การระบาดใหม่ อีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ยังคงความรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างหนักหนัก ต่อภาคธุรกิจ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และประชาชน ทำให้รัฐบาล ต้องทยอยออกมาตรการ และ โครงการเยียวยาประชาชน ภายใต้แนวคิด “ลดภาระค่าใช้จ่าย เสริมสภาพคล่อง ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน” theAsianParent Thailand จึงได้รวบรวมทุก โครงการเยียวยาประชาชน จากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ หลังการกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 คุณสมบัติของเราจะตรงกับ โครงการเยียวยาประชาชน โครงการไหน หรือมาตรการอะไร ที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้บ้าง รีบเช็คให้ชัวร์ ก่อนหมดเขตลงทะเบียน
มาตรการ และ โครงการเยียวยาประชาชน แพ็กเกจล่าสุดจากรัฐบาล สามารถจัดกลุ่ม ออกมาได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
โครงการเยียวยา จากโควิด2
ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค
1. ลดค่าไฟฟ้า 2 เดือน ตามใบแจ้งหนี้ กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 โดยแบ่งเป็น 3 มาตรการ ประกอบด้วย
- มาตรการสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ ไม่เกิน 5 แอมป์ และใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย / เดือน รวมจำนวน 10.13 ล้านราย ซึ่งจะให้ใช้ไฟฟ้าได้ฟรี 90 หน่วยแรก ทุกราย
- มาตรการสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย / เดือน รวมจำนวน 11.83 ล้านราย จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้า ในส่วนของหน่วยการใช้ไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นจากบิลค่าไฟฟ้าในเดือน ธันวาคม 2563 เป็นฐานในการคำนวณส่วนลด
- สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลูกค้าตรงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ใช้ไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ ที่มีลักษณะเป็นการอยู่อาศัย ร่วมกับการประกอบธุรกิจรายเล็ก จะให้ค่าไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก ทุกราย
2. ลดค่าน้ำประปา 10% เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นเวลา 2 เดือน ตามใบแจ้งหนี้เดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564
3. เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต ลดค่าใช้จ่าย โดยกระทรวงดีอีเอส กสทช. และผู้ประกอบการค่ายโทรศัพท์มือถือ มีมติเพิ่มความเร็ว ของอินเทอร์เน็ตบ้าน และโทรศัพท์มือถือ ให้ผู้ใช้บริการ สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้ทำงานจากที่บ้านทางอ้อม รวมถึงให้โหลดแอปพลิเคชั่น หมอชนะ โดยสามารถโหลดได้ฟรี ไม่มีค่าใ้ช้จ่าย และไม่คิดค่า data เป็นเวลา 3 เดือน
โครงการเยียวยา จากโควิดด6
เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการและประชาชน
1. พ.ร.ก. Soft Loan ธปท. วงเงิน 500,000 ล้านบาท ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 มีวงเงินคงเหลือ 370,000 ล้านบาท รับคำขอสินเชื่อได้ถึงวันที่ 18 เมษายน 2564
2. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยธนาคารออมสิน ประกอบด้วย
- โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม จากสถาการณ์การระบาด ระลอก 2 ของเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ประกอบการ ในธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (soft loan ท่องเที่ยว) วงเงิน 10,000 ล้านบาท ณ วันที่ 4 มกราคม 2464 มีวงเงินคงเหลือ 7,600 ล้านบาท โดยธนาคารออมสิน สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ให้สถาบันการเงิน ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 / ปี เป็นระย4ะเวลา 2 ปี และสถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ ในธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 100 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 256
- โครงการให้สินเชื่อ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย ภายใต้วงมเงินวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 มีวงเงินคงเหลือ 4,200 ล้านบาท ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็ก และผู้ประกอบการรายย่อย ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและซัพพลายเชน วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 / ปี ระยะเวลากู้ 5 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
- โครงการสินเชื่อออมสิน SMEs วงเงิน 10,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้หลักประกันสินเชื่อ เป็นที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และไม่ต้องผ่านการตรวจเครดิตบูโร วงเงินสินเชื่อต่อราย ไม่เกินร้อยละ 70 ของราคาประเมินที่ดิoของทางราชการ สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.99 / ปี ระยะเวลากู้ 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
3. สินเชื่อ Extra Cash โดย ธพว. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท วงเงินเหลือประมาณ 5,900 ล้านบาท รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
เปิดความหมาย ประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง2
4. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
มีมาตรการช่วยเหลือ SMEs สู้ภัยโควิด-19 วงเงินค้ำประกันรวม 100,000 ล้านบาท เน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มเปราะบาง กลุ่มทั่วไป และผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs ไทยสู้ภัยโควิด วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะที่ 9 รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. รายย่อย ไทยสู้ภัยโควิด วงเงิน 5,000 ล้านบาท รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อถึงวันที่ 31 มกราคม 2564
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงินคงเหลือประมาณ 54,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีคุณสมบัติตาม soft loan ธปท. และ soft loan ท่องเที่ยวของธนาคารออมสิน รับคำขอค้ำประกันสินเชื่อตามระยะเวลารับคำขอสินเชื่อของแต่ละโครงการ
5. มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
