X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถ้าไม่อยากดราม่า รู้ไว้ก่อนนำนมแม่ขึ้นเครื่อง

บทความ 3 นาที
ถ้าไม่อยากดราม่า รู้ไว้ก่อนนำนมแม่ขึ้นเครื่องถ้าไม่อยากดราม่า รู้ไว้ก่อนนำนมแม่ขึ้นเครื่อง

หากคุณเป็นคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกหรือภรรยากำลังให้นมลูก และมักต้องเดินทางบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดินทางโดยเครื่องบินนั้น มักจะมีความกังวลใจบ่อย ๆ ว่าจะเอานมขึ้นเครื่องได้หรือ จะฝ่าฝืนข้อบังคับของทางสายการบินไหม วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากค่ะ

นมแม่ขึ้นเครื่อง

เรื่องราวดราม่านี้เกิดขึ้น ณ สนามบินแห่งหนึ่งในต่างประเทศ เมื่อ วาเนสซา แคสเทน คุณแม่ลูกสองชาวเท็กซัสได้ร้องเรียนผ่านเฟสบุ๊คถึงสายการบินเดลต้าว่าพนักงานไม่อนุญาตให้เธอนำนมแม่และน้ำแข็งแห้งขึ้นเครื่อง

"ฉันต้องจากลูก ๆ และสามีของฉันเพื่อไปทำงานนานสิบแปดวัน  และฉันก็ต้องปั๊มนมตลอดเวลาเพื่อที่จะได้มีสต๊อคเก็บไว้ให้ลูกเล็กวัยสี่เดือนของฉัน ฉันโกรธมากนะที่เจอเหตุการณ์แบบนี้" วาเนสซากล่าว

"ก่อนหน้าเดินทาง ฉันได้ติดต่อไปยังสายการบินเพื่อสอบถามว่าฉันสามารถนำนมของฉันที่แช่แข็งแล้วกลับไปให้ลูกเล็กของฉันได้ไหม พนักงานของคุณก็บอกว่าสามารถทำได้และยังแนะนำให้ใส่ในกระติกน้ำโดยใส่น้ำแข็งแห้งมาด้วย และพอวันเดินทางพนักงานที่เคาท์เตอร์กลับบอกว่า ไม่รู้จะขนส่งให้ได้อย่างไร แถมยังบอกให้ฉันจ่ายเงินเพิ่มอีก เพราะว่าฉันโหลดกระเป๋าไปแล้วก่อนหน้านี้สองใบ และยังบอกฉันอีกว่าไม่สามารถเอานมขึ้นเครื่องได้เพราะไม่รู้ว่าจะคิดน้ำหนักของน้ำแข็งแห้งได้อย่างไร ซ้ำยังบอกอีกว่าฉันไม่มีสติ๊กเกอร์แปะระบุว่าในนั้นมีน้ำแข็งแห้งด้วย"

หลังเกิดเรื่อง วาเนสซา ก็ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สนามบินท่านหนึ่ง เธอช่วยเอาน้ำแข็งแห้งไปเททิ้งในห้องน้ำ และเอานมที่ฟรีซแล้วของเธอทั้งหมดใส่กลับไปในกระติกน้ำใหม่เพื่อจะได้เดินทางต่อ แต่ถึงกระนั้น วาเนสซา ก็ยังอดห่วงว่านมอาจเสียได้ถ้าไม่มีน้้ำแข็งแห้งอยู่ด้วย

วาเนสซา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "และตอนนี้ฉันก็กำลังนั่งรอขึ้นเครื่องอยู่ที่สนามบินพร้อมกับนมของฉันที่ไม่มีน้ำแข็งแห้งอยู่ด้วย มีใครจะบอกฉันได้บ้างไหมว่านมของฉันจะยังดีและไม่เสียตลอดการเดินทางแปดชั่วโมง ซึ่งฉันก็หวังว่าตลอดระยะเวลาสองอาทิตย์ที่ฉันนั่งหลังขดหลังแข็งปั๊มนมให้ลูกนั้นจะไม่สูญเปล่า"

