X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิกฤตประเทศไทย!!! ทำไมคน Gen Y ไม่อยากมีลูก

24 Jan, 2017
วิกฤตประเทศไทย!!! ทำไมคน Gen Y ไม่อยากมีลูก

วิกฤตประเทศไทย!!! ทำไมคน Gen Y ไม่อยากมีลูก คือคำถามที่ต้องการคำตอบ ในด้านมหภาค สังคม ที่ทำงาน เเละด้านเฉพาะตัวบุคคล ที่เเน่ๆ คือ ปัจจัยที่กล่าวมาไม่เอื้ออำนวยนั่นเอง

วิกฤตประเทศไทย!!! ทำไมคน Gen Y ไม่อยากมีลูก

ขณะที่ทั่วโลกมีอัตราการเกิดที่น้อยลง จึงทำให้มีคำถามที่ถามว่า วิกฤตประเทศไทย!!! ทำไมคน Gen Y ไม่อยากมีลูก ? เเละวันนี้เราก็มีคำตอบจากงานวิจัย ซึ่งเผยเเพร่ใน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาเเล้วค่ะ

จากงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมการมีบุตรผ่านการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพ (2559) โดย ผศ.ดร.มนสิการ กาญจนะจิตรา และคณะ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ของ ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร และคณะ แห่งสถาบันวิจัยสังคมและประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยหลายประการที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจมีลูกของคนเจนวาย โดยชี้ว่าสาเหตุหลักที่คนเจนวายตัดสินใจมีลูกช้าและน้อยลงเพราะขาดสมดุลในการใช้ชีวิต (Balance of Life) ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อสมดุลในการใช้ชีวิตเพื่อสร้างครอบครัวและพร้อมสำหรับการมีลูก มีดังนี้

1. ปัจจัยมหภาค

งานศึกษาพบว่าบทบาทชายหญิงเป็นปัจจัยมหภาคสำคัญ โดยผู้หญิงถูกกำหนดบทบาทให้มีหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูก และทำงานบ้านมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายได้ถูกกำหนดบทบาทให้เลี้ยงครอบครัว ซึ่งส่งผลให้ผู้ชายคาดหวังต่อบทบาทของตนโดยเน้นทำกินเพื่อเลี้ยงครอบครัว ส่วนผู้หญิงก็คาดหวังว่าตนจะมีเวลามากพอที่เลี้ยงดูลูกและทำงานบ้านได้

ดังนั้น หากไม่สามารถจัดสรรเวลาว่างนอกเหนืออาชีพการงานของทั้งหญิงชายให้มากพอและใกล้เคียงกัน การคิดแต่งงานหรืออยากมีลูกก็จะลดลง ถึงแม้คนรุ่นใหม่จะคาดหวังให้ผู้ชายมีบทบาททำงานบ้านและเลี้ยงดูลูกมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะนโยบายยังไม่ตอบโจทย์ ปัจจุบันประเทศไทยพ่อมีสิทธิลาไปดูลูกหลังคลอดได้นานที่สุด 15 วัน โดยได้รับเงินเดือน งานศึกษาชี้ว่ายังน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะให้พ่อแบ่งเบาภาระแม่ในการเลี้ยงดูลูกได้

2. ปัจจัยด้านสังคม

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าค่านิยมของคนเจนวายแตกต่างจากคนรุ่นก่อน คนเจนวายมีค่านิยมที่อยากมีลูกเพื่อพึ่งพาในยามชราน้อยลง โดยหวังว่าจะพึ่งพาตัวเองมากกว่า พวกเขาหวังให้ลูกมีชีวิตอย่างอิสระ ดังนั้นการแต่งงานและการมีลูกจึงไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของชีวิต สำหรับผู้หญิง การมีลูกกระทบต่อการใช้เวลาเพื่อเป้าหมายอื่น ๆ ในชีวิตมากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ หากคิดจะมีลูก ด้วยแรงกดดันจากสังคมที่เน้นการแข่งขัน พวกเขาจะต้องเลี้ยงลูกให้มีความเป็นเลิศ ฉะนั้น พวกเขาจึงเลือกที่จะมีลูกน้อยโดยเน้นการเลี้ยงอย่างมีคุณภาพ

