อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอ!
คลิปนี้เป็นคลิปที่กล้องวงจรปิดของครอบครัวหนึ่งสามารถบันทึกเก็บเอาไว้ได้ เมื่อพี่น้องคู่แฝดอยู่กันตามลำพังในห้อง อยากให้คุณพ่อ คุณแม่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเพราะว่า อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้เสมอค่ะ
ซึ่งดูเหมือนว่า เด็ก ๆ กำลังพยายามที่จะปืนขึ้นไปบนตู้ และนั่น!! คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น
จะเห็นได้ว่า เด็กน้อยคนหนึ่งพยายามที่จะหาทางช่วยคู่แฝดของเขาให้ออกมาจากใต้ตู้ และเขาก็ทำได้สำเร็จ ภายหลังจากที่ได้มีการโพสต์คลิปนี้ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายว่า “ทำไม พ่อแม่ถึงปล่อยให้เขาอยู่กันตามลำพังแบบนี้” เพราะ อุบัติเหตุในบ้าน เกิดขึ้นได้ตลอด
และจากการบอกเล่าได้ความว่า สาเหตุที่ครอบครัวนี้นำคลิปดังกล่าวออกมาเผยแพร่ ก็เพื่อต้องการเตือนใจพ่อแม่และผู้ปกครองทุกคนว่า ไม่ควรปล่อยลูกไว้ตามลำพัง ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เพราะอุบัติเหตุภายในบ้านเกิดขึ้นได้เสมอ
และจากสถิติพบว่า สาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตของเด็กที่อยู่ในวัยปีนป่ายนั้น เกิดมาจากการที่ตู้หล่นทับนั่นเองค่ะ ว่าแล้วก็ไปชมคลิปดังกล่าวพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
เคล็ดลับความปลอดภัยในบ้านสำหรับลูกน้อย
บ้านเป็นสถานที่แรกของการเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง การสัมผัสและรับรู้ถึงความรักการดูแลและความสะดวกสบาย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีเหมาะสมวัยของลูก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องมีการป้องกันพร้อมกับสอนเรื่องความปลอดภัยในบ้านให้กับลูกของคุณ
10 กฏสร้างความปลอดภัยในบ้านสำหรับลูกน้อย
ในขณะที่บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่สุด แต่อาจมีอันตรายที่ซ่อนอยู่เช่นกันค่ะ บทความนี้เรารวมความปลอดภัยในบ้านที่สามารถป้องกันได้มาฝากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองค่ะ
- อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังในน้ำ
สระน้ำกับเด็กเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยมากๆค่ะ สำหรับเด็กๆที่ชอบเล่นน้ำไม่ว่าจะเป็นอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำ แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนานแต่มีโอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การจมน้ำซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในอ่างน้ำหรือสระว่ายน้ำ วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่ปล่อยให้ลูกของคุณเล่นน้ำตามลำพัง หรือก้มน่าเล่นโทรศัพท์มือถือแม้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นก็ตามคะ
- เก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือสารเคมีให้ห่างจากเด็ก
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้งหมดมีสารเคมีในตัวซึ่งเป็นพิษสูงเมื่อกลืนกินเข้าไป การป้องกันคือการเก็บให้พ้นมือเด็กๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะบรรจุอาหารหรือเก็บไว้ในครัว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของเด็กค่ะ
- ที่นอนหรือชุดเครื่องนอนสำหรับเด็ก
หลีกเลี่ยงการตกแต่งพื้นที่การนอนของลูกด้วยตุ๊กตาตัวใหญ่ หมอนหรือผ้าห่มขนาดใหญ่มีน้ำหนัก เพื่อป้องกันการกดทับลูกน้อยซึ่งอาจทำให้หายใจไม่ออกได้ออก และหลีกเลี่ยงเตียงนอนสูงๆในกรณีที่ลูกเริ่มคลานได้แล้วค่ะ ควรเลือกใช้ผ้าห่มเนื้อบางเบาและถ้าอากาศเย็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับอากาศค่ะ
- ควรปิดปลั๊กไฟและเก็บสายไฟฟ้า
ทำให้บ้านของคุณปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าช็อตทุกชนิดด้วยการปิดปลั๊กไฟ ทิ้งอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือซ่อมแซมสายไฟที่ชำรุด และควรสอนลูกเกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าช็อต และไม่ควรจับอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่มือเปียก
ควรเก็บสิ่งของมีคม มีด กรรไกร ให้พ้นมือเด็ก และหากคุณมีอาวุธปืนอยู่ที่บ้าน คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันถูกเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและไม่ควรบรรจุกระสุนไว้ รวมถึงการสอนลูกของคุณเกี่ยวกับอันตรายของการใช้ปืนในชีวิตจริง และบอกความแตกต่างระหว่างปืนที่วีรบุรุษใช้ในภาพยนตร์หรือการ์ตูนค่ะ
- หลีกเลี่ยงของเล่นหรืออาหารที่มีขนาดเล็กๆ
