X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่น กำมือแน่น จิกเท้างอ ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?

บทความ 3 นาที
ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่น กำมือแน่น จิกเท้างอ ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่น กำมือแน่น จิกเท้างอ ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?

เจ้าตัวน้อยนอนอยู่ดี ๆ ทำไมถึงชอบผวา สะดุ้งบ่อย หรือแค่เอามือไปแตะนิดแตะหน่อย ตรงอวัยวะบางส่วน ก็จะมีปฏิริยาตอบสนองขึ้นมาอัตโนมัติทันที แล้วซักพักก็กลับมานอนนิ่งเหมือนเดิม หรือบางรายก็ส่งเสียงร้องไห้จ้าไปเลย ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?

ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่นง่ายทันทีที่ได้ยินเสียง หรือแค่แตะตัวก็มีปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ตอบสนองอย่างรวดเร็วทันที ทำไมทารกถึงมีอาการแบบนี้เกิดอะไรขึ้น และจะเป็นอันตรายมั้ย?

ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่น กำมือแน่น จิกเท้างอ ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?

อาการปฏิกิริยาตอบสนองของทารกลักษณะนี้ ถือเป็นสัญชาตญาณ ที่มีการโต้ตอบต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ พกติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดของทารก ปฏิกิริยาเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ ...

ทารกชอบผวา

#ปฏิกิริยาสะดุ้ง ผวา

ลูกจะสะดุ้งหรือผวาทันทีเมื่อได้ยินเสียงดังอยู่ใกล้ตัว ทารกจะแอ่นหลังขึ้นมาเล็กน้อย และศีรษะกระตุกไปทางด้านหลังเล็กน้อยอย่างรวดเร็ว ส่วนแขน และขาจะกางออกกว้าง พร้อมกับรีบงอแขน และขากลับเข้ามาอย่างรวดเร็วจากนั้นก็กลับไปนอนหดตัวอีกครั้ง ถือเป็นอาการตอบสนองที่ปกติเกิดขึ้นโดยทั่วไปของทารก

 

ทารกชอบผวา

#ปฏิกิริยากำมือ จิกเท้า

ทารกแรกเกิดจะมีปฏิกิริยากำมือตอบสนองอัตโนมัติทันที เมื่อคุณแม่ใช้นิ้วมือแตะเบา ๆ ลงไปบนมือ ลูกจะตอบสนองกลับด้วยการคว้าจับและกำแน่นอย่างรวดเร็ว ถ้าดึงออกลูกก็จะยิ่งกำแน่นมากขึ้น ถ้าคุณแม่ลองยกนิ้วสูง มือของลูกที่จับนิ้วอยู่ก็จะลอยตามขึ้นโดยไม่ยอมปล่อยด้วย หรือแม้แต่แตะที่บริเวณอุ้งเท้าเบา ๆ ก็จะสังเกตเห็นว่านิ้วเท้าลูกจะหดงอคล้ายเท้ากำลังจิกลงมา และจะกางออกทันที หรือเมื่อมีอะไรมาดันบริเวณเท้า ลูกก็จะดันสิ่งนั้นออกไปทันที ปฏิกิริยาตอบสนองเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาทักษะในการจับสิ่งต่าง ๆ ได้ดี เมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้นด้วยการยื่นนิ้วมือคุณแม่หรือสิ่งของวางลงบนมือให้ลูกได้จับเล่น

ทารกชอบผวา

#ปฏิกิริยาการดูด

สัญชาตญาณของทารกน้อยพร้อมที่จะดูดทันทีเมื่อมีอะไรเข้าปาก อย่างเช่นการยื่นหัวนมเข้าไปในปากลูกน้อย ซึ่งคุณแม่จะพบว่าลูกเรียนรู้ที่จะดูดนมได้เองทันที หรือแม้แต่การใช้นิ้วเข้าไปสัมผัสเบา ๆ บนเพดานปากด้านบนก็จะพบว่าทารกจะงับและดูดคุณแม่ทันที ดังนั้นปฏิกิริยาการดูดของทารกถือเป็นการตอบสนองของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทารกได้ดูดนมแม่หลังคลอดทันที

