เพราะสงครามการเมืองอเล็ปโปของซีเรียที่ยืดเยื้อมานาน ทำให้แพทย์ต้องทำงานกันด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสูตินารีแพทย์อย่าง แพทย์หญิงฟารีดา ที่เธอต้องทำหน้าที่ผ่าคลอดทารกกลางสนามรบ!
แพทย์หญิงฟารีดา เล่าว่า ทารกที่เกิดมาในเมืองนี้ เป็นทารกที่น่าสงสาร ที่ต้องเกิดมาท่ามกล่างสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดในโลก เมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องมีชีวิตที่ย่ำแย่ ถูกทำร้ายด้วยระเบิดถังน้ำมัน จรวด และการโจมตีทางอากาศ
เด็ก ๆ แทบไม่มีโอกาสที่จะมีชิวิตในวัยเด็กที่สดใสได้เลย หนำซ้ำยังต้องมีข่าวเด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งในขณะที่แพทย์หญิง ได้เล่าเรื่องราวของสงครามการเมืองนี้ผ่านคลิปวิดีโอที่เธอตั้งใจทำขึ้นเอง เพื่อให้โลกได้เห็นถึงความน่าสลดหดหู่ของสงครามการเมือง ไฟก็ดับขึ้น! แต่นั่นไม่ได้ทำให้เธอหยุดการผ่าคลอดแต่อย่างใด เธอยังคงทำทุกอย่างไปได้ตามปกติ เสมือนเป็นสิ่งที่เธอต้องเผชิญทุกวัน และการผ่าตัดในครั้งนี้ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ไปชมคลิปการผ่าคลอดที่เธอได้จัดทำขึ้นในครั้งนี้กันเลยค่ะ
www.facebook.com/BBCThai/videos/1812242828996749/
ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี
1. หลังจากที่คุณหมอเปิดแผลผ่าคลอดแล้ว แผลสามารถถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ 7 วัน รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอด และป้องกันการติดเชื้อ
2. ไม่ยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากจนเกินไป และควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะอากาศร้อนจะทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการอับชื้นได้ค่ะ
3. การขยับตัวมากๆ จะไม่ส่งผลกระทบกับแผลหากการขยับนั้นไม่ทำให้แผลมีการยืดขยาย สังเกตง่าย ๆ คือ ขยับตัวได้เท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ หากเจ็บหรือรู้สึกตึง ๆ แสดงว่า แผลมีการยืดขยายออกแล้ว
4. การทาครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินอี ก็ สามารถช่วยลดการเกิดแผลเป็นได้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ให้นมลูกอยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่าครีมที่ทาจะส่งผล ต่อน้ำนม เพราะการทายาเป็นเพียงการใช้ยาภายนอก และเฉพาะที่ ไม่เหมือนการกินที่ตัวยาจะแทรกซึมไปทั่วร่างกาย
5. ในช่วง 3 เดือนแรก : ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นคีลอยด์ คือ มีลักษณะหนา นูน สามารถป้องกันได้โดยไม่ยกของหนัก หรือยืดเหยียดแผลมากจนแผลตึงเกินไป การยืดเหยียดจนแผลตึงทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะหลุด จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนาๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด
ที่มา: BBC Thai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!