เนื่องจากเด็กๆมักได้รับอันตรายจากการสำลักอาหาร ของเล่นขนาดเล็ก เช่น ถั่วขนาดเล็ก องุ่น ลูกปัด กระดุม ถ่านของเล่น เหรียญ เป็นต้น ดังนั้นการทำอาหารให้ลูกของคุณรับประทานควรระมัดระวัง และไม่ควรเล่นกับลูกน้อยให้ขณะป้อนอาหาร เพราะการหัวเราะในขณะที่กลืนอาหารอาจทำให้สำลักได้ค่ะ รวมถึงการสอนให้ลูกน้อยเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนค่ะ
- การติดตั้งสัญญาณเตือนควันในบ้าน
การติดตั้งสัญญาณเตือนควันที่บ้าน และสอนเด็กๆเกี่ยวกับสัญญาณเตือนไฟไหม้ พร้อมแผนหนีไฟเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนภัยค่ะ
- ความปลอดภัยขณะเล่นกับสัตว์เลี้ยง
ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงของเราก็ตาม แต่การกระทำบางอย่างของลูกๆของคุณ อาจทำให้สัตว์เลี้ยงหงุดหงิดได้ เช่น การดึงหางแรงๆ การแกล้งขณะสัตว์เลี้ยงกำลังกินอาหาร เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกๆของคุณมีความอ่อนโยนกับสัตว์เลี้ยง และ เตือนลูกของคุณให้อยู่ห่างจากสัตว์เลี้ยงซึ่งกำลังขู่คำรามหรือแสดงอาการหวงของค่ะ
ไม่ว่าคุณจะระมัดระวังแค่ไหนแต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องเตรียมพร้อมในกรณีที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณปลอดภัย ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและเตรียมชุดอุปกรณ์การปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการเขียนเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่เห็นได้ชัดเจน และหากลูกของคุณโตพอให้สอนเขาให้โทรไปยังหมายเลขฉุกเฉินดังกล่าว ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นค่ะ
การป้องกันอุบัติภัยภายในบ้านของเด็กวัยเตาะแตะ
คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเตาะแตะอันเป็นช่วงหัดเดินและรักการสำรวจโลกของลูก จะต้องระมัดระวังการเกิดอุบัติภัยต่างๆในบ้านเป็นพิเศษ เนื่องจากลูกเริ่มเดินได้เองจึงสามารถเคลื่อนที่ไปหยิบจับสิ่งต่างๆได้โดยบางครั้งผู้ใหญ่ไม่ทราบจนอาจเกิดอันตรายจากการสัมผัสสารพิษ สำลักสิ่งแปลกปลอม หรือพลัดตกหกล้มได้ง่าย เรามาดูกันนะคะว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในบ้านได้อย่างไร
วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านการสัมผัสสารพิษ
แม้แต่ในบ้านของเราก็อาจมีสารพิษซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันอยู่รอบตัวของเด็ก ซึ่งหากเด็กได้ไปสัมผัสหรือทานเข้าไปก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้ เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยารักษาโรคต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ หรือยาฆ่าแมลง
การป้องกันทำได้โดย
- เก็บยาและสารเคมีไว้ในที่สูง ล็อคมิดชิด เพื่อให้เด็กไม่สามารถหยิบเองได้
- ไม่วางยาหรือสารเคมีที่มีอันตรายทิ้งไว้ในบ้านเมื่อใช้งานเสร็จควรรีบเก็บเข้าที่ทันที
- หากบังเอิญเด็กได้สัมผัสหรือทานสารพิษเข้าไปควรรีบนำส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้หากต้องการทราบวิธีการดูแลหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถโทรสอบถามได้ที่ศูนย์พิษวิทยา เช่น ของโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร 1376 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
- หากสงสัยว่าเด็กได้ทานสารพิษเข้าไปไม่ควรรีบล้วงคอหรือทำให้อาเจียนโดยมิได้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เที่ยวชาญก่อน เนื่องจากสารพิษบางอย่างหากทำเช่นนั้นอาจเป็นอันตรายมากกว่าเดิมได้
วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้านการสำลักสิ่งแปลกปลอม
เด็กวัยเตาะแตะสามารถเดินไปหยิบสิ่งของต่างๆได้เองและชอบหยิบของเข้าปาก หากนำสิ่งของชิ้นเล็กเช่นเหรียญบาท ลูกปัด เมล็ดถั่ว เข้าปากแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมและเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ จนขาดอากาศหายใจถึงขั้นเสียชีวิตได้
การป้องกันทำได้โดย
-
- สอนเด็กไม่ให้นำสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารเข้าปากโดยเด็ดขาด
- ไม่ให้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีเล่นของเล่นชิ้นเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3.17 cm และความยาวน้อยกว่า 5.71 cm
- ไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่มีโอกาสแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้
- ผู้ดูแลเด็กทุกคนควรได้เรียนรู้และฝึกฝนการช่วยชีวิตเด็กที่สำลักสิ่งแปลกปลอมและเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ
ที่มา: ABC News
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระวัง 16 จุดอันตรายในบ้าน ทำลูกเกิดอุบัติเหตุถึงตาย!
เตือนภัย! ตู้ลิ้นชักล้มทับ อันตรายในบ้านสำหรับเด็กเล็กวัยปีนป่าย
อาการเจ็บฝีเย็บ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 72
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!