X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ของเล่นน้อยชิ้นทำให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น

บทความ 3 นาที
ของเล่นน้อยชิ้นทำให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น

การเรียนรู้ผ่านการเล่นนำมาซึ่งจินตนาการและการพัฒนาสมองให้กับเด็กๆทุกคน เราควรจะเลือกของเล่นที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก แต่การมีของเล่นมากชิ้นเกินไปจนล้นห้องนั้นไม่ได้แปลว่าลูกจะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการจากจำนวนของเล่นเหล่านั้น เราควรจำกัดของเล่นของเด็กโดยผ่านหลักการความเข้าใจพื้นฐานดังนี้

RBIS08052015_2

 

  1. เด็กสามารถที่จะเรียนรู้จินตนาการเองได้ การที่มีของเล่นเยอะเกินไปอาจเป็นการจำกัดจินตนาการของเด็กที่ควรจะมีก็เป็นได้ มีนักวิชาการด้านการศึกษาชาวเยอรมัน 2 คนได้ทดลองนำของเล่นออกจากห้องเรียนเด็กอนุบาลเป็นเวลา 3 เดือน แรกๆเด็กจะเบื่อและดูเหมือนไม่มีอะไรทำแต่เวลาต่อมาเด็กเริ่มหันมาเล่นมาคุยกันมากขึ้น และช่วยกันสร้างสรรค์เกมและการเล่นร่วมกันมากขึ้นด้วย เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการพูดคุยและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนได้มากขึ้น
  2. เด็กจะพัฒนาสมาธิได้นานขึ้น เราไม่ควรให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เร่งเร้า ตื่นเต้นตลอดเวลา การเล่นของเล่นน้อยชิ้นและให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้นานนั่นหมายถึงเด็กได้ฝึกสมาธิซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งจะต่างกับเวลาที่เด็กรู้ว่ามีของเล่นอีกสารพัดชิ้นในห้อง เด็กจะตื่นเต้นและรีบซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการสอนให้เด็กสามารถสร้างสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้
  3. การที่เด็กมีของเล่นน้อยชิ้น ไม่มากหรือน้อยเกินไปเราสามารถสอนให้เด็กรักษาของให้เห็นถึงคุณค่าของมัน ถ้าลูกไม่รักษาของลูกก็จะมีของเล่นน้อยชิ้นลง หลักการง่ายๆแบบนี้ลูกจะเรียนรู้อย่างรวดเร็วถึงการดูแลรักษาของ

RBIS08052015_1

  1. เล่นของเล่นน้อยลงจะทำให้เด็กมีโอกาสและเวลามากขึ้นกับการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานศิลปะและดนตรี จะช่วยให้เด้กมีอารมณ์ที่เย็นและหนักแน่นและสามารถเข้าใจสิ่งรอบตัวได้ดีมากขึ้น เราสามารถพาลูกไปเล่นกีฬาอยู่กับธรรมชาติมากขึ้นแทนที่จะเล่นแต่ของเล่น
  2. รู้จักวิธีแก้ปัญหา จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาที่ดี คือการสามารถปลูกฝังให้เด็กค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์หรือทักษะที่มีอยู่รอบตัว ในการเล่นก็คงเหมือนกันเราสามารถนำหลักการนี้มาใช้กับการเล่นของลูก ของเล่นน้อยชิ้นหมายถึงลูกจะต้องถูกบังคับไปในตัวให้ฝึกการตัดสินใจ การแก้ปัญหาการสร้างสรรค์ด้วยอุปกรณ์ที่มีจำกัด ความสามารถในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่มีอุปกรณ์ ผู้ช่วยจำกัดจะเป็นทักษะที่วิเศษเป็นอย่างมากสำหรับลูกในวัยที่เป็นผู้ใหญ่
  3. ลูกทะเลาะกันน้อยลง พ่อแม่หลายคนคิดว่ามีของเล่นให้ลูกมากๆจะได้ไม่แย่งกัน เถียงกัน แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ ทุกครั้งที่ลูกมีของเล่นใหม่ลูกก็มีโอกาสถกเถียงกัน ถ้าการแก้ปัญหาคือซื้อสองชิ้นจะได้ไม่แย่งกันเป็นทางออกของคุณนั่นคุณกำลังสอนให้ลูกคุณไม่รู้จักการแบ่งปัน พี่น้องที่มีของเล่นน้อยชิ้นพ่อแม่ต้องสอนให้แบ่งปันให้อยู่ร่วมกันให้ได้ เราต้องสอนไม่ให้ลูกเห็นแก่ตัว
  4. สอนความอดทนและมุ่งมั่น ของเล่นน้อยชิ้นหมายถึงเด็กมีตัวเลือกน้อยลงเพราะฉะนั้นเด็กจะต้องเล่นของเล่นชิ้นนั้นถึงแม้ว่าจะยากแค่ไหนก็ตามเพราะไม่มีตัวเลือกอื่นให้เลือก และนี่เองเด็กจะต้องพยายามเล่นให้ได้ เช่นถ้าเป็นเกมต่อภาพเด็กจะได้ฝึกความอดทน การมุ่งมั่น สมาธิ ถ้าทำได้ครึ่งทางแล้วยากแต่พอเห็นมีของเล่นอื่นที่ง่ายกว่าเด็กก็จะทิ้งเกมต่อภาพไปทำ/เล่นอย่างอื่นที่ง่ายกว่า เราควรส่งเสริมให้เด็กสร้างความอดทนทำอะไรก็ทำให้สำเร็จ
  5. เราจะได้มีโอกาสสอนลูก เลี้ยงลูกให้เข้าใจว่าการเล่นของเล่นไม่ใช่กิจกรรมสำคัญที่สุดในชีวิต ร้านของเล่นไม่ใช่ที่ที่ต้องไปบ่อยกว่าสวนสาธารณะ เราควรสอนลูกว่าความสุข สนุก ไม่จำเป็นต้องได้มาจากการเสียเงินเพื่อไปซื้อมา ความสุข สนุกสามารถสร้างเองได้และไม่มีของเล่นก็มีความสุขได้เช่นกัน

เขียนโดย : อาวีนันท์ กลีบบัว Executive School Director , RBIS Rasami British International School

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • ของเล่นน้อยชิ้นทำให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น
แชร์ :
  • ของเล่นเสริมความคิดสร้างสรรค์

    ของเล่นเสริมความคิดสร้างสรรค์

  • ลูกคุณเป็นนักคิดสร้างสรรค์หรือไม่?

    ลูกคุณเป็นนักคิดสร้างสรรค์หรือไม่?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ของเล่นเสริมความคิดสร้างสรรค์

    ของเล่นเสริมความคิดสร้างสรรค์

  • ลูกคุณเป็นนักคิดสร้างสรรค์หรือไม่?

    ลูกคุณเป็นนักคิดสร้างสรรค์หรือไม่?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