X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รีบเช็ก! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด!!

บทความ 3 นาที
รีบเช็ก! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด!!

ภาวะสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด ซึ่งก่อให้เกิดความบกพร่องในพัฒนาการด้านภาษาและการพูดจะล่าช้ากว่าเด็กปกติเป็นอย่างมาก

รายงานการเกิดภาวะ สูญเสียการได้ยิน ของทารกที่เกิดใหม่ต่อปีในประเทศไทย พบที่อัตรา 1.7 รายต่อ 1,000 ราย ซึ่งในเด็กที่มีประสาทหูพิการทั้งสองข้างระดับรุนแรงตั้งแต่แรกเกิด เมื่อโตขึ้นจะเป็นใบ้ ทำให้ด้อยโอกาสในส่วนต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา สังคม และการประกอบอาชีพ กลายเป็นปัญหาครอบครัวที่ต้องร่วมช่วยกันดูแล

มีหลักฐานในต่างประเทศพบว่า หากสามารถวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดภายในระยะแรกก่อนอายุ 3 เดือน และทำการรักษาฟื้นฟูก่อนอายุ 6 เดือน ก็จะทำให้สมรรถภาพในด้านการฟังและการพูดมีการพัฒนาได้ใกล้เคียงเด็กปกติได้

สูญเสียการได้ยิน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ทารก สูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบ

  • พ่อแม่หรือคนในครอบครัวใกล้ชิด เป็นโรคประสาทหูพิการ เป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิดหรือในวัยเด็กเล็ก
  • ทารกติดเชื้อในครรภ์ หรือแม่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  • ในขณะตั้งครรภ์ได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อทารกในครรภ์ หรือขณะคลอด
  • ทารกมีความผิดปกติของรูปใบหน้า ศีรษะ รวมทั้งความผิดปกติของรูปร่างใบหู และช่องหู
  • ทารกมีการเจ็บป่วย หรือภาวะที่ต้องการให้ดูแลในหอบริบาลวิกฤตนาน 48 ชั่วโมงหรือมากกว่า
  • มีลักษณะเฉพาะหรืออาการที่แสดงเกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูชั้นในเสีย หรือทางนำเสียงเสีย
  • ทารกมีอาการตัวเหลือง เนื่องจากสารบิลิรูบินในเลือดสูงจนต้องถ่ายเลือด
  • ตรวจพบการติดเชื้อของทารกหลังคลอด ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสูญเสียการได้ยิน รวมทั้งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหูน้ำหนวกชนิดน้ำใสที่เกิดซ้ำ หรือปล่อยให้เป็นเรื้อรังนานอย่างน้อย 3 เดือน

พัฒนาการทางด้านการได้ยิน ภาษา และการพูดของเด็กปกติ 2 ขวบแรกต้องเป็นแบบนี้ >>
เช็กพัฒนาการทางด้านการได้ยิน ภาษา และการพูดของเด็กปกติ 2 ขวบแรก

สูญเสียการได้ยิน

ระยะแรกเกิดถึง 3 เดือน

  • ทารกจะลืมตาตื่น กะพริบตา หรือสะดุ้งคล้ายตกใจ เมื่อได้ยินเสียงดัง เช่น เสียงแตรรถ หมาเห่า ฯลฯ
  • ทำท่าคล้ายหยุดฟัง เมื่อพ่อแม่อุ้มหรือก้มลงพูดคุยใกล้ ๆ

ระยะ 3-6 เดือน

  • ทารกจะสามารถหันศีรษะไปทางข้างที่มาของเสียง แม้จะเป็นเสียงค่อนข้างเบาได้ เช่น เสียงของเล่น
  • ลูกจะออกเสียงคล้ายพยัญชนะ และสระรวมกัน เช่น “กา-กา” “บา-บา” ซ้ำ ๆ

ระยะ 6-9 เดือน

  • ทารกจะหันศีรษะไปมาเพื่อหาเสียงเรียกชื่อ
  • จะออกเสียงติดต่อกันยาว ๆ ได้ 4-6 พยางค์ เช่น “ลา-ลา-ลา-ลา” “บาคาบาคา”
  • ลูกจะสนใจฟังและเลียนเสียงต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงหมาเห่า เสียงจิ้งจก ตุ๊กแก

ระยะ 9-12 เดือน

  • ทารกจะก้มศีรษะมองไปยังเสียงที่เกิดข้างตัว ที่อยู่ต่ำกว่าระดับหูได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถแสดงท่าทางทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง เช่น บ๊ายบาย สวัสดี ขอ
  • เริ่มออกเสียงพูดเป็นคำ เช่น “แม่ หม่ำ ไป” เป็นต้น

ระยะ 12-16 เดือน

  • ลูกจะหันหาเสียงได้ถูกต้องทุกทิศทาง มองหาสิ่งของ หรือคนที่คุ้นเคยได้ถูกต้อง
  • พูดเป็นคำ ๆ ได้อย่างน้อย 10-15 คำ เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ จากที่เห็น เช่น “หมา แมว” หรือ บอกความต้องการ เช่น “เอา ไป” ได้

ระยะ 18-24 เดือน

  • ลูกสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 2 อย่าง ชี้สิ่งของที่คุ้นเคยได้ เมื่อพ่อแม่เรียกชื่อของสิ่งนั้น
  • พูดได้ประมาณ 40-100 คำ และเริ่มพูดเป็นวลีสั้น ๆ ได้แล้ว เช่น “เอามา”

สูญเสียการได้ยิน

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกน้อยมีภาวะสูญเสียการได้ยิน ได้จากการพูดหรือมีพัฒนาการล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เกิดความบกพร่องทางด้านภาษา หากสงสัยหรือพบความผิดปกติทางการได้ยินในทารกหรือเด็กเล็ก ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อเริ่มต้นวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ


ข้อมูลจาก : ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่จ๋า! อย่าแคะหูลูก เพราะขี้หูมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

บทความจากพันธมิตร
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
51Talk แพลตฟอร์มเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ สำหรับเด็กอายุ 3-15 ปี ถือฤกษ์ดีประกาศเปิดสำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อเดินหน้าพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
แชร์กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ตัวช่วยดี ๆ เพิ่มสมาธิให้ลูกรักมากขึ้น!
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • รีบเช็ก! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด!!
แชร์ :
  • ลูกจะได้ยินที่แม่พูดหรือเปล่า 10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด

    ลูกจะได้ยินที่แม่พูดหรือเปล่า 10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกจะได้ยินที่แม่พูดหรือเปล่า 10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด

    ลูกจะได้ยินที่แม่พูดหรือเปล่า 10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว