จุกนม ต้องเลือกแบบไหน เลือกอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

จุกนม อาจเป็นได้ทั้งเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณแม่ หรือไม่ก็ศัตรูตัวฉกาจ สรุปว่ามันดีหรือไม่ดีกันแน่? เรามีคำตอบมาฝาก
จุกนม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
จุกนม กับเด็กน้อย เป็นของคู่กัน เด็กทารกมักติดจุกนมงอมแงม หรือไม่ก็ไม่ชอบเอาซะเลย ซึ่งจุกนมนั้น ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เรามาดูกันว่า ข้อดีข้อเสียของจุกนมนั้น มีอะไรบ้าง
ข้อดีของจุกนม
ข้อดีของจุกนม นอกจากข้อดีที่เห็นได้ชัด เช่น การทำให้เด็กงอแงน้อยลง จุกนมยังมีข้อดีอีกอย่างคือ เด็กที่หลับไปพร้อมดูดจุกนม มีแนวโน้มที่จะหยุดหายใจน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้ใช้จุกนม (หรือการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก – Sudden Infant Death Syndrome) การดูดจะทำให้โพรงจมูกและปากเปิดรับอากาศ และหายใจต่อเนื่อง จุกนมยังเป็นมิตรกับสุขภาพฟันมากกว่าการดูดนิ้วหรือสิ่งของอื่น ๆ อีกด้วย
ข้อเสียของจุกนม
แทบจะไม่มีใครเถียงว่าจุกนมสามารถกล่อมเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การดูดจุกนมตอนนอนก็อาจทำให้เด็กบางคนหลับไม่สนิท เหตุผลคือ ถ้าจุกนมหลุดออกจากปากระหว่างหลับ ก็อาจทำให้เจ้าตัวเล็กตื่น หมอเด็กยังแนะนำไม่ให้เด็กที่กินนมแม่ดูดจุกนมในเดือนแรก เพื่อเลี่ยงปัญหาเด็กไม่อยากนมแม่ และติดจุกนม ซึ่งอาจส่งผลต่อการให้นมได้
ต้องเลือกจุกนมแบบไหน เลือกอย่างไร
มีจุกนมมากมายหลายประเภทให้เลือกตามท้องตลาด แล้วคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าจุกนมแบบไหนดีที่สุดสำหรับลูก?
- ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า จุกนมแบบตรง ๆ ดีที่สุดสำหรับเด็กที่กินนมแม่ เพราะเด็กจะได้แยกแยะออกระหว่างจุกนมและนมแม่ (หมายเหตุ: ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวกันนี้ยังแนะนำว่าคุณแม่ที่ให้นมลูกเองควรใช้จุกนมปลอมให้น้อยที่สุดในช่วงเดือนแรก เพื่อจะได้ให้นมได้อย่างเต็มที่)
- การเลือกจุกนมที่มีขนาดเหมาะสมกับเด็กก็สำคัญไม่แพ้กัน เด็กแรกเกิดอาจเหมาะกับจุกนมที่มีขนาดเล็กกว่าเด็กที่โตหน่อย เลือกให้เหมาะสมกับวัย
- ลองซื้อจุกนมหลาย ๆ แบบต่างยี่ห้อ เพื่อจะได้ลองว่าลูกชอบแบบไหน อาจจะต้องใช้เวลาหาอันที่ถูกใจเจ้าตัวเล็ก แต่รับรองว่าคุ้มค่าการลงทุน
หย่าจุกนมเมื่อไหร่
ที่ยากกว่าการเลือกจุกนมให้ลูก คือการตัดสินใจว่าจะให้ลูกหย่าจุกนมเมื่อไหร่
- อายุที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ลูกเลิกใช้เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ขวบ ด้วยเหตุผลหลายประการ ทั้งด้านสังคมประจวบกับเป็นช่วงที่ฟันกำลังขึ้น
- ในขณะที่คุณแม่อีกหลายคนเลือกที่จะให้ลูกหย่าจุกนมก่อนครบขวบ เมื่อเปลี่ยนจากการกินจากขวดนม เป็นกินนมจากถ้วยหรือแก้ว เหตุผลคือหลายคนคิดว่าความอยากดูดของเด็กจะเริ่มหมดไปในช่วงนี้
แต่ไม่ว่าจะ 6 เดือน 1 ขวบ 2 ขวบ หรือโตกว่านั้น ก็แล้วแต่คุณแม่เลยค่ะ
เลิกจุกนมอย่างไร
เช่นเดียวกับการเลือกจุกนม แม้จะไม่ได้มีวิธีหย่าจุกนมตายตัว แต่วิธีต่อไปนี้ก็มักจะใช้ได้ผลเสมอ
- เล่น “นางฟ้าจุกนม” โดยการให้ลูกวางจุกนมไว้ใต้หมอน แล้วก็แอบเอาของขวัญชิ้นเล็ก ๆ มาสลับไว้แทน
- หักดิบ โดยการเอาไปทิ้งตอนลูกหลับ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีล้างขวดนม ล้างอย่างไร ฆ่าเชื้อแบบไหนให้สะอาด ไม่ให้มีคราบเหลือง
ประโยชน์ของขวดนมสีชาขวดนมคอกว้างขวดนมคอแคบ ดีอย่างไร เหมือนกันมั๊ยกับขวดนมแบบอื่น
Overfeeding อันตราย!!! จับตา 5 อาการ เมื่อลูกกินนมเยอะเกินไป