โดยธนาคารส่งเสริมการส่งออกและการนำเข้า (ธสน.) สนับสนุนสินเชื่อ ให้ผู้ประกอบการส่งออก และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผู้นำเข้าเครื่องจักร และอุปกรณ์ วงเงินสินเชื่อรายละไม่เกิน 100 ล้านบาท รวมวงเงิน 5,000 ล้านบาท ขยายเวลาพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
*ณ วันที่ 3 ธันวาคม มีวงเงินคงเหลือ 2,142 ล้านบาท
6. โครงการสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
โดยธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 20,000 ล้านบาท ให้แก่ประชาชนที่ทำอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ และเกษตรกรรายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (flat rate) ไม่เกินร้อยละ 0.10 / เดือน ขยายเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
*ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2563 รวม 2 ธนาคาร มีวงเงินคงเหลือ 14,365 ล้านบาท
โครงการเยียวยา จากโควิด6
7. โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก
ธนาคารออมสิน วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ครอบคลุม ถึงผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ รวมถึงบุคคลในครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภัยทางเศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 / เดือน ขยายเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และให้โยกวงเงินที่เหลือจากโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ที่มีวงเงินเหลือ 2,987 ล้านบาท มาดำเนินการรวมกันในโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก เมื่อบวกกับวงเงินเดิมของโครงการที่เหลือ 7,245 บาท รวมเป็นวงเงินสำหรับปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้น 10,412 ล้านบาท
8.โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564
ประกอบด้วย 4 มาตรการ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น และตัดดอกเบี้ย) นานสูงสุด 6 เดือน ได้แก่
- มาตรการที่ 9 สำหรับลูกค้า ธอส. ที่เคยเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ระยะแรกผ่านแอปพลิเคชั่น GHB ALL วันที่ 15 – 29 มกราคม 2564
- มาตรการที่ 10 สำหรับลูกหนี้สถานะ NPL และลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น และตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบันเป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการระยะแรก วันที่ 15 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2564
- มาตรการที่ 11 สำหรับลูกค้า ธอส. ที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ ของ ธอส. ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงิน งวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2564) ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการระยะแรก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 26 กุมภาพันธ์ 2564
- มาตรการที่ 12 สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สินเชื่อประเภทแฟลต แบ่งเป็น
1. ได้ลดเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้นและตัดดอกเบี้ย) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือไม่เกิน มิถุนายน 2564 หรือ
2. พักชำระหนี้ถึง มิถุนายน 2564 ในกรณีที่ได้รับผลกระทบ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้ ยื่นคำขอเข้ามาตรการระยะแรก ได้ที่สาขาทั่วประเทศภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564
โครงการเยียวยา จากโควิด7
9. ปรับปรุงเงื่อนไข โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
ให้ผู้ใช้สิทธิ์ ที่จองที่พักตั้งแต่ มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 สามารถเลื่อนการเดินทางออกไปได้ถึงเดือน เมษายน 2564 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และมอบ ททท.พิจารณาขยายระยะเวลา การดำเนินโครงการที่เหมาะสม และปรับปรุงโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น
10. โครงการคนละครึ่ง
ขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ์ โดยจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน 20 มกราคม 2564 และสามารถใช้สิทธิ์ ได้ตั้งแต่ 25 มกราคม เป็นต้นไป
11. มาตรการ เราชนะ
จ่ายเงินเยียวยารายละ 3,500 บาท / เดือน เป็นเวลา 2 เดือน สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงานนอกระบบ และเกษตรกร
โครงการเยียวยา จากโควิด5
12.ขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
ครม. มีมติ ขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง จากปีที่ผ่านมา โดยจะลดภาษีลง 90% และลดค่าธรรมเนียม การโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01%
13. โครงการ เยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม
อนุมัติวงเงิน 1,447 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อนมจากเกษตรกร ให้เป็นนมโรงเรียนชนิดยูเอชที ซึ่งงบประมาณนี้ จะจัดสรรให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อนมโรงเรียนโดยตรง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,098 ล้านบาท และกระทรวงศึกษาธิการ 326 ล้านบาท
โครงการเยียวยา จากโควิดด8
มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน
- ขยายเวลาลดหย่อนส่งเงินสมทบประกันสังคม ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง เหลือ 3% ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคม – มีนาคม 2564
- การชดเชยกรณีว่างงาน โดยกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้เงินชดเชย 70% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน กรณีว่างงานจากการลาออก ได้เงินชดเชย 45% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน
- มาตรการส่งเสริมการจ้างงานและรักษาระดับการจ้างงาน ครม. มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน ติดตามและเร่งรัดดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ที่มา : www.prachachat.net
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
ส่องเงื่อนไขชัด ๆ อีกครั้ง คนละครึ่งเฟส 3 ก่อนลงทะเบียนจริง 20 ม.ค. 64 นี้
เราชนะ โครงการเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ระลอก 2
โครงการเราชนะ เปิดความหมาย กลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 คือใครบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!