ลูกร้องเพราะอะไร สาเหตุการร้องไห้ของลูก โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกที่ลูกเพิ่งจะออกมาดูโลกนั้น ทารกส่วนใหญ่จะร้องไห้เพราะหิว ถ้า คุณแม่ ลองเปลี่ยนผ้าอ้อมดูแล้ว หรือ อุ้มลูกมาโยกเบา ๆ ก็แล้ว และ ดูเหมือนว่าลูกไม่ได้ร้องแบบเจ็บปวดทรมาน ก็แสดงว่าเบบี๋กำลังต้องการกินนมนั่นเอง ยิ่งเป็นนมแม่แล้ว ลูกจะหิวและร้องไห้กินนม คุณแม่ เฉลี่ยได้ทุก 2 – 3 ชั่วโมง ซึ่งการร้องไห้ลักษณะนี้ ถือเป็นเรื่องปกติของทารกน้อยแทบทุกคน คุณแม่ทุกท่านไม่ต้องเป็นกังวล หรือ ตกใจไป เพราะว่า นมแม่ นั้นจะย่อยได้เร็วกว่านมวัว ลูกน้อยจึงมีอาการร้องไห้หิวนมได้บ่อย และ ถี่นั่นเอง
![ลูกร้องเพราะอะไร](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/09/baby-cry3-1.jpg?width=700&quality=10)
สังเกตอาการได้ง่าย ๆ เมื่อลูกร้องไห้เพราะหิวนม คือ ลูกจะผงกศีรษะขึ้น อ้าปาก หรือเด็กบางคนก็ดูดปากตัวเอง หรือทำท่าเหมือนกำลังพยายามจะดูดอะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในปาก
เมื่อลูกโตขึ้น สาเหตุที่ลูกร้องไห้อาจจะไม่ใช่การหิวนมเสมอไป บางครั้งลูกอาจจะร้องเพราะผวา ฝันร้าย รวมถึงตกใจเพราะ เสียงรอบข้างดังได้ เป็นต้น แต่ลูกก็ยังคงร้องเพราะหิวนมได้อยู่ ซึ่งคุณแม่ ก็ควรสังเกตอาการดังกล่าวไว้ รวมถึงดูเวลาว่าห่างจากการ กินนมครั้งก่อน ๆ นานแค่ไหนแล้ว หรือ ถึงมื้อนมที่ลูกควรจะกิน หรือยัง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องกลางดึก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 69
ลูกร้องเพราะอะไร
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมอิ่มหรือยัง หิวนม อยู่รึเปล่า
- หากให้ลูกดูดนม จากขวดนมก็สามารถวัดได้จากจำนวนออนซ์ ที่แสดงไว้บนขวดนม
- ถ้าลูกดูดนมจากอกแม่ ก็สามารถสังเกตได้ว่า หลังจากให้ลูกดูดนมทั้ง 2 ข้างจนหมด ลูกแสดงท่าทีพอใจ และ อารมณ์ดีขึ้น มีความสุขหลังจากได้กินนม ไม่ร้องงอแง ก็แปลว่าลูกกินนมอิ่ม
- สังเกตจากปริมาณปัสสาวะ และ อุจจาระที่ลูกปล่อยออกมา ถ้าลูกได้กินนม แม่ในปริมาณที่เพียงพอก็ จะปัสสาวะบ่อยมาก โดยดูได้จากจำนวนครั้งของการเปลี่ยนผ้าอ้อม (ที่เป็นผ้าฝ้าย) อย่างน้อย 6 – 7 ครั้งต่อวัน ก็ถือว่าเป็นปกติ ส่วนอุจจาระของลูก ที่กิน นมแม่ ก็จะมีลักษณะเหลือง ๆ เหนียว ๆ ลูกอาจจะ ถ่ายอุจจาระวันเว้นวันก็เป็น เรื่องปกติเช่นกัน
- ลูกน้อยดูไม่กระปรี้กระเปร่า และ ร้องไห้กวนตลอดเวลา อารมณ์เหมือนไม่พอใจ หงุดหงิด และ ไม่ร่าเริงหลังกินนม