ทารกชอบผวา

#ปฏิกิริยาหันไปในทิศทางที่ถูกสัมผัส

ถือเป็นสัญชาตญาณในการหาหัวนมแม่ของทารกนั่นเอง เกิดขึ้นได้เมื่อขณะที่คุณแม่อุ้มลูกเข้าเต้า และประคองให้ลูกหันหน้าเข้ามาหาหัวนม จากนั้นใช้นิ้วเขี่ยที่แก้มข้างที่อยู่ใกล้หน้าอก ลูกจะหันหน้าเข้าหาหน้าอกคุณแม่และอ้าปากพร้อมที่จะดูดนมแม่ทันที

ทารกชอบผวา

#ปฏิกิริยาทรงตัว

เมื่อคุณแม่ประคองเจ้าตัวน้อยให้ยืนขึ้น และปล่อยให้เท้าของลูกได้สัมผัสพื้นผิวที่เรียบ จะสังเกตเห็นว่าลูกจะยกขาข้างหนึ่งและอีกข้างหนึ่งพยายามที่จะก้าว การตอบสนองเช่นนี้ช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะในการควบคุมการเดิน ซึ่งจะเริ่มประมาณอายุ 1 ขวบ

ทารกชอบผวา

ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทารก และเป็นการตอบสนองที่จำเป็นสำหรับเด็กแรกเกิด ซึ่งเป็นการตอบสนองของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่มีผลมาจากการถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า และเป็นผลมาจากพัฒนาการด้านระบบประสาทในเด็ก นำไปสู่การเอาตัวรอด และหมายถึงการมีพัฒนาการที่ปกติของร่างกายทารกแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ ด้วยการสังเกตจากปฏิกิริยาที่สะท้อนเหล่านี้ หากลูกมีการสะดุ้งตื่นตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง มีการกำนิ้วเมื่อเอามือแหย่เข้าไป หรือเอามือเขี่ยปากแล้วลูกพยายามควานหาเต้าดูดนม ฯลฯ เหล่านี้เป็นการบ่งบอกได้ว่าลูกมีพัฒนาการสมบูรณ์ แต่หากไม่พบปฏิกิริยารีตอบสนอง อาจบ่งบอกถึงสัญญาณผิดปกติของพัฒนาการทารก ซึ่งคุณแม่อาจจะนำลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการศึกษาหรือแก้ไขหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น.


อ้างอิงข้อมูล :

https://baby.haijai.com

www.thainannyclub.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ปฏิกิริยาเมื่อหนูน้อยเห็นตัวเองในกระจกครั้งแรก จะเกิดอะไรขึ้น ดูคลิป

แม่จ๋าอย่าเพิ่งตกกะใจ! 10 อาการของทารกแรกเกิด เป็นได้ ไม่นานก็หาย

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกชอบผวา สะดุ้งตื่น กำมือแน่น จิกเท้างอ ลูกเป็นแบบนี้คืออะไร?
แชร์ :
  • อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าทารกไม่ยอมส่งเสียงร้องไห้หลังคลอด!!

    อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าทารกไม่ยอมส่งเสียงร้องไห้หลังคลอด!!

  • ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

    ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

app info
get app banner
  • อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าทารกไม่ยอมส่งเสียงร้องไห้หลังคลอด!!

    อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าทารกไม่ยอมส่งเสียงร้องไห้หลังคลอด!!

  • ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

    ลูกแรกเกิดสะดือจุ่น สะดือโป่ง คนโบราณให้ใช้เหรียญปิดสะดือเพื่อรักษา หรือหาหมอดี?

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • 15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

    15 ภาพผ่าคลอด ที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ลงมีด ดูดน้ำคร่ำ จนลูกคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