กรมการขนส่งระบุว่า นมแม่และอุปกรณ์ที่ช่วยเก็บความเย็นจำพวกน้ำแข็งแช่แข็งนั้นได้รับการยกเว้นสามารถนำขึ้นเครื่องได้ และภายหลังจากที่เธอโพสต์ข้อความทั้งหมดลงในเฟสบุ๊ค ก็มีคนนำข้อความของเธอไปแชร์เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ วาเนสซา ยังได้รับคำแนะนำต่าง ๆ มากมายจากผู้คนว่าควรจะทำอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเธอก็ได้กล่าวขอบคุณและพร้อมที่จะทำตามคำแนะนำเหล่านั้น"

นมแม่ขึ้นเครื่อง

ไม่นานสายการบินเดลต้าก็ตอบกลับมาที่เมลของเธอเพื่อขอโทษและมอบบัตรเงินสดมูลค่า 25 เหรียญเพื่อเป็นการปลอบใจ

ไบรอัน ครูซ โฆษกประจำสายการบินกล่าวว่า สายการบินกำลังติดต่อกลับไปยัง วาเนสซา โดยตรงเพื่อขอพูดคุยถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ดังกล่าว

คุณแม่ ๆ ทั้งหลายคะ จะเห็นว่าหลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ในการนำนมแม่ขึ้นเครื่อง วันนี้เรามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากทุกท่านกันค่ะ

สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

นมแม่ขึ้นเครื่อง

สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่มีความประสงค์ที่จะขนส่งนมแม่ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากเพจของคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ที่ได้นำเคล็ดลับจากคุณแม่ปลา Chayanan Kunathai Sawangkaphat มาฝากค่ะ

1.อุปกรณ์ปั๊มนม หากใช้เสร็จแล้วควรแช่ไว้ในตู้เย็น ล้างและนึ่งวันละครั้งพอ แต่เวลาเดินทางอย่าลืมที่จะเตรียม
ไปสองเซ็ทเสมอ เผื่ออุปการณ์ที่ใช้แล้วไม่ได้อยู่ในความเย็นที่พอเหมาะหรือในระหว่างทางอุปกรณ์อาจจะชำรุดหรือสุญหายได้ เพื่อจะได้มีสำรองไว้ใช้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

2.ภาชนะ ควรล้างและลวกขวดนมให้เรียบร้อยก่อนนำไปใช้ แนะนำให้เอาแบบขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาได้สะดวก และที่สำคัญต้องเป็นวัสดุทนความร้อนชนิด BPA free ด้วยหรือคุณแม่อาจจะใช้กล่องนึ่งขวดนมชนิดที่สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟได้ จะได้ใช้สำหรับนึ่งและช้างในเวลาเดียวกันได้เลย

3.ภายหลังจากที่ล้างอุปกรณ์ปั๊มนมและขวดทั้งหมดแล้ว อย่าลืมนำไปลวกน้ำร้อน หรือทั้งนี้อาจจะเลือกใช้เม็ดฟู่ฆ่าเชื้อก็ได้ค่ะ

4.นมที่ปั๊มในแต่ละครั้งนั้น เมื่อใส่ถุงเก็บนมแม่แล้วฟรีซได้เลยก็จะยิ่งดี แต่ถ้าหากระหว่างวันเจอแต่ตู้เย็นขนาดเล็ก และตู้ในห้องพักนั้นไม่มีช่องแช่แข็ง แนะนำให้เอาไปฝากกับทางโรงแรม จริงอยู่ที่เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าตู้เย็นของทางโรงแรมเป็นแบบใดและจะเอาน้ำนมของเราไปแช่ปนกันอาหารสดหรือเปล่า ดังนั้นเราควรใส่ถุงซิปล็อคไว้หลายชั้นหน่อยหรืออาจจะใส่กล่องก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมวางถุงนมตามแนวนอนด้วยนะคะ นอกจากจะแพ็คง่ายแล้วยังประหยัดเนื้อที่อีกด้วย

5.การแพ็คนมขึ้นเครื่องนั้นนอกจากจะต้องใช้เจลเก็บความเย็นหลายอันแล้ว อย่าลืมที่จะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อรอบนอกอีกครั้ง แต่ถ้าจะให้ดีอย่าลืมโรยเกลือลงไปด้วยนะคะ เพราะว่าเกลือจะช่วยเก็บความเย็นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้นมที่ฟรีซเป็นน้ำแข็งแล้วมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเจลเก็บความเย็น ถ้าคุณแม่ห่อรวมไว้ด้วยกันกับเจลก็จะสามารถยืดอายุการเก็บความเย็นไว้ไม่ให้ละลายได้หลายชั่วโมงเลยละค่ะ

