X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความจริง vs ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก ที่คนเฒ่าคนแก่มักพูดถึง

บทความ 3 นาที
ความจริง vs ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก ที่คนเฒ่าคนแก่มักพูดถึง

พอมีลูก เรามักจะได้ยินคำพูดบางอย่างเวลาผู้ใหญ่มาเยี่ยม เช่น ทำไมลูกน่าเกลียดน่าชัง หรือบางครั้งการที่ลูกมีอาการผวาหรือยิ้มตอนนอน คนเฒ่าคนแก่ก็ว่าแม่ซื้อมาเล่นด้วย ฯลฯ บางเรื่องอาจเป็นเรื่องจริง บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมา มีอะไรที่คนสมัยก่อนมักพูดถึงเกี่ยวกับทารกบาง มาดูกันค่ะ

ความจริง vs ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

ความเชื่อที่ส่งต่อกันมา ตั้งแต่รุ่นตายาย จนถึงคุณแม่ยุคใหม่ทุก ๆ คน มีอะไรบ้าง ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก ข้อไหนที่คนยังคงเชื่อกันอยู่ จนถึงปัจจุบัน และ ความเชื่อไหน ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เรียบร้อยแล้ว มาดูกัน

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

#1 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า ลูกหน้าตา “น่าเกลียดน่าชังจังแลย”

ความเชื่อ

ได้ยินแบบนี้อย่าเพิ่งรีบตกใจ หรือโกรธที่มีคนมาทักลูกเราแบบนี้นะคะ เพราะโบราณเขาว่า เด็กที่ยังเป็นทารกอยู่นั้น แม้จะมีหน้าตาน่ารักอย่างไร ก็ห้ามทักว่าน่ารักเด็ดขาด เพราะเชื่อว่า ถ้าพูดแบบนี้ จะถูกผีมาเอาตัวไป โบราณเขาเชื่ออย่างนั้น จึงให้แก้เคล็ดด้วยการพูดว่า “น่าเกลียดน่าชัง” ผีจะได้ไม่มากวน ทำให้เด็กไม่งอแง ไม่สบาย หรือแย่งเอาชีวิตไป

ความจริง

ถึงแม้ความเชื่อเรื่องนี้แม้ไม่ใช่เรื่องจริง แต่ผู้ใหญ่หลายคน ก็ยังคงพูดสืบต่อกันมา จะสังเกตว่าปู่ย่าตายายมักไม่ค่อยชมเด็ก ๆ ว่าน่ารัก แต่เขาจะพูดว่า “น่าเกลียดน่าชัง” แทน ซึ่งความหมายคำว่า น่าเกลียด ของคนเฒ่าคนแก่ ก็เป็นการแสดงความเอ็นดูทารกน้อยว่า น่ารัก นั้นแหละค่ะ เพราะ ความน่ารัก ไร้เดียงสานั้น มีอยู่ในตัวเด็กทุก ๆ คนอยู่แล้ว

#2 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า เวลาลูกนอนหลับแล้วยิ้มขึ้นมา แสดงว่ากำลังเล่นกับแม่ซื้อ

ความเชื่อ

เวลาที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับอยู่ เรามักจะเห็นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะหลับของลูก เช่น การผวาจากเสียงรบกวน หรือเราอาจจะได้เห็นทารกยิ้มขึ้นมาเองเหมือนกำลังนอนฝันดี ซึ่งอาการลักษณะนี้โบราณเชื่อว่า เด็กกำลังเล่นกับแม่ซื้อ ซึ่งเปรียบเสมือนนางฟ้าประจำตัว ผู้คอยดูแลรักษาคุ้มครองตัวเด็ก ไม่ให้ตัวเล็กเป็นอันตราย ซึ่งประกอบกับบางครั้ง ที่เราอาจจะพบว่าลูกตกจากที่สูง ตกจากเตียง หรือโต๊ะ แล้วไม่ได้รับอันตรายเท่าไหร่ เป็นเพราะมีแม่ซื้อคอยคุ้มครองรองรับให้นั่นเอง

