ทารกคอแข็งกี่เดือน ไขข้อข้องใจ? เมื่อไรทารกเริ่มชันคอ
ทารกคอแข็งกี่เดือน เด็กแรกเกิดนั้นยังบอบบางมาก แม้แต่ศีรษะ กระหม่อมของลูก ก็ต้องคอยระวังอย่าให้กระแทกอย่างเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลต่อสมองของทารกได้ รวมไปถึงต้องคอยดูอย่าให้ลูกนอนคว่ำจนหายใจไม่ออก เพราะลูกนั้นยังไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณคอ หรือตั้งศีรษะได้ตรงด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องอดทนรอคอยเพื่อให้ลูกมีพัฒนาการไปทีละขั้นนะคะ
พัฒนาการการชันคอของทารกเป็นอย่างไร ทารกคอแข็งกี่เดือน
เด็กแรกเกิด : คอพับคออ่อน
ทารกแรกเกิด เจ้าหนูสามารถที่จะมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น และรับรสสัมผัสได้แล้วนะคะ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเคลื่อนไหว เพราะกล้ามเนื้อคอจะยังไม่แข็งแรง เรียกว่า ยังคอพับพออ่อนอยู่ในช่วงนี้ เพราะตอนที่อยู่ในท้องคุณแม่มีพื้นที่แคบและมีน้ำคร่ำคอยอโอบอุ้มคอไว้ในเวลาที่เคลื่อนไหว ดังนั้น คุณแม่ต้องอุ้มทารกน้อยอย่างรัดระวัง ที่สำคัญต้องประคองคอเป็นพิเศษ เมื่อลูกโตขึ้นกว่านี้พัฒนาการกล้ามเนื้อคอจึงจะแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย จากที่เคยหันศีรษะได้เพียงเล็กน้อยก็จะยกศีรษะได้สูงขึ้น
คุณแม่ช่วยหนูได้ด้วยวิธีเหล่านี้
1. ยิ้มแย้มกับลูก มองสบตา
2. เล่นและพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของคุณแม่เร็ว ๆ และคอยหันหาเสียงนั้นยามที่เขานอนเพลิน ๆ เอียงหน้าไปมาช้า ๆ ให้ลูกมองตาม
3. อุ้มพาดบ่าบ่อย ๆ หาโอกาสให้ลูกได้นอนคว่ำเพื่อฝึกชันคอบ้าง
1 – 2 เดือน : หนูเริ่มยกศีรษะแล้วนะแม่
ในช่วง 1 -2 เดือนนี้ กล้ามเนื้อคอของทารกน้อยเริ่มแข็งแรงขึ้น คุณแม่จะสังเกตเห็นว่า เมื่อจับลูกในท่านอนคว่ำสักพัก เจ้าหนูจะชันคอขึ้นมาได้ประมาณ 45 องศา และยังสามารถบังคับศีรษะให้หันไปมาได้แบบไม่กระตุก การนอนคว่ำต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย คือ ไม่จำเป็นต้องมีหมอนรองรับเพราะเดี๋ยวลูกจะหายใจไม่ออกเวลาที่ฟุบหน้าลงไป และที่นอนไม่นิ่มจนเกินไป
คุณแม่ช่วยหนูได้ด้วยวิธีเหล่านี้
1. คุณแม่ช่วยลูกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ โดยให้ลูกนอนหงาย แล้วจับมือทั้งสองดึงขึ้นช้าๆ สู่ท่านั่ง ลูกจะพยายามเกร็งคอและศีรษะให้ตั้งตรง จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อคอ แขน และลำตัวของลูกได้
2. แขวนของเล่นหรือโมบายสีสด ๆ ระยะห่างจากลูกราว 1 ฟุต ให้ลูกมองตาม
3. ทำเสียงต่าง ๆ และร้องเพลงหรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง หมั่นส่งเสียงเรียกเพื่อดึงความสนใจให้ลูกหันหาเสียงจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้อย่างดี
ทารกคอแข็งกี่เดือน ไขข้อข้องใจ? เมื่อใดทารกเริ่มชันคอ
3 – 4 เดือน : แม่จ๋าหนูคอแข็งแล้วนะ
ลูกคอแข็งกี่เดือน ในช่วงวัยนี้ทารกน้อยคอเริ่มแข็งแรงดีแล้วค่ะ เจ้าหนูสามารถยกศีรษะได้ 90 องศาทีเดียว และยังชันคอได้นานขึ้นกว่าเดิม พอเข้าเดือนที่ 4 ทารกจะสามารถยันตัวขึ้นด้วยปลายแขน สำหรับทารกที่มีพัฒนาการเร็วบางคนจะเริ่มพลิกตัวได้แล้ว ซึ่งตามปกติแล้วในราวเดือนที่ 4 ทารกมักจะเริ่มจากการพลิกคว่ำก่อน เพราะกล้ามเนื้อคอ ไหล่ หลังและสะโพกแข็งแรงมากขึ้น แต่ถ้าทารกยังไม่พลิกคว่ำหรือพลิกหงายในเดือนที่ 4 อย่ากังวลใจไปค่ะ เพราะขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายและสรีระแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่อีกไม่นานลูกของคุณก็จะทำได้เช่นเดียวกันค่ะ
คุณแม่ช่วยหนูได้ด้วยวิธีเหล่านี้
1. ให้คุณแม่อุ้มลูกนั่งตัก ให้หลัง ลูกห่าง จากลำตัว คุณแม่เล็กน้อย การอุ้มนั่ง จะช่วย กล้ามเนื้อคอ และ หลังลูกให้แข็งแรง ขึ้นได้ เช่น เดียวกับ ท่าอุ้มแบบ หิ้วมือเดียว โดยใช้มือ ข้างหนึ่ง ของ คุณแม่ หิ้วประคอง ตรง ช่วงหน้าอก ลูกไว้
2. จัดที่ ปลอดภัย ให้ลูก ได้นอน หัดพลิกคว่ำ
3. หาของเล่น สีสันสดใส มีเสียง อย่าง กรุ๋งกริ่ง มาเล่น กับลูกให้ลูก หันหา และ มองตามก็ได้ แล้วเปลี่ยนทิศทางสลับไปมา เพื่อให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อคอบ่อยๆ และชมเชยเวลาที่ลูกทำได้
สังเกตอย่างไรว่าลูกคออ่อน?
พ.ญ.นันทกรณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กุมารแพทย์ ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลสมิติเวช แนะนำให้สังเกตลูก ดังนี้
– เมื่ออายุ 2-3 เดือนแล้วลูกยังไม่สามารถยกศีรษะให้พ้นพื้นได้ทั้ง ๆ ที่ได้รับการกระตุ้นตามวัย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น กุมารแพทย์ระบบประสาท กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม นักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในเด็ก เนื่องจากลูกอาจมีปัญหาด้านกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาทได้
– ถ้าลูกคอแข็งเร็วกว่าปกติ ก็ต้องสงสัยว่ามีปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งผิดปกติ อาจทำให้ดูเหมือนเด็กคอแข็งเร็วได้เช่นกัน และอาจจะมีกล้ามเนื้อส่วนอื่นที่เกร็งด้วย เช่น แขน ขา หลัง เป็นต้น ซึ่งควรได้รับการตรวจประเมินทันที
อ้างอิงข้อมูลจาก baby.haijai women.mthai iammomsociety
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกวัยคว่ำ หัดพลิกคว่ำพลิกหงาย วัยอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง
ทารกควรนอนท่าไหน ปลอดภัย ไม่ไหลตาย
หัวของทารกแรกเกิด ลูกหัวแบน ลูกหัวเบี้ยว กระหม่อมของของทารกปิดตอนไหน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!