เพิ่มเติมนะคะ เนื่องจากอุณหภูมิในห้องเก็บสัมภาระใต้ท้องเครื่องบินนั้นเย็นกว่าห้องโดยสาร จึงมักจะโหลดกระเป๋านมลงใต้ท้องเครื่องตลอด ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจะขอเปิดดูข้างใน และพอเค้าเห็นแล้วว่ามันคืออะไร เขาก็จะช่วยเราดูแลเป็นอย่างดีเลยละค่ะ

ถ้าหากว่าคุณแม่ต้องเดินทางหลายวันแน่นอนว่าจำนวนถุงน้ำนมที่ปั๊มได้ก็จะเยอะตามไปด้วย ไหนยังนมที่เพิ่งปั๊มใหม่แล้วฟรีซหรือแพ็คไม่ทันอีกละจะทำอย่างไรดี อย่าได้กังวลใจไปเลยค่ะสำหรับถุงที่พึ่งปั๊มได้ไม่นานก็ให้นำขึ้นเครื่องแต่จำนวนต้องไม่เกิน 100 ซีซีนะคะ

สามารถคลิกเพื่อดูเคล็ดลับเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปเลยค่ะ

นมแม่ขึ้นเครื่อง

6. ถ้าคุณแม่ต้องการที่จะปั๊มนมบนเครื่องบินก็สามารถทำได้นะคะ แนะนำให้ทำการเช็คอินไว้ล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ก่อนเลยค่ะ ดูว่าที่ตรงไหนว่างบ้างก็เลือกที่ตรงนั้นหรือถ้าได้เช็คอินไว้แล้วตอนขาไป จะให้ดีคุณแม่ตรวจสอบอีกครั้งก็ดีนะคะ เผื่อว่าขากลับคนเยอะอาจจะมีคนมานั่งข้าง ๆ เราด้วยก็ได้ แต่ถ้าหากว่าสุดวิสัยและไฟลท์เต็มจริง ๆ ก็ไม่เป็นไร เรายอมที่จะอายดีกว่าเห็นลูกของเราอดใช่ไหมคะ ยังไงเราก็มีผ้าคลุมอยู่แล้วก็ใช้เสียเลย เรื่องเสียงก็ไม่ต้องกังวลไรมากเพราะเสียงของเครื่องบินนั้นดังยิ่งกว่าเสียงของเครื่องปั๊มนมอีก

ว่าแต่เจ้าเจลเก็บความเย็นเนี่ยสามารถเอาขึ้นเครื่องไปเก็บความเย็นให้กับนมที่ปั๊มบนเครื่องได้ไหมนะ อันนี้ก็สุดแท้แล้วแต่เจ้าหน้าที่สนามบินและสายการบินจริง ๆ ค่ะ บางทีเค้าถือว่ามันเป็นของแข็งชนิดหนึ่งก็อนุโลมให้ แต่พอมันละลายกลายเป็นของเหลวนี่สิบางคนก็ไม่ให้

บทความจากพันธมิตร
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
ผู้เชี่ยวชาญแนะ พลังจากสารอาหารในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดี ท้องสบาย ร่างกายแข็งแรง
ผู้เชี่ยวชาญแนะ พลังจากสารอาหารในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดี ท้องสบาย ร่างกายแข็งแรง
จบปัญหา นมสต็อกเหม็นหืน ด้วย SUNFAMILY Application จาก SUNMUM แอปเดียวอยู่หมัด
จบปัญหา นมสต็อกเหม็นหืน ด้วย SUNFAMILY Application จาก SUNMUM แอปเดียวอยู่หมัด