Advertisement

รูปแบบความสัมพันธ์ของครอบครัวคนเจนวายก็มีผลเช่นกัน หากไม่มั่นใจว่าพ่อแม่พร้อม หรือไม่ไว้ใจให้ช่วยดูแลลูก พวกเขาก็จะไม่ยอมมีลูกเร็วขึ้นสุดท้ายคือ อิทธิพลของเพื่อนหรือญาติสนิท เช่น หากเพื่อนส่วนมากยังไม่แต่งงาน หรือมีประสบการณ์ที่แต่งงานมีลูกและมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น คนเจนวายก็จะมีแนวโน้มแต่งงานหรืออยากมีลูกน้อยลง

3. ปัจจัยด้านที่ทำงาน

สำหรับคนเจนวายที่กำลังอยู่ในช่วงวัยทำงาน ปัจจัยด้านนี้มีอิทธิพลสูงสุดในการตัดสินใจสร้างครอบครัวและมีลูก งานของคนเจนวายรุ่นใหม่เรียกร้องให้ต้องทุ่มเทเวลาเพื่อประสบความสำเร็จ จึงให้ความสำคัญกับงานมากกว่าเรื่องอื่น นอกจากนี้ งานวิจัยเผยว่าหากบริษัทมีทรัพยากรไม่เพียงพอและผู้บริหารไม่มีนโยบายที่เอื้อต่อสวัสดิการของพนักงาน เช่น ความยืดหยุ่นในการลาคลอดและเลี้ยงลูก จะทำให้พนักงานไม่เกิดสมดุลในการใช้ชีวิต และจะตัดสินใจมีลูกช้าลง

4. ปัจจัยด้านบุคคล

เช่น วิถีชีวิต ค่านิยม ระดับฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา ผลการศึกษาเผยว่าคนเจนวายในกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจนหรือรวย มองว่าการการเลี้ยงลูกมีราคาแพง โดยคนที่มีฐานะเศรษฐกิจปานกลางขึ้นไปจะให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกเป็นหลัก ส่วนคนที่มีฐานะเศรษฐกิจต่ำ จะกังวลเรื่องที่อยู่อาศัย การมีรถเพื่ออำนวยความสะดวกลูก และการซื้อของเล่นให้ลูกในโอกาสต่างๆ การมีลูกจึงทำให้สูญเสียโอกาสในการทำงานและการใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการไป เช่น การไปเที่ยว การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ การเรียนต่อ และการใช้เวลาส่วนตัว จึงคิดที่จะชะลอการมีลูกออกไปจนกว่าชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวลงตัวมากกว่านี้

 

ทำยังไงให้คน Gen Y มีลูกเร็วเเละมากขึ้น

ท้ายที่สุด งานวิจัยได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการสร้างชีวิตที่สมดุลแก่คนเจนวายเพื่อให้ตัดสินใจมีลูกเร็วและมากขึ้น ทางออกไม่ได้อยู่ที่การมุ่งผลักดันนโยบายเพิ่มการเกิดเป็นหลัก (Pro-natalist policy) เพราะมักไม่ได้ผลและใช้งบประมาณมาก แต่ควรมุ่งเน้นนโยบายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการทำงานและการสร้างครอบครัว โดยให้การมีลูกเพิ่มเป็นผลพลอยได้ ข้อเสนอต่างๆ จากงานวิจัยมีดังนี้

1.การขยายวันลาคลอดของแม่แบบได้รับค่าจ้าง (maternity leave with pay) จากเดิม 3 เดือน เป็น 6 เดือน แต่เดิมไทยกำหนดไว้ที่ 90 วัน หรือ 13 สัปดาห์ หากมีการขยายวัน ให้ขยายตามกรอบอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นอย่างน้อย 14 สัปดาห์ แต่สำหรับกรณีที่ต้องการให้แม่ให้นมลูกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการเลี้ยงลูกอย่างมีคุณภาพ ก็ควรขยายวันลาคลอดไปถึง 6 เดือน หรือ 180 วัน โดยขยายเวลาการได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้ครอบคลุมด้วย

2.การส่งเสริมการลาของบิดาเพื่อช่วยภรรยาดูแลลูกหลังคลอด (paternity leave) ควรขยายเวลาการลาดูแลลูกหลังคลอดของผู้ชายให้มากกว่า 15 วัน นอกจากนี้ไม่ควรจำกัดสิทธิการลาดูแลลูกหลังคลอดเฉพาะคู่สมรสที่จดทะเบียนเท่านั้น

3.การเพิ่มการลาเพื่อดูแลบุตร (parental leave) ทั้งในระบบราชการและสถานประกอบการทั่วไปควรเพิ่มประเภทการลาเพื่อดูแลบุตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดูแลครอบครัวและการทำงานของคนเจนวาย เช่น เมื่อลูกเจ็บป่วยพ่อแม่สามารถขอลาเพื่อไปดูแลลูกได้

4.การจัดบริการศูนย์ดูแลเด็กเล็กให้มีคุณภาพและครอบคลุมในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกแต่ไม่มีเวลามากพอที่จะเลี้ยงดูลูกได้เอง และ/หรือไม่มีเพื่อนหรือญาติช่วยดูแลลูก

5.การสร้างแรงจูงใจให้เอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบาย โดยการลดภาษีสำหรับเอกชนที่มีนโยบายในองค์กรสนับสนุนความยืดหยุ่นในการทำงานของพนักงานในทางที่เป็นมิตรต่อครอบครัวของพนักงาน เช่น การสร้างห้องให้นมเด็กแรกเกิด

6.การจัดตั้งกองทุนครอบครัว โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ทำงานนอกระบบ กองทุนจะได้รับการสมทบจากสมาชิก (ที่ใช้ระบบสมัครใจ) และรัฐบาล เป้าหมายของกองทุนนี้คือ ช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลสมาชิกในครอบครัว ทั้งผู้เป็นลูกและผู้สูงอายุ โดยสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ เช่น เงินชดเชยกรณีตั้งครรภ์และคลอดบุตร เงินสนับสนุนสำหรับการเลี้ยงดูบุตรหรือผู้สูงอายุในครอบครัว และเงินช่วยเหลือในการจ้างคนดูแลเด็กหรือผู้สูงอายุ เป็นต้น

ควรตระหนักด้วยว่า การเลือกใช้นโยบายใดนโยบายหนึ่งไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา นโยบายส่งเสริมการเกิดควรเป็นชุดนโยบายที่มีความครอบคลุมมิติต่างๆ ของการตัดสินใจมีลูกให้มากที่สุด ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูก การเข้าถึงบริการดูแลเด็ก จนถึงความก้าวหน้าและมั่นคงในการงานของพ่อแม่

ก็ได้เเต่หวังค่ะว่า เมื่อข้อมูลนี้ถูกเผยเเพร่ไป จะทำให้มีการเปลี่ยนเเปลงที่ดีขึ้น เอื้ออำนวยต่อการมีลูกมากขึ้นค่ะ

ที่มา knowledgefarm

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เตรียมตัวหาสามี/ภรรยา ไปกับ 5 ประเทศนี้ สวรรค์ของคนมีลูก

สถานการณ์เด็กไทยวันนี้ มีความรุนแรง แม่วัยใส ยาเสพติด ป้อนเเท็บเล็ต สังคมก้มหน้า ขาดวินัย เด็กไม่มีความสุข

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • วิกฤตประเทศไทย!!! ทำไมคน Gen Y ไม่อยากมีลูก
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว