X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปิดเทอมมรณะ เตือนพ่อแม่อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำกันลำพัง

6 Mar, 2018
ปิดเทอมมรณะ เตือนพ่อแม่อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำกันลำพัง

ปิดเทอมมรณะ พ่อแม่ต้องใจสลายกันทุกปีจากเหตุการณ์ เด็กจมน้ำ เนื่องจากอากาศที่ร้อนระอุ เตือนพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ระวังลูกหลานให้ดีอย่าปล่อยให้ไปเล่นน้ำกันตามลำพัง และควรเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตจากเด็กจมน้ำเอาไว้

ปิดเทอมมรณะ ทำพ่อแม่ใจสลายทุกปี

ปิดเทอมมรณะ เตือนกันทุกปีกับอันตรายจากเด็กจมน้ำในช่วงปิดเทอม โดยการจมน้ำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมใหญ่ภาคฤดูร้อน 3 เดือน มีนาคม-พฤษภาคม และส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี

ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในช่วงปิดเทอมเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2567 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 173 คน หรือเฉลี่ยเกือบ 2 คนต่อวัน โดยกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด (39.3%) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5-9 ปี (32.4%) และ 0-4 ปี (28.3%) นอกจากนี้ พบว่าเด็กชายเสียชีวิตจากการจมน้ำมากกว่าเด็กหญิงถึง 2.8 เท่า

เตือนผู้ปกครองและชุมชนให้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ดังนี้

  1. สำรวจแหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชน
  2. เฝ้าระวังและแจ้งเตือนในชุมชน เช่น ประกาศเสียงตามสาย คอยตักเตือนเมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลำพัง
  3. จัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น สร้างรั้ว ติดป้ายคำเตือน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่าผูกเชือก ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ และ
  4. สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ปิดเทอมมรณะ

ปิดเทอมมรณะ

อุทาหรณ์เด็กชายวัย 3 ขวบจมน้ำจากการพลัดตกสระ ทั้งปั๊มหัวใจและผายปอด โดยมีชาวบ้านจำนวนมากลุ้นระทึกหวังให้ผู้เป็นพ่อช่วยเหลือชีวิตลูกชายให้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือลูกชายได้เพราะเด็กจมน้ำเสียชีวิตไปนานแล้ว

Advertisement

คาดว่า เด็กน่าจะเดินตามสุนัขออกมาจากบริเวณบ้าน โดยผู้เป็นยายไม่เห็น ส่วนพ่อ-แม่เด็กออกไปทำงาน เมื่อหลานหายไปยายจึงโทรแจ้งพ่อแม่เด็กกลับมาช่วยกันตามหา จนกระทั่งมาพบรองเท้าหลานลอยอยู่ในสระน้ำห่างจากบ้าน 500 เมตรจึงลงไปงมก็พบร่างจมอยู่ใต้สระน้ำ จากนั้นเจ้าหน้าที่นำศพส่งชันสูตร ก่อนสอบสวนหาสาเหตุอย่างละเอียดอีกครั้ง

ขอบคุณที่มาและภาพ: khaosod

อีกหนึ่งเหตุการณ์ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ บิ๊ก บอส  ได้โพสต์เหตุการณ์คลิปวิดีโอ เป็นภาพเจ้าหน้าที่กู้ภัย พร้อมชาวบ้าน กำลังพายเรือและนำร่างเด็กชายคนหนึ่งขึ้นมาจากน้ำ พร้อมระบุข้อความว่า “ปิดเทอมแล้ว ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์นะครับ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวด้วยครับ ขอให้น้องไปสู่สุขติ”

เด็กจมน้ำตายจากการไปพายเรือเล่น

 

อีกหนึ่งอุทาหรณ์! สองพี่น้องจมน้ำดับคู่ หลัง แอบหนียายไปเล่นน้ำ เด็กทั้ง 2 เป็นพี่น้องกัน โดยพ่อกับแม่ของเด็กออกไปทำงานที่โรงแรมแห่งหนึ่งในตัวเมือง จึงให้ยายเลี้ยงหลาน 2 คน ตั้งแต่ช่วงเช้า กระทั่งช่วงสายของวันนี้ ยายของเด็กได้โทรมาบอกว่า เด็กทั้ง 2 คนหายออกไปจากบ้าน พ่อและแม่จึงรีบกลับมาบ้านและออกตามหา ใช้เวลาอยู่หลายชั่วโมงก็ยังไม่พบตัว ก่อนพบรองเท้าของเด็กทั้ง 2 คู่อยู่ริมบ่อน้ำจึงลงไปงมค้นหาศพ เบื้องต้น แพทย์ทำการชันสูตรศพของเด็กที่เสียชีวิตทั้ง 2 รายไม่พบร่องรอยบาดแผลใดๆ คาดว่าเด็กทั้ง 2 คนน่าจะชักชวนกันออกจากบ้านเพื่อ แอบหนียายไปเล่นน้ำ คลายร้อน ก่อนที่จะลื่นตกลงไปบริเวณกลางบ่อน้ำและจมน้ำเสียชีวิต

 

อุทาหรณ์! สองพี่น้องจมน้ำดับคู่ หลัง แอบหนียายไปเล่นน้ำ

ขอขอบคุณที่มาและภาพ : khaosod.co.th, ch3plus.com, thairath.co.th

 

อีกหนึ่งอุทาหรณ์จากประเทศจีน สำหรับคุณแม่ที่มีเด็กเล็กที่การทรงตัวยังไม่ดี อาจเกิดเหตุลูกหัวทิ่มลงในถังน้ำ โอ่งน้ำ อ่างน้ำ กะละมัง แล้วไม่สามารถลุกขึ้นได้ อย่างเช่นเหตุการณ์นี้ เด็กชายวัย 1 ขวบหัวทิ่มถังน้ำที่ตั้งอยู่ด้านนอกบ้าน ยายเดินตามหาผ่านจุดนั้นหลายรอบแต่ไม่เห็นหลานตัวเอง เวลาผ่านไปเป็นเวลากว่า 20 นาที จึงพบและนำตัวหลานขึ้นมาได้ แต่ก็สายเกินไป

เด็กหัวทิ่มถังน้ำ

ขอขอบคุณที่มาและภาพ : sanook, HK01

เมื่อพบเห็นเด็กจมน้ำทำอย่างไร

หากพบเห็นคนตกน้ำไม่ควรกระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจมน้ำพร้อมกันได้ แต่ขอให้ช่วยด้วยการใช้มาตรการ “ตะโกน โยน ยื่น” ได้แก่

  1. ตะโกน คือ การเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วยและโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669
  2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้โดยโยนครั้งละหลายๆ ชิ้น และ
  3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 

วิธีช่วยเด็กจมน้ำ

หลักการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่ถูกวิธีคือ วิธีการช่วยให้เด็กหายใจได้ให้เร็วที่สุด ไม่ใช่เป็นการพยายามเอาน้ำออกจากร่างกาย โดยมีวิธีการดังนี้

1. กรณีเด็กจมน้ำที่รู้สึกตัว

หากเด็กรู้สึกตัวหายใจได้เองการปฐมพยาบาลคือการเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าแห้งให้แก่เด็ก และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบอาการแม้เด็กจะหายใจได้ดีในระยะแรกแต่อาจมีอาการหายใจลำบากได้ในภายหลังสาเหตุจากถุงลมในปอดถูกทำลายจากการสำลักน้ำ

