X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 เรื่องห้ามทำ เวลาที่ ลูกวีนแตก เม้งแตก

บทความ 3 นาที
7 เรื่องห้ามทำ เวลาที่ ลูกวีนแตก เม้งแตก

7 เรื่องห้ามทำ เวลาที่ลูกวีนแตก เม้งแตก แม้ช่วงเวลานั้นคุณพ่อคุณแม่จะอับอายเพียงใด หรือหาทางออกไม่ได้เพียงแค่ไหน แต่สิ่งที่ห้ามทำนั้นก็มีอยู่นะคะ

7 เรื่องห้ามทำ เวลาที่ ลูกวีนแตก เม้งแตก

7 เรื่องห้ามทำ เวลาที่ ลูกวีนแตก เม้งแตก เพราะแม้ปกติเจ้าตัวเล็กจะน่ารักน่าชังสักเพียงใด แต่พอบทจะวีนขึ้นมา กลับรับมือไม่ง่ายเลย แล้วอะไรกันนะ ที่ห้ามทำเด็ดขาดเลย ถ้าอยากให้ลูกหยุดวีนแตกเสียที

แม้แต่เด็กเรียบร้อยยังวีน

การวีนแตกหรือออกฤทธิ์ของเด็กๆ นั้น มาจากหลายสาเหตุด้วยกันค่ะ ทั้งหิว ง่วงนอน เบื่อ ถูกกระตุ้นมากเกินไป สิ่งเหล่านี้นั้นจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กๆ งอแงได้ง่ายค่ะช่วงที่เด็กๆ จะวีนแตก จะอยู่ในช่วง 18 เดือน หรืออายุประมาณ 1 ขวบครึ่ง ไปจนถึง 4 ขวบเลยทีเดียว

แต่นั่นก็เป็นเพราะการพัฒนาของสมอง ยังไม่สามารถรองรับอารมณ์ที่ยาก หรือเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลและตรรกะได้ ดังนั้นเด็กวัยเตาะแตะหรือก่อนวัยเรียน จึงสามารถงอแงหรือวีนแตกได้ไม่เลือกสถานที่และเวลา ไม่ว่าจะเป็นกลางห้าง กลางสถานที่สาธารณะต่างๆ สร้างความอับอายให้แก่คุณพ่อคุณแม่ได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องตั้งรับให้เป็นเช่นกัน ในการปลอบประโลมและหยุดยั่งพฤติกรรมเหล่านี้

1.อย่าปรี๊ดแตกเพราะลูก

แม้ลูกน้อยจะลงไปชักดิ้นชักงออยู่บนพื้นที่แสนสกปรก คุณพ่อคุณแม่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องใจเย็นๆ อยู่นะคะ เพราะถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เกิดโมโหหรือปรี๊ดแตกขึ้นมาอีกคน สถานการณ์ก็จะยิ่งเลวร้ายลงไปอีกค่ะ จงระลึกไว้เสมอว่าคุณพ่อคุณแม่อายุเท่าไหร่ อายุเท่านี้จำเป็นที่จะต้องคุมตัวเองให้ได้แล้ว ลูกอายุยังแค่นี้ จะคุมตัวเองไม่ได้ก็ไม่แปลก

2.อย่าแก้ปัญหาด้วยเหตุผล

ณ จุดนี้ จะเหตุผลอะไรก็เอาไม่อยู่แล้วละค่ะ เพราะนี่ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะมาอธิบายเหตุผลกับลูก แม้การอธิบายเหตุผลจะเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม แต่มันไม่ใช่เวลา ตอนนี้สิ่งที่ลูกแสดงออกมานั้นเกี่ยวข้องกับอารมณ์ล้วนๆ เลย มันคือการที่อารมณ์เข้ามาควบคุมสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหน้าที่ตัดสินใจค่ะ นั่นหมายความว่าการใช้เหตุผลไม่ได้ช่วยอะไรเลย ดีไม่ดีจะแย่ลงไปอีก

3.อย่าให้ลูกผลักไสคุณพ่อคุณแม่ออกไป

แม้ว่าลูกจะโกรธคุณพ่อคุณแม่มากแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่เป็นทางออกคือกอดเขาเอาไว้ให้แน่นจนกว่าลูกจะสงบลง นั่นก็เพราะการทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกรู้ว่า ไม่ว่าลูกจะงี่เง่างอแงแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ก็จะอยู่เคียงข้างลูก และช่วยให้ลูกสงบลงและรู้สึกดีขึ้นในที่สุด

นอกจากนั้น เมื่อโตขึ้น เด็กๆ ผ่านช่วงวัยสยองนี้มาแล้ว ความทรงจำดีๆ จะพิสูจน์คุณค่าของมัน และทำให้ลูกเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ได้ดีขึ้น และอาจจะรักคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นด้วยค่ะ

4.อย่าเพิ่งถามอะไร

Advertisement

ลูกเป็นอะไร? เกิดอะไรขึ้น? จะให้แม่ทำยังไง? อย่าเพิ่งถามค่ะ ลูกในวัย 2 ขวบนี้ ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น หรืออารมณ์ที่เขาเผชิญอยู่คืออะไร เด็กๆ หงุดหงิดอยู่ และการยิงคำถามเป็นชุดมันก็ทำให้ลูกยิ่งรู้สึกแย่ลง

5.อย่าตี

การตีลูก ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ยิ่งตี ลูกยิ่งเจ็บ เขายิ่งร้อง กลับกัน ลูกจะเรียนรู้ว่า ถ้าเขาตีคนอื่นบ้าง มันคือเรื่องที่โอเค คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี และไม่ควรใช้กำลังกับลูก หากไม่อยากให้ลูกใช้กำลังกับคนอื่นค่ะ

6.อย่าขู่ไปงั้น

ระหว่างที่ลูกร้องงอแงและชักดิ้นชักงอ นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาจะไม่ได้ยินที่คุณพ่อคุณแม่พูดค่ะ อย่าขู่อะไรที่จะไม่ทำแน่ๆ เช่น เดี๋ยวทิ้งเอาไว้เลย เดี๋ยวผีกินตับ เดี๋ยวตัดลิ้นให้เป็ดกิน เพราะเด็กๆ รู้นะคะ ว่าคำพูดไหนที่คุณพ่อคุณแม่ขู่ไปงั้น หรือคำพูดไหนที่จะลงโทษจริง และเรื่องการลงโทษ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดไปงั้นได้

7.อย่ายอมรับการวีนแตกของลูก

ในบางครั้งบางคราวนั้น การยอมรับความวีนแตกของลูก ก็เป็นการสอนลูกได้ดีว่า ถ้าเขาอยากได้อะไร ให้ออกฤทธิ์ ให้วีนแตก เดี๋ยวคุณพ่อคุณแม่ก็จะไปหามาให้เอง หรือได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการแน่ในการทำแบบนี้

ที่มา Romper

บทความที่น่าสนใจ

6 วิธีจัดการเจ้าตัวเล็กเอาแต่ใจ

ต้นตอที่ทำให้คุณกลายเป็นแม่ขี้วีนขี้เหวี่ยง

parenttown

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 7 เรื่องห้ามทำ เวลาที่ ลูกวีนแตก เม้งแตก
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว