X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีดูแลสุขภาพช่องปากลูกวัยเตาะแตะแบบ step by step

26 Jun, 2016
วิธีดูแลสุขภาพช่องปากลูกวัยเตาะแตะแบบ step by step

วิธีดูแลสุขภาพช่องปากลูกวัยเตาะแตะแบบ step by step

การเริ่มฝึกให้ลูกรักวัยเตาะแตะดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็ก ๆ จะเป็นการส่งผลต่อสุขภาพภายในช่องปากให้ดีได้ในระยะยาว วิธีที่พ่อแม่สามารถปกป้องและดูแลสุขภาพช่องปากของลูกวัยเตาะแตะทำได้ด้วยขั้นตอนนี้
Step 1 หลีกเลี่ยงฟันผุจากขวดนม

Step 1 หลีกเลี่ยงฟันผุจากขวดนม

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุในเด็กเล็กอย่างมากมายและรุนแรงที่พบบ่อยที่สุดนั่นก็คือ “การผุจากขวดนม” หากคุณแม่ปล่อยให้ลูกน้อยนอนหลับในขณะที่มีขวดนมอยู่ในปากตลอดทั้งคืน จะส่งผลทำให้ฟันของลูกสัมผัสกับน้ำนมซึ่งเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ทำให้แบคทีเรียทำปฏิกิริยากับน้ำตาลและเกิดการละลายของสารเคลือบฟันของเด็ก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ ทำไมกุมารแพทย์และทันตแพทย์หลาย ๆ คนแนะนำให้พ่อแม่นั้นใหย่าจากขวดนมลูกเมื่ออายุ 1 ปี และหันไปใช้การดื่มจากขวดหรือแก้วหัดดื่มแทน
Step 2 ฝึกให้ลูกน้อยมีนิสัยรักการแปรงฟัน

Step 2 ฝึกให้ลูกน้อยมีนิสัยรักการแปรงฟัน

เพื่อการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ดี วิธีที่ดีที่สุดคือการเริ่มต้นฝึกให้ลูกรู้จักแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันที่เหมาะสมกับวัย ในขณะที่คุณแม่รู้ว่าลูกน้อยยังไม่มีความชำนาญมากพอที่จะแปรงฟันด้วยตัวเองได้ดี หรือปฏิเสธการแปรงฟัน ลองให้ลูกได้แปรงฟันด้วยตัวเองก่อน 1 ครั้ง และค่อยมาแปรงฟันซ้ำให้ลูกอีกครั้ง

Read : วิธีทำให้ลูกแปรงฟัน
Step 3 ใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม

Step 3 ใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม

อย่ามองข้ามกับเรื่องเล็กอย่าง แปรงสีฟันของลูก เพราะมันมีจะมีผลต่อความชอบหรืออยากแปรงฟันของลูกแน่ ๆ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แปรงสีฟันสำหรับเด็กอยู่มากมายในท้องตลาด ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อก็คือ ขนาด, ความเหมาะมือ, และขนาดของหัวแปรงที่เล็กและสามารถเข้าทำความสะอาดถึงพื้นผิวของฟันของเด็ก ๆ ได้อย่างทั่วถึง
Step 4 ใช้ยาสีฟันที่เหมาะสม

Step 4 ใช้ยาสีฟันที่เหมาะสม

สำหรับเด็กเล็ก ขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กที่ปราศจากฟลูออไรด์ เมื่อลูกเริ่มรู้จักการแปรงฟันและไม่กลืนยาสีฟันแล้ว ค่อยเริ่มใช้ยาสีฟันสูตรสำหรับเด็กที่มีฟลูออไรด์น้อย ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันฝันผุได้ดีกว่า สำหรับปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมกับลูกที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ ควรใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ppm บีบใช้เท่าเมล็ดถั่วเขียวแปรงให้ลูก จากนั้นล้างหรือเช็ดออก

Read : ลูกกินยาสีฟัน อันตรายหรือไม่
Step 5 กินอย่างถูกต้อง

Step 5 กินอย่างถูกต้อง

เด็กเล็ก ๆ ส่วนใหญ่มักจะชื่นชอบอาหารที่มีความหวานโดยธรรมชาติ ซึ่งทั้งนมและขนมก็จะมีน้ำตาลอยู่แล้ว โดยเฉพาะการใช้ของหวานเป็น “รางวัล” สำหรับเด็ก เพราะสิ่งที่ส่งผลก็คือ การบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มาก จะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดฟันผุให้กับลูกได้ ดังนั้นควรพยายามที่จะให้ลูกตัวน้อยของคุณพ่อคุณแม่หลีกเลี่ยงการกินขนมจุกจิกที่นำมาซึ่งความหวาน และควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ทำความสะอาดฟันของลูกในกรณีที่ยังไม่สามารถแปรงฟันได้หลังจากกินนมหรือกินอาหารอื่น ๆ เสร็จแล้ว
Step 6 ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

Step 6 ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

จริง ๆ แล้วลูกตัวเล็กของพวกเราสามารถที่จะโน้มน้าวจิตใจหรือฝึกเขาได้ง่าย ด้วยการที่พ่อแม่ทำให้ลูก ๆได้เห็นตัวอย่างจากการแปรงฟันและดูแลรักษาอนามัยในช่องปาก เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะฟันไม่ผุ หากกว่าพวกเขาได้แปรงฟันร่วมกันพ่อแม่เป็นประจำทุก ๆ วัน
Step 7 การใช้จุกนมหลอก

Step 7 การใช้จุกนมหลอก

การใช้จุกนมหลอกเป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นสามารถที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในช่องปากของเด็กที่ไม่อาจแก้ไขได้ ในระหว่างการดูดจุกนมอาจทำให้กรามเสียรูปและเป็นเหตุให้ฟันนั้นเสียตำแหน่งไป นอกจากนี้การให้ลูกใช้จุกนมหลอกนานเกินไปอาจทำให้หย่าจุกนมได้ยากในภายหลังด้วย

Read : จุกหลอก: ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้
Step 8 ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

Step 8 ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดี คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบหมอฟัน ประมาณ 6 เดือน หลังจากที่ลูกมีฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลทำความสะอาดฟัน และเมื่อฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ ก็หมั่นไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อให้ทันตแพทย์ทำความสะอาดช่องปาก เคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ และอาจเคลือบหลุมร่องฟันด้วยพลาสติกหรือรักษาอย่างอื่น การฝึกโดยการพาเด็กเล็กไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ลูกคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมภายในคลินิกทันตกรรมและทำให้เด็กรู้สึกสนุกในการไปทำฟันแทนที่จะรู้สึกกลัว ซึ่งการป้องกันไว้ก่อนนั้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการต้องมาคอยรักษาทีหลังนะคะ
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิธีดูแลสุขภาพช่องปากลูกวัยเตาะแตะแบบ step by step
แชร์ :
  • อาการแบบนี้เองที่บอกว่า "ฟันลูกกำลังจะขึ้น"

    อาการแบบนี้เองที่บอกว่า "ฟันลูกกำลังจะขึ้น"

  • การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

    การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อาการแบบนี้เองที่บอกว่า "ฟันลูกกำลังจะขึ้น"

    อาการแบบนี้เองที่บอกว่า "ฟันลูกกำลังจะขึ้น"

  • การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

    การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