งที่พ่อแม่ควรเตรียมให้พร้อมหากมีความจำเป็นเมื่อจะพาลูกอ่อนออกนอกบ้าน อาทิ
- เลือกเวลาเดินทาง ควรพิจารณาการเดินทางในเวลาที่เหมาะสม เช่น อาจเลือกเวลาใกล้ ๆ กับเวลานอนของลูกในระหว่างเดินทาง เพื่อให้ลูกได้มีเวลาพักผ่อนได้มากที่สุด เพราะทารกวัยแรกเกิดยังไม่สามารถรับรู้อะไรนอกจากการนอนเป็นสำคัญ
- อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย เช่น ของใช้จำเป็นสำหรับลูก คาร์ซีท รถเข็น ของเล่นเด็ก ยาของลูก ฯลณ จัดเตรียมให้พร้อม
- ความเอาใจใส่ลูกน้อย เพราะร่างกายของเด็กเล็กยังไม่สามารถปรับตัวได้ดี ลูกอาจจะมีงอแงหงุดหงิด อันเกิดจากความไม่สบายตัว หรือหิว คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อย หรือคอยดูชั่วโมงการให้นมและการนอนของลูกให้เป็นอย่างดี
- การเลือกสถานที่เดินทางต้องคำนึงถึงลูก หากจำเป็นต้องพาลูกเล็กเดินทางไกลหรือไปพักผ่อน การเลือกที่พักโดยมีลูกน้อยไปด้วยควรเป็นโรงแรม หรือห้องพักที่ปลอดภัยพอสำหรับเด็กเล็ก เป็นต้น
เมื่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้าน
อย่างไรก็ตาม ช่วงอายุน้อยที่สุดที่พาลูกออกนอกบ้านได้ คือประมาณ 4-6 เดือนขึ้นไป เพราะลูกเริ่มมีความพร้อมทางร่างกายและอารมณ์ ที่พอจะรู้เรื่อง และผ่านการได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันมาบ้างแล้ว เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องพาทารกออกนอกบ้าน ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือมีคนมาก และควรให้ลูกอ่อนใช้เวลานอกบ้านให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ดีกว่านะคะ
เรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษก็คือการจัดสรรเวลาในการดูแลลูกน้อย ให้ได้รับความรักและความอบอุ่นเสมอ ไม่ว่างานรัดตัวขนาดไหน ครอบครัวก็ยังอบอุ่นได้ตลอดเวลา ด้วยการดูแลลูกรักเป็นอย่างดีด้วยมือของเราเอง ไม่ใช่มือของยาย หรือมือของพี่เลี้ยงเด็ก
มาดูกันว่าคุณแม่คนทำงานทั้งหลายมีวิธีแบ่งเวลาให้กับลูกน้อยกันอย่างไรบ้าง เผื่อคุณแม่มือใหม่จะนำกลับไปใช้ประโยชน์บ้าง
1. การสื่อสารภายในครอบครัวอย่าให้ขาด แม้ต้องออกไปทำงานแต่เช้า และกลับค่ำทุกวัน ก็สามารถบอกรักลูกได้ทุกวัน ก่อนออกจากบ้าน และก่อนเข้านอน เป็นอย่างน้อย เพื่อสร้างสายใยความรู้สึกดี ๆ ให้แก่กันเสมอ รวมทั้งหาเวลาพูดคุยและเล่นกับลูกๆ เป็นประจำวันทุกวัน ถามว่าวันนี้ลูกเป็นยังไง เจออะไรมาบ้าง เล่าให้แม่ฟังหน่อยซิจ๊ะ ในทางกลับกันคุณแม่ก็แบ่งปันเรื่องราวประจำวันที่พบเจอมาแต่ละวันให้ลูกได้ฟังด้วย ปิดท้ายด้วยการพาลูกเข้านอน และเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกฟังเป็นประจำ
2. สัมผัสไออุ่นแห่งรักจากแม่ คำพูดและสัมผัสที่อ่อนโยนจากแม่ ไม่ว่าจะเป็นการกอด หรือหอมแก้มลูกเป็นประจำ ทำให้ลูกน้อยเกิดความรู้สึกมั่นคง และความรู้สึกไว้วางใจ แม้ในเวลากลางวันเขาจะต้องอยู่กับคนอื่น แต่เขาจะมั่นใจได้ว่า ในตอนเย็นแม่จะกลับมากอดเขา หอมเขา และบอกรักเขาอีกครั้ง ทำให้เขาไม่กลัวที่จะแยกจากแม่ เพราะรู้ว่าเขาเป็นที่รักของแม่เสมอ