ลูกจมน้ำ

เด็กจมน้ำ

2. กรณีเด็กจมน้ำไม่หายใจและ/หรือ หัวใจไม่เต้น

  1. หากไม่รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้เรียกผู้อยู่ข้างเคียงให้มาช่วยเหลือ หรือโทรขอความช่วยเหลือหน่วยฉุกเฉินที่ 1669
  2. จากนั้น ให้เด็กนอนราบกับพื้น แล้วกดหน้าผากลง เชยคางขึ้นเบา ๆ เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
  3. ตรวจสอบว่าเด็กยังหายใจหรือไม่ ในเวลา 3-5 วินาที โดย
    • มองหน้าอกหรือท้องว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่
    • ฟังดูว่ามีเสียงหายใจหรือไม่
    • แนบใบหน้าให้เข้าใกล้จมูกและปากของเด็ก เพื่อสัมผัสลมหายใจ
  4. เมื่อพบว่าเด็กไม่หายใจ ต้องรีบช่วยให้เด็กหายใจทันที โดย
    • ให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือครอบจมูกและปากเด็กและเป่าลมหายใจออก ทำแบบนี้ 2 ครั้งโดยให้แต่ละครั้งยาว 1-2 วินาที
    • จากนั้นสังเกตว่าหน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่
  5. คลำหาชีพจร โดยแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่
    • ในกรณีอายุน้อยกว่า 1 ปี: คลำชีพจร บริเวณต้นแขนด้านในครึ่งทางระหว่างข้อศอกและหัวไหล
    • ในกรณีที่อายุมากกว่า 1 ปี: คลำชีพจร บริเวณต้นคอ
  6. ถ้าเด็กไม่หายใจและไม่มีชีพจร ให้ทำการกระตุ้นการเต้นของหัวใจ โดยแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่
    • ในกรณีอายุน้อยกว่า 1 ปี ให้ปฎิบัติดังนี้
      • หาตำแหน่งของการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจได้ โดยลากเส้นสมมติระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง
      • ตำแหน่งที่จะกดคือ บนกระดูกหน้าอก ใต้ต่อเส้นสมมติที่ลากระหว่างหัวนมทั้งสองข้างลงมา 1 ความกว้างของนิ้วมือจริง
      • กดโดยใช้นิ้วสองนิ้ว กดลึกให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5  นิ้ว ความถี่ของการกดคือกดหน้าอก 5 ครั้งสลับกับการให้ผู้ช่วยระบบหายใจเป่าปาก 1 ครั้ง
    • ในกรณีที่อายุมากกว่า 1 ปี ให้ปฎิบัติดังนี้
      •  หาตำแหน่งของการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจได้โดยลากนิ้วตามขอบชายโครงช้างใดข้างหนึ่งจนถึงกึ่งกลางซึ่งชายโครงทั้งสองข้างมาชนกันเรียกว่าจุดปลายล่างกระดูกหน้าอก
      • ตำแหน่งที่จะกดคือ บนกระดูกหน้าอก เหนือต่อจุดปลายล่างกระดูกหน้าอก 1 ความกว้างของนิ้วมือจริง
      • กดโดยใช้ส้นมือ กดลึกให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5  นิ้ว ความถี่ของการกดคือ กดหน้าอก 5 ครั้งสลับกับการให้ผู้ช่วยระบบหายใจเป่าปาก 1 ครั้ง
      • ให้การกระตุ้นการเต้นของหัวใจสลับกับการเป่าปากในอัตราส่วน 5:1 จนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง หรือกระทำในระหว่างการนำส่งจนถึงโรงพยาบาล
  7. ตรวจการหายใจและชีพจรซ้ำ ทุกนาที

ขอบคุณที่มาและภาพ: khaosod, กรุงเทพธุรกิจ ,  thaihealth , ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ บิ๊ก บอส

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

10 คำถามของลูกชอบถาม ลูกขี้สงสัย ที่พ่อแม่ตอบยากที่สุด!!!

หัวลูกเป็นเชื้อรา ชันนะตุ เกิดจากอะไร..ทำอย่างไรให้หาย?

รู้หรือไม่…พฤติกรรมของลูกในแต่ละช่วงวัย เสี่ยงต่อการ เจ็บป่วย

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • ปิดเทอมมรณะ เตือนพ่อแม่อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำกันลำพัง
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว