เมอร์ลินดา เกรซ ลอว์ซัน เด็กน้อยวัยเพียง 2 ขวบ ต้องจบชีวิตลงอย่างน่าสงสาร ภายหลังจากที่เธอสำลักป๊อปคอร์น และนั่นทำให้สมองของเธอถูกทำลายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ
เอลิสัน คุณแม่ของเมอร์ลินดา เล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในวันงานวันเกิดของตัวเธอ ที่จู่ ๆ เมอร์ลินดา ก็วิ่งเข้ามายังห้องนั่งเล่น ตอนนั้นดวงตาของเธอโต ไม่มีเสียงลอดออกมา นาทีนั้นเหมือนกับเวลาหยุดหมุน ไม่นาน เมอร์ลินดา ก็ล้มตัวลงที่พื้น
แพทริก พ่อของเธอ รีบเปิดปากของเมอร์ลินดา และทำ CPR ทันที ตอนนั้น รถพยาบาลมาถึงพอดี แต่หัวใจของเมอร์ลินดา หยุดเต้นเสียแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็สามารถช่วยชีวิตเธอได้ พวกเราทุกคนยังมีหวัง หัวใจของเมอร์ลินดากลับมาเต้นอีกครั้ง เจ้าหน้าที่รีบนำตัวเธอส่งโรงพยาบาลโดยทันที
แต่หมอกล่าวว่า เนื่องจากร่างกายของเธอขาดออกซิเจนไปชั่วขณะหนึ่ง ส่งผลให้สมองของเธอถูกทำลาย หมอจึงจำเป็นใส่เครื่องช่วยหายใจให้กับเธอตลอดเวลาที่ให้การรักษา
พวกเราทุกคนใช้เวลานาน 6 เดือน เพื่อประคองชีวิตของเธอ ด้วยความหวังว่า เธอจะมีอาการดีขึ้น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว ปาฏิหาริย์ไม่มีจริง ไม่นานเมอร์ลินดาก็ต้องจากไปอย่างสงบ
และทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น “สาเหตุมาจากข้าวโพดคั่วหรือป๊อปคอร์นเพียงชิ้นเดียว”
คุณพ่อคุณแม่คะ อันตรายจากการสำลักอาหารนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่จำเป็นจะต้องเกิดกับเด็กเล็กหรือคนแก่แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย ซึ่งวันนี้เราขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีปั๊มหัวใจ และผายปอดที่ถูกต้องมาฝากค่ะ สามารถคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไป
เมื่อลูกหมดสติ ไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น นี่คือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) ที่พ่อแม่ควรรู้ ด้วยวิธีปั๊มหัวใจ และผายปอดอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.ประเมินการตอบสนองของลูก ด้วยการตบที่หัวไหล่ของลูกเบาๆ และตะโกนเรียกดังๆ (ควรระวังหากได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกต้นคอ) หากไม่มีการตอบสนองให้โทรขอความช่วยเหลือหน่วยแพทย์กู้ชีพหมายเลข 1669 ทันที
2.ทำตามสเต็ป C-A-B
C: Chest compression – กดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจ เพื่อเพิ่มความดันภายในช่องทรวงอก เพิ่มแรงดันที่หัวใจโดยตรง ทำให้มีการไหลเวียนโลหิต ส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจและสมอง
ในกรณีเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ให้ใช้มือข้างหนึ่งจับที่หน้าผากลูก ส่วนอีกข้างใช้นิ้วสองนิ้วกดตรงกึ่งกลางหน้าอก กดลึกประมาณ 1.5 นิ้ว และกดเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที จำนวน 30 ครั้ง
ในกรณีเด็กโต ให้ใช้ส้นมือกดตรงกึ่งกลางหน้าอกระหว่างหัวนม 2 ข้าง ลึกประมาณ 2 นิ้ว และกดเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที จำนวน 30 ครั้ง
A: Airway – เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการเชิดหัว-เชยคาง (head tilt-chin lift) หรือยกกราม (jaw thrust)
B: Breathing – ช่วยหายใจ เพื่อรักษาระดับออกซิเจนให้เพียงพอ และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก
ในกรณีเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ช่วยหายใจโดยประกบปากของคุณแม่หรือคุณพ่อครอบทั้งปากและจมูกของลูก
ในกรณีเด็กโต เป่าปากได้โดยประกบปากของคุณแม่หรือคุณพ่อบนปากลูกเท่านั้น (ไม่รวมจมูก)
เป่าลมหายใจออก 2 ครั้ง แต่ละครั้งยาว 1 วินาที และสังเกตว่าหน้าอกของลูกขยายตามการเป่าลมหรือไม่ จากนั้นเริ่มกดหน้าอกต่อ โดยให้อัตราการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจ = 30:2
ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึงค่ะ
ดูตารางสรุปวิธีปั๊มหัวใจ ผายปอด ทำ CPR ช่วยชีวิตเด็กและผู้ใหญ่ที่ถูกต้อง ด้านล่างนี้
ที่มา: Netmums
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
อันตรายถึงชีวิต!! ถ้าลูกสำลักนมแม่
องุ่นติดคอ มหันตภัยตัวฉกาจของลูกวัยเตาะแตะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!