3. สร้างปฏิทินกิจกรรมภายในครอบครัว ควรหาปฏิทินใหญ่ ๆ ใช้สำหรับจัดสรรเวลาให้เหมาะสม ปฏิทินนี้จะเป็นเหมือนการทำสัญญาร่วมกันภายในครอบครัว ซึ่งคุณแม่จะบันทึกการนัดหมายกับครอบครัวไว้เสมอ เมื่อไรที่คุณแม่มีนัด หรือมีธุระเรื่องงานตรงกับวันที่กำหนดไว้สำหรับครอบครัว คุณจะได้ไม่พลาดรับนัดซ้อน และสามารถหาวิธีสับหลีกได้อย่างเหมาะสม รวมถึงคุณแม่จะสามารถเห็นได้ว่า ช่วงนี้ให้เวลากับงานมากเกินไป ให้เวลากับครอบครัวน้อยเกินไป จะต้องหาทางปรับเปลี่ยนให้สมดุลกัน
4. อาทิตย์ละครั้งสังสรรค์ภายในครอบครัว มีกิจกรรมมากมายที่คุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกน้อยได้ในวันหยุด ซึ่งเป็นวันที่คุณแม่จะให้เวลากับครอบครัวอย่างเต็มที่ โดยไม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน บางอาทิตย์อาจทำกิจกรรมในบ้าน เข้าครัว ปลูกต้นไม้ จัดสวน ช่วยกันล้างรถ เล่นเกมด้วยกัน หรือคุณอาจพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ไปพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ เที่ยวต่างจังหวัด เข้าวัดทำบุญ ทานข้าวนอกบ้าน เป็นต้น
5. สอนลูกเรียนรู้ ให้เวลากับการสอนการบ้านลูก เพราะช่วงเวลานี้ลูกย่อมเกิดความไม่มั่นใจหากทำการบ้านไม่ได้ และต้องการที่ปรึกษา คุณแม่ควรจะอยู่เคียงข้างและเป็นที่พึ่งของเขา ไม่ใช่ช่วยทำการบ้านให้ลูก แต่คอยแนะนำแนวทางแก้ปัญหาให้แก่ลูก ในขณะเดียวกันก็คอยสังเกตพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของลูกจากการกิจกรรมร่วมกัน พร้อมสอดแทรกความรู้ แนะนำการใช้ชีวิต และฝึกให้ลูกสามารถอช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดในทุกเรื่อง
6. รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับลูก การผิดคำสัญญากับลูกเป็นการทำร้านจิตใจน้อย ๆ ที่เปราะบางของลูกอย่างไม่น่าให้อภัย ทำให้ลูกคิดว่าคุณมีอย่างอื่นที่สำคัญกว่าเขา เขาไม่มีค่าสำหรับคุณ ดังนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ควรรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับลูกเสมอ เพื่อให้ลูกสามารถไว้วางใจและเชื่อใจพ่อแม่ได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่คุณแม่เริ่มผิดคำสัญญาบ่อยครั้ง สัญญาณของความเหินห่างเริ่มชัดเจน เมื่อนั้นมีอะไรลูกก็จะไม่นึกถึงคุณแม่เป็นคนแรก และไม่ไว้ใจที่จะปรึกษาพูดคุยกับคุณแม่ในทุก ๆ เรื่องเหมือนเคย
7. ไปโรงเรียนของลูกเป็นประจำ หากคุณแม่สามารถไปรับหรือไปส่งลูกที่โรงเรียนได้ทุกวันจะเป็นการดีมาก การที่คุณแม่รู้จักกับเพื่อน ๆ ของลูกเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของลูกที่มีคุณแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด แต่หากไม่สามารถไปรับไปส่งลูกได้ อย่างน้อยควรหาเวลาไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับลูกที่โรงเรียนด้วย เช่น งานวันแม่ งานวันปิดภาคเรียน หรือแม้แต่วันประกาศผลสอบของลูก
คุณแม่สาวทำงานคงพอได้ไอเดียแบ่งเวลา เติมเต็มความรักให้แก่ลูกน้อยกันแล้ว และหากคุณแม่มีลูกหลายคน ควรแบ่งเวลาให้กับลูกทุก ๆ คนได้รับความเอาใจใส่เท่า ๆ กันด้วย
credit content : www.babble.com
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
เลี้ยงลูกขวบปีแรกจะผ่านไปอย่างเร็ว 6 สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อน ลูกอายุ 1 ขวบ
10 เรื่องที่แม่ลูกอ่อนควรเตรียมก่อนพาทารกออกนอกบ้านเที่ยวแบบไร้กังวล
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!