จะรับได้ไหม ถ้าลูกเกิดอาการปรี้ดแตก! คุณพ่อคุณแม่มาเตรียมรับมือกันค่ะ
เด็กหญิง Piper ปรี๊ดแตกสุดๆ เมื่อเธอรู้ว่าจะมีน้องสาวอีกคนที่เพิ่งเกิดและกำลังเดินทางกลับมาที่บ้าน ดูอารมณ์ของเธอน่าจะเสียมากๆ เลยเชียว ถ้าเป็นอย่างนี้คุณจะทำอย่างไร? จะรับได้ไหม ?
8 เทคนิคสยบ เด็กงอแง อาละวาด เอาแต่ใจ มีเทคนิคดีๆ มาแนะนำในการเลี้ยงดูลูกเพื่อปรับพฤติกรรมงอแง อาละวาด เอาแต่ใจให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้ผ่านการเลี้ยงดูของพ่อแม่แบบมีเหตุมีผล เพราะลูกยังเล็กการกระทำของพ่อแม่จะช่วยสอนลูกได้มากกว่ากว่าคำพูดดุว่าเพราะไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกทาง
เมื่อลูกเป็นเด็กงอแง อาละวาด เอาแต่ใจ
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่เจอพฤติกรรมลูกงอแง อาละวาด เอาแต่ไใจ โดยเฉพาะเด้กในช่วงวัย 1 – 3 ขวบ เรียกว่า วายร้ายสายป่วน พฤติกรรมงอแง อาละวาด เอาแต่ใจเริ่มจากต้องการบางสิ่งบางอย่างแล้วไม่ได้ดั่งใจ อาการงอแงจะแตกต่างกันไป เริ่มตั้งแต่ร้องไห้ตีอกชกหัว ไปจนถึงล้มกลิ้งเพื่อเรียกร้องความสนใจ อย่างที่ได้พบเห็นกันตามห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะหน้าร้านขายของเล่น บทความนี้มีวิธีการดี ๆ มาแนะนำค่ะ
8 เทคนิคสยบเด็กงอแง อาละวาด เอาแต่ใจ
เทคนิคที่ 1 : เมยเฉย
เมื่อลูกเริ่มงอแง อาละวาด เอาแต่ใจ วิธีการแรก คือ คุณพ่อคุณแม่ควรเมินเฉยก่อนทำเป็นมองไม่เห็นไม่รู้ไม่ชี้ หรืออุ้มลูกไปในที่ที่สงบ ๆ สิ่งสำคัญห้ามแสดงอาการเกรี้ยวกราดหรือดุลูกนะคะ อีกข้อหนึ่งคือ ห้ามหลงกลเจ้าตัวน้อยด้วยการตามเกมของลูก อย่าสัญญาว่าจะซื้อสิ่งของให้เพียงเพราะเป็นเงื่อนไขให้ลูกหยุดร้องไห้ หยุดอาละวาด เท่ากับเป็นการยั่วยุกระตุ้นพฤติกรรมการอาละวาดเอาแต่ใจของลูกให้หนักหน่วงเพิ่มขึ้น การเมินเฉยต่อพฤติกรรมงอแง อาละวาด เอาแต่ใจตัวเอง ทำให้ลูกรู้ว่า เขาไม่มีทางได้ในสิ่งที่ต้องการหากยังมีพฤติกรรมเช่นนี้
เทคนิคที่ 2 : กอดช่วยเยียวยาทุกสิ่ง
ลูกในวัย 1 – 3ขวบ ถือว่าเขายังเป็นเด็กเล็กมาก บางครั้งเขาไม่เข้าใว่า หากต้องการอะไรแล้วจะได้มาต้องทำอย่างไร จึงแสดงออกด้วยการร้องไห้งอแง ไปถึงถึงตีอกชกหัวตัวเอง หรือบางครั้งทำร้ายผู้อื่น เช่น เตะ ต่อย คุณพ่อคุณแม่นั่นเอง นั่นเป็นเพราะลูกยังไม่ประสีประสาคิดว่าสิ่งที่กระทำนั้นจะทำให้เขาได้สิ่งที่ต้องการ “กอด” ช่วยได้ การกอดให้ความอบอุ่นแก่ลูก และควรทำเป็นประจำความอ่อนโยนจากการกอดจะช่วยสยบความงอแง อาละวาด เอาแต่ใจ อารมณ์ของลูกน้อยจะค่อย ๆ เย็นขึ้นค่ะ
เทคนิคที่ 3 : ห้ามใช้วิธีรุนแรง
เวลาลูกงอแง อาละวาด สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรกระทำ คือ ควบคุมสติของตนเอง อย่าเผลอทำร้ายลูกด้วยการดุด่าว่ากล่าวหรือตีแรง ๆ วิธีการแบบนี้ถือว่าผิดและไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา
ยกตัวอย่างเมื่อลูกร้องไห้อยากได้ของเล่น เมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นสิ่งแรก คือ คุณพ่อคุณแม่นำเทคนิคแรกมาใช้ก่อนเลย คือ การเมินเฉย ค่อย ๆ พูดโดยใช้เหตุผลว่าการกระทำที่ลุกทำอยู่นั้นไม่น่ารักเลย ของเล่นที่บ้านมีเยอะแล้ว หนูไม่สงสารของเล่นเก่า ๆ เหรอคะ เค้าคงเหงาหนูไม่สนใจพวกเค้าแล้ว การพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้เหตุผลในการพูดกับลูกบ่อย ๆ จะช่วยผลูกฝังจิตสำนึกที่มีอยู่ในตัว ลูกได้เรียนรู้และซึมซับการเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล ซึ่งเป็นผลดีต่อตัวลูกเอง
เทคนิคที่ 4 : เพิกเฉยกับคำว่า “ไม่” ของลูกบ้าง
เมื่อลูกพูด ไม่ ไม่ และไม่ เช่น ไม่กินข้าว ไม่อาบน้ำ ไม่ไปโรงเรียน เรียกว่า จุดเริ่มต้นสงครามระหว่างพ่อแม่ และลูก จนเป็นสาเหตุทำให้ลูกงอแง เอาแต่ใจและเริ่มอาละวาดในที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเพิกเฉยกับคำว่า ไม่ ของลูก อย่าไปคะยั้นคะยอหรือ ดุว่าลูก แต่ให้หาวิธีระงับอารมณ์ฉุนเฉียวนั้น เช่น ไม่ยอมกินข้าว เพราะลูกยังเล็ก ลองเอาตุ๊กตาตัวโปรดมาเชิญชวนให้ลูกหม่ำข้าว เชิญชวนให้ป้อนน้องตุ๊กตาที่รักของเขา และป้อนตัวเอง เรียกว่า ให้กินเป็นเพื่อนกัน ทำให้ลูกรู้สึกสนุกสนานที่ได้แสดงบทบาทสสมมตินั้นและลงท้ายมักจะยอมกินข้าวเป็นเพื่อนกับน้องตุ๊กตาตัวโปรด
เทคนิคที่ 5 : พูดคุย
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่คิดแก้ปัญหาพฤติกรรมงอแง อาละวาดและเอาต่ใจตนเองของลูก แต่การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ที่อาจมีปู่ ย่า ตา ยาย หรือลุง ป้า น้า อาอยู่ร่วมกันและที่สำคัญเราต้องฝากลูกให้ท่านช่วยเลี้ยง สิ่งที่ดีที่สุด คือ การพูดทำความเข้าใจเพื่อร่วมกันแก้ไขพฤติกรรมของเจ้าตัวเล็กให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากมีใครคนหนึ่งคอยตามใจ แน่นอนว่าอาการงอแง อาละวาดนั้นหยุดได้ยากแน่นอน
เทคนิคที่ 6 : ฝึกการรอคอย
การงอแง อาละวาด เอาแต่ใจนั้นเกิดจากลูกใจร้อน ไม่รู้จักการรอคอย ใจร้อนอยากได้อะไรต้องได้ คุีพ่อคุณแม่มีหน้าที่ที่ต้องสอนลูกให้รู้ว่า เขาไม่สามารถได้ทุกอย่างที่ต้องการ หรือทุกอย่างในทันที ทำอย่างไรก่อนอื่นคุณพ่อพ่อคุณแม่ต้องใจแข็ง แม้ว่าเขาจะร้องไห้จ้าหรือลงไปนอนดิ้นก็ตาม เพราะหากเราตามใจจะยิ่งส่งเสริมพฤติกรรมงอแง อาละวา เอาแต่ใจให้ติดตัวลูกไปจนโต
ควรเสริมแรงบวกค่ะ ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ ไปตลาดไปซื้อขนมกันดีกว่า ชวนลูกออกไปข้างนอกหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกเกิดความสนใจ การเสริมแรงบวกควรกระทำในเวลาปกติเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำอย่างยิ่ง เช่น ชวนลูกทำกิจกรรมเด็กดีมีน้ำใจ ทำ ตารางติด สติกเกอร์ที่ลูกชอบเวลาที่ลูกทำสิ่งดี ๆ หรือการกอด หอม พูดคุย ชมเชยลูกเมื่อลูกทำดี เน้นว่า ชมเชยที่การกระทำนะคะ สิ่งเหล่านี้ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทำให้ลูกได้เรียนรู้และเข้าใจว่า สิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้อง
เทคนิคที่ 7 : ฝึกให้ลูกหัดพูด และช่วยเหลือตนเอง
สอนลูกให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง เพราะการช่วยเหลือตนเองทำให้ได้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการเล่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่น รับฟังคนอื่นมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่เพียงแค่อยู่ใกล้ชิดคอยช่วยเหลือใยามที่ลูกต้องการแต่ให้ลูกได้พยายามทำด้วยตนเองก่อน และอดทนรอลูก เช่น ให้ลูกหัดติดกระดุมเอง แม้ว่าช่วงแรกจะช้าไปสักหน่อย ค่อย ๆ สอนเมื่อลูกช่วยเหลือตนเองได้บ้างแล้ว ลูกจะเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำ อย่าชมคำชมเชยที่ลูกมีความพยายามจนสำเร็จ เพราะนั่น คือ แรงเสริมทางบวกชั้นดีค่ะ
เทคนิคที่ 8 : ห้ามยั่วยุอารมณ์โกรธ
ข้อนี้สำคัญจริง ๆค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองไปยั่วยุอารมณืโกรธ เท่ากับเราทำตัวเป็นเด็กเหมือนลูกนะคะ เช่น เมื่อลูกกำลังร้องไห้โยเย ไม่ควรเข้าไปกระเซ้าเย้าแหย่ยั่วยุอารมณ์งอแง อาละวาด เอาแต่ใจของลูก เพราะลูกจะยิ่งทวีความโกรธ อารมณ์ร้อน มากขึ้นไปอีก ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหนำซ้ำยิ่งทำให้พฤติกรรมงอแงให้เพิ่มขึ้นอีก
ลูกอารมณ์ร้อน งอแง อาละวาด เอาแต่ใจ แต่อย่าลืมว่า ลูกยังเป็นเด็กเล็กและที่สำคัญลูกไม่เข้าใจว่าควรทำอย่างไรจึงได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ ทำให้ลุกแสดงพฤติกรรมตามช่วงวัยของเขาออกมา คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองจึงมีหน้าที่คอยชี้แนะ อบรมสั่งสอนแบบค่อยเป็นค่อยไป
สิ่งแรกที่ควรกระทำสำหรับพ่อแม่ คือ การควบคุมสติอารมณ์ของตนเองให้คงที่ หากพ่อแม่ขาดทักษะในการเลี้ยงดูลูก คอยแต่จะดุด่าว่ากล่าว หรือใช้อำนาจความเป็นพ่อแม่ แบบนี้ไม่เกิดประโยชน์เลยต่อลูกเลยค่ะ
8 เทคนิคสยบ เด็กงอแง อาละวาด เอาแต่ใจของลูกจะสำเร็จได้ เริ่มจากอารมณ์และความพยายามทำความเข้าใจลูกให้มาก ไม่ต้องรีบร้อนให้ปรับพฤติกรรมได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วแต่เราค่อยๆ เรียนรู้กันไป ไม่ใช่เรื่องยากหรือน่ากังวลเลยค่ะ
เพราะการเลี้ยงลูก เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บ่มเพาะด้วยความรัก ความเข้าใจ คือ สายใยที่เหนียวแน่นของครอบครัว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกดื้อมาก ทำอย่างไรดี
สัญญาณบอกว่าลูกเป็นเด็กสปอยล์
ลูกสาวดื้อ คือลูกสาวที่ฉลาด อย่ากังวลถ้าลูกสาวดื้อซนเกินไป
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!