คุณแม่ปลาเล่าว่า เคยนั่งการบินไทยพอเขาเห็นว่าเอามาไม่เยอะและอยู่ในกระเป๋าของแม่และเด็ก มีขวดนมพร้อมเขาก็เข้าใจให้เดินผ่านได้อย่างฉลุยเลยละค่ะ ดังนั้นถ้าคุณแม่กังวลว่าขนาดของเจลเก็บความเย็นที่มีอยู่นั้นใหญ่เกินไป แนะนำว่าไปหาซื้อได้ที่ร้านไดโซได้เลยค่ะ เค้ามีขนาดเล็กขายอยู่เหมือนกัน แต่คุณแม่ต้องทำใจด้วยนะคะเพราะว่ามีคนรู้จักเคยถูกสั่งให้ทิ้งเจลไปต่อหน้าต่อตาก็หลายคนแล้ว

เพิ่มเติมกรณีที่อยู่บนเครื่องนานจนเจลเริ่มละลาย คุณแม่สามารถขอน้ำแข็งได้ที่ลูกเรือเลยค่ะ โดยให้เขาใส่น้ำแข็งในถุงเก็บนมแม่ซึ่งมีขนาดกำลังดี แต่ข้อเสียก็คือละลายเร็ว ถ้าเดินทางไกลมาก อาจจะต้องขอหลายครั้งหน่อย ตอนขออย่าลืมดูด้วยนะคะว่าพนักงานเค้ายุ่งอยู่หรือไม่ จะได้ไม่ไปกวนใจเขาด้วยอย่างไรละคะ

และทุกครั้งที่กลับถึงบ้านพร้อมกระเป๋านมในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ ก็จะนึกขอบคุณทุก ๆ คนที่คอยช่วยเหลือ พร้อมกับนึกในใจว่าเรานี่โชคดีจริงเจอแต่คนดี ๆ เพราะมันสำคัญมากสำหรับคนเป็นแม่ที่มีลูกเล็ก ยิ่งพอไปประชุมกับชาวต่างชาติและเล่าเรื่องรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ให้เขาฟัง เขาถึงกับอึ้งและชื่นชมว่าคนเป็นแม่นี่สุดยอดจริง ๆ ไม่ได้เหนื่อยหรือลำบากอะไรมากมาย แค่วางแผนและเตรียมตัวให้ดี และก็อย่าเครียดจนเกินไปแล้วทุกอย่างจะออกมาดีเอง

หัวใจสำคัญคือ ความสะอาด ถ้ามีจุดไหนที่คุณแม่ไม่มั่นใจก็ตัดใจทิ้งเลยนะคะ ไม่คุ้มค่ากับสุขภาพของลูกหรอกค่ะ และนมล็อตไหนที่เอากลับมาจากการเดินทาง อย่าลืมที่จะชิมเองก่อนทุกครั้ง เพราะด้วยอุณหภูมิไม่คงที่อาจจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำนมด้วยนะคะ

ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ไม่มีสิ่งไหนจะสำคัญไปกว่าการกลับถึงบ้านแล้วมีลูกน้อยอยู่ในอ้อมกอดและดูดเต้าเราไปด้วยหรอกจริงไหมคะ นอกจากลูกจะมีความสุขแล้วแม่คนนี้ก็ยังมีความสุขอีกด้วย

 

เครดิตรูปภาพ: Breastfeeding Thai

ที่มา: ป้าหมอ และ Huffingtonpost

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง:

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำไมต้องแคร์สายตาคน

แม่ท้องเสียหรือลูกท้องเสีย ยังคงให้นมแม่ได้หรือไม่ ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
  • /
  • ถ้าไม่อยากดราม่า รู้ไว้ก่อนนำนมแม่ขึ้นเครื่อง
แชร์ :
  • 7 เคล็ดลับ เดินทางโดยเครื่องบิน สำหรับแม่ท้อง

    7 เคล็ดลับ เดินทางโดยเครื่องบิน สำหรับแม่ท้อง

  • คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ? ขึ้นเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย ท้องกี่เดือนห้ามขึ้น

    คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ? ขึ้นเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย ท้องกี่เดือนห้ามขึ้น

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

app info
get app banner
  • 7 เคล็ดลับ เดินทางโดยเครื่องบิน สำหรับแม่ท้อง

    7 เคล็ดลับ เดินทางโดยเครื่องบิน สำหรับแม่ท้อง

  • คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ? ขึ้นเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย ท้องกี่เดือนห้ามขึ้น

    คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม ? ขึ้นเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย ท้องกี่เดือนห้ามขึ้น

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