- ในขณะที่ลูกน้อยกำลังกินนม ลูกดูดเสียงดังจ๊วบ ๆ หรือ ไม่ได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ซึ่งแสดงว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธีจึงมีโอกาสที่ทำให้ลูกหิวนมบ่อย ๆ ได้นั่นเอง
- สังเกตง่าย ๆ ถ้าคุณแม่ไม่มั่นใจว่าลูกอิ่มนมหรือยัง โดยการลองให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น และควรอุ้มลูกไว้แนบลำตัว ถ้าลูกยังรู้สึกไม่อิ่ม หรือ ยังหิวนมอยู่เขาจะหันหน้าเข้าหาเต้านมเอง โดยที่คุณแม่ไม่ต้องสงสัย หรือ หาวิธีอื่น ๆ ให้ยุ่งยาก
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกงอแง ร้องไห้โยเย อาจเป็นเพราะ ผื่นผ้าอ้อม ทำให้ลูกรักไม่สบายตัว
![ลูกร้องเพราะอะไร](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/09/breastfeed-6.jpg?width=700&quality=10)
คุณแม่ ที่ให้ลูกกิน นมแม่ จากอกโดยตรง จึงไม่ควรกังวลว่าลูกจะกินนมอิ่ม หรือเปล่า แค่ให้ลูกได้กินนมทุกครั้งที่หิว ตัวคุณแม่ จะรู้เองโดยสัญชาตญาณว่าลูกได้รับน้ำนมพอ หรือไม่ และ ตราบใดที่ลูกยังปัสสาวะทุกครั้งเมื่อได้กินนม ริมฝีปากไม่แห้ง และ ดวงตาไม่อิดโรย แสดงว่าน้ำนมก็ยัง เพียงพอต่อความต้องการของลูก สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ ไม่ควรกังวล หรือ เครียดว่า ตัวเองจะมีน้ำนมไม่เพียงพอ และ จะทำให้ลูกจะกินนมไม่พอ เพราะยิ่ง คุณแม่ กังวลก็จะยิ่งทำให้ระบบการสร้างน้ำนมใน ตัวนั้นทำงานได้น้อยลง
![ลูกร้องเพราะอะไร](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2016/09/baby-cry-hair-stand-1.jpg?width=700&quality=10)
หากคุณแม่สังเกตได้ว่าที่ลูกร้องไห้แบบนี้ เป็นเพราะลูกหิวนม ก็ทำให้ คุณแม่ สบายใจไปเปราะหนึ่งได้แล้วใช่ไหมคะ ว่าคุณแม่นั้น ควรทำอย่างไรต่อ ถึงจะถูกต้อง ไม่ต้องไปคิด หรือ กังวลว่าที่ลูกน้อยร้องนั้นมีปัญหาเรื่องอื่น ๆ เพราะถ้าลูกร้องเพียงเพราะแค่หิวนม คุณแม่ก็จะได้แก้ปัญหา และ จัดการกับสถานการณ์ได้ถูกต้อง แต่ถ้าลูกกินนมอิ่มแล้วแต่ยังร้องไห้อยู่ ลองดูพฤติกรรมก็ไม่ได้อยากกินนมแล้ว แบบนี้คุณแม่ถึงควรจะพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับคำปรึกษาเผื่อว่าลูกน้อยจะมีอาการป่วยอื่น ๆ หรือ มีความผิดปกตินั่นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีโอ๋เจ้าตัวน้อยเมื่อร้องไห้
7 สัญญาณที่ทำให้ทารกร้องไห้
แนะนำ เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า ใช้งานสะดวก ปลอดภัย ไม่เจ็บเต้านม!
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการหิวนมของลูก ได้ที่นี่!
อาการหิวนมของลูก จะสังเกตยังไงได้บ้างคะ
ที่มา :amarinbabyandkids, enfababy
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!