ความจริง

อาการสะดุ้ง กระตุก ผวา หรือยิ้มในขณะที่ลูกหลับ ถือเป็นอาการธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ กับเด็กทารกที่คุณแม่ไม่ต้องตกใจกลัวว่าลูกเป็นอะไรนะคะ  เพราะทารกแรกเกิดมักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอน และตื่นขึ้นมาร้องไห้ เพราะหิว หรือขับถ่าย ไม่สบายตัว อาจสะดุ้งตกใจกับเสียงดัง เป็นเรื่องปกติของเด็กทารกในวัยนี้ ที่กำลังเริ่มปรับชินให้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่นั่นเอง

#3 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า ลูกมีปาน คือ เด็กที่เคยเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง

ความเชื่อ

เรื่องปาน หรือรอยตำหนิที่ติดตัวเด็กทารกมา โบราณเชื่อว่า ทารกนั้นเคยได้เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง แล้วถูกป้ายเพื่อทำเป็นหนิเอาไว้ ปานแดงก็เชื่อว่า ถูกป้ายด้วยปูนแดง และปานดำจะถูกป้ายด้วยถ่าน เพื่อว่าเวลาที่เกิดใหม่อีกครั้ง ญาติพี่น้องในชาติที่แล้ว จะจำได้จากตำหนิ

ความจริง

ปาน กระ หรือรอยตำหนิที่ติดตัวมากับทารก อาจเกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ และการเกิดปานไม่ว่าจะสีใดก็ตาม เป็นเพราะเซลล์ผิวหนังผิดปกติ เป็นเรื่องของผิวหนังของทารกแต่ละคนที่สามารถเกิดขึ้นได้

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

Read : ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก อันตรายไหม?

#4 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า ถ้าทารกร้องไห้ไม่หยุด ต้องทำการเรียกขวัญ

ความเชื่อ

เวลาที่เด็กร้องไห้ไม่หยุด โบราณเขาว่า ให้ทำการเรียกขวัญเด็กง่าย ๆ ด้วยการโอบกอด และตบหลังเบา ๆ พร้อมพูดว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมา” เป็นการเรียกขวัญ ให้กลับเข้ามา เพื่อเด็กจะได้หยุดร้องไห้ ความเชื่อนี้เรายังเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น เวลาที่ลูกล้มเจ็บ หรือตกใจร้องไห้เสียงดัง พ่อแม่ก็มักจะปลอบลูกด้วยคำพูดว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมา” จนเป็นความคุ้นชิน ที่ทำกันต่อ ๆ มาไปซะแล้ว

ความจริง

การที่เด็กทารกร้องไห้เสียงดัง ไม่หยุดร้องนั้น เป็นเพราะลูกน้อยยังไม่สื่อสารเป็นคำพูดได้นั้นเอง การร้องไห้ จึงเป็นการแสดงออกให้พ่อแม่รู้ และตอบสนองต่อความต้องการของเขา เช่น หิวแล้ว ได้เวลากินนม หรือง่วงนอน หรือไม่สบายตัว หรือต้องการให้พ่อแม่เอาใจใส่ ซึ่งการที่พ่อแม่ได้เข้ามาโอบกอด จะทำให้ลูกสัมผัสได้ถึงความรัก และรู้สึกมั่นคงถึงความปลอดภัย และเมื่อลูกพอใจในสิ่งที่ต้องการก็จะหยุดร้องเอง

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

_________________________________________________________________________________________

Credit content : www.thainannyclub.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้ เกี่ยวกับทารกแรกเกิด

ดูดวง ทำนายฝัน ฝันเห็นมรดก ถุงเงิน มรกต ผ้าแพร อาคาร

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ความจริง vs ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก ที่คนเฒ่าคนแก่มักพูดถึง
แชร์ :
  • 12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

    12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

  • 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

    5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

  • 12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

    12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข

  • 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

    5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก จากประสบการณ์กุมารแพทย์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