X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ผ่านช่องทางออนไลน์

4 Mar, 2021
วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ผ่านช่องทางออนไลน์

และแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้อง "ยื่นภาษี" อีกแล้ว เปิด วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ผ่านช่องทางออนไลน์ ของกรมสรรพากร ต้องทำอย่างไร? รัฐบาลขยายเวลาการยื่นภาษี ปี 2563

วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมสรรพากร ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เรามี วิธีการยื่นภาษีเงินได้ บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร มาแนะนำ และที่ว่ารัฐบาลใจดีขยายเวลาการยื่นภาษี ปี 2563 ออกไปนั้น ไปดูว่าวิธีการยื่นภาษีเงินได้ พร้อมทั้งรายละเอียดในการขยายเวลาในการยื่นภาษี วิธีการจะต้องทำอย่างไร และสิ้นสุดการยื่นในวันไหน ตามไปดูได้เลย 

ยื่นภาษีออนไลน์1

วิธีการยื่นภาษีออนไลน์1

การยื่นภาษี เป็นหน้าที่หลักของประชาชนคนไทยที่มีเงินได้ การยื่นภาษีประจำปีถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญ ของผู้มีเงินได้ ทุกคนต้องรู้ว่า เมื่อเริ่มต้นปีถัดไปในเดือนมกราคม – มีนาคม จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้มีเงินได้ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถยื่นด้วยตนเอง ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้เคียงที่พักอาศัย หรือจะยื่นผ่านระบบออนไลน์ บนเว็บไซต์ rdserver.rd.go.th ของกรมสรรพากร 

แต่เนื่องจากในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา เกิดการกลับมาระบาดอีกระลอกของเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบทุกฝ่าย รัฐบาลได้มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ม.ค.2564 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2563 ออกไปอีก 3 เดือน จากที่กำหนดเดิม คือจะสิ้นสุดวันสุดท้ายในวันที่  31 มี.ค. 2564 โดยเลื่อนออกไปอีก 3 เดือนไปเป็น 30 มิ.ย. 2564 

Advertisement

และขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีเงินได้ กรมสรรพากร ยังได้ขยายระยะเวลาวันสิ้นสุดชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่น ออกไปอีก 8 วัน จากเดิมที่จะสิ้นสุด 31 มีนาคม โดยเลื่อนไปเป็นวันที่ 8 เมษายน โดยการช่วยเหลือนี้ขยายออกไปถึง 3 ปี จนถึงวันที่  31 มกราคม 2567

แม้การยื่นภาษีสำหรับบางคน อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับ ผู้ยื่นภาษีมือใหม่ จะต้องมี งง ในกระบวนการยื่นแน่นอน ดังนั้นวันนี้เราจะพาไป ดูวิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดากัน

ตามกฎหมายแล้ว เงินได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า เงินได้พึงประเมิน หมายถึง รายได้ของบุคคลนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีก่อนหน้า โดยรายรับทั้งหมดได้ที่จะกล่าวนี้ได้รวมไปถึง 

  1. เงิน
  2. ทรัพย์สินที่สามารถแปลงเป็นเงินได้
  3. ประโยชน์อื่นๆ ที่อาจคำนวณได้เป็นเงิน (ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องได้รับจริง)
  4. เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้ และ 
  5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

 

ภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

เงินได้ประเภทที่ 1 รายรับที่ที่เกิดจากการจ้างแรงงาน เช่น 

    • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
    • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
    • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
    • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
    • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากการจ้างงาน เช่น มูลค่าของการรับประทานอาหา

เงินได้ประเภทที่ 2 คือ รายรับที่มาจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น

    • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
    • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
    • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินประจำปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายได้ อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล 

เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว 

เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ฯลฯ 

เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญที่นอกจากเครื่องมือ 

เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี

ใครบ้าง ที่จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรื่องนี้ยังมีหลาย ๆ คนเข้าใจผิด โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนมือใหม่ ที่อาจจะยังมีเงินเดือนไม่มาก หรือ มีเงินได้ ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ก็มักจะคิดว่า ตนเองไม่ต้องยื่นภาษี ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการยื่นภาษี คือ หน้าที่ของบุคคลซึ่งมีเงินได้เกิน 120,000 บาท/ปี จะต้องยื่นภาษีทุกคน

โดยผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม หรือไม่ก็ตาม ดังนี้

 

ต้องมีรายได้เท่าไร ถึงจะต้องเสียภาษี 

  1. บุคคลธรรมดา และผู้ถึงแก่ความตายมี “เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำ” โดยแบ่งตาม ประเภทเงินได้ และ สถานะ ดังนี้
    • เงินเดือนเพียงอย่างเดียว : โสด 120,000 บาท /  สมรส 220,000 บาท
    • เงินได้ประเภทอื่น  : โสด 60,000 บาท / สมรส 120,000 บาท
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท

 

เมื่อมีรายรับ บุคคลผู้นั้นจะถือว่าเป็นผู้เสียภาษี โดยหลัก ๆ แล้วจะต้องดำเนินการ 2 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ต้องขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น
    • ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษี โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
    • ผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น คนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง 
  2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง โดยปกติ จะยื่นในช่วงเดือน มกราคม ไปจนถึงวันที่  31 มีนาคม ของปีนั้น แต่ก็มีมีเงินได้บางประเภท ที่เป็นข้อยกเว้น และจะต้องนำไปยื่นในช่วงกลางปีด้วยประมาณ เดือนกันยายนของปีนั้น ๆ สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรก เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ ฯลฯ

 

ผู้เสียภาษีสามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทางคือ

  1. ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  2. ยื่นผ่านไปรษณีย์ โดยส่งไปที่กองบริการการคลัง และรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 และ
  3. ยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะัเป็นยทางเว็บไซต์ เว็บไซต์ของ rdserver.rd.go.th ของกรมสรรพากร หรือยื่นผ่าน Rd smart tax application ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

 

วิธีการยื่นภาษีออนไลน์

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์  

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rdserver.rd.go.th
  2. เลือกรายการบริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
  3. เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้วแต่กรณี
  4. สำหรับการเข้าสู่การใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการลงทะเบียนก่อน ซึ่งจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวผู้เสีนภาษีอากร วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ อีเมลที่ติดต่อได้ สร้างรหัสผ่าน 8 หลังด้วยตัวเอง เป็นต้น 
  5. เมื่อได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดง หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านบนหน้าจอ
  6. เข้าระบบโดยบันทึก หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่าน
  7. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ  แล้ว คลิก “ตกลง” เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
  8. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบคำนวณภาษีแล้ว ตรวจสอบ และยืนยันการยื่นแบบ
    • กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
      • โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
      • กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้
    • กรณีมีภาษีต้องชำระ
      • หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น
      • หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ระบบจะแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัส ควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่อไป เพื่อความสะดวกและถูกต้อง โปรดสั่งพิมพ์หรือจดข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย

แต่หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post ) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

*ยกเว้น ไปรษณีย์ สาขาโสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ไปรษณีย์ สาขาชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก

 

ที่มา : rdserver.rd.go.th , bangkokbiznews.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รู้ยัง!!! 5 สิทธิพิเศษ ลดหย่อนภาษีคู่สมรส สูงสุดถึง 120,000 บาท!

ช้อปดีมีคืน มาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดถึง 3 หมื่นบาท

ลดหย่อนภาษีลูกคนที่ 2 มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง คำนวณอย่างไร พร้อมตัวอย่าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ผ่านช่องทางออนไลน์
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว