X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากอะไร? วิธีหยุดทารกไม่ให้สะอึก ทำอย่างไร?

บทความ 5 นาที
ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากอะไร? วิธีหยุดทารกไม่ให้สะอึก ทำอย่างไร?

อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร แม้ว่าลูกน้อยของเราจะยังเด็ก แต่ว่าเด็กก็เจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนกับเราได้ แม้แต่ตอนที่กินข้าวหรือกินนม เด็ก ๆ ก็สามารถสะอึกได้เหมือนกับผู้ใหญ่ ลูกสะอึกทำไงดี เด็กสะอึก ทารกแรกเกิดสะอึก ทารกสะอึก ลูกสะอึกบ่อย หลังกินนม หรือ ลูกสะอึกในท้อง แก้ปัญหาการสะอึกยังไงให้ได้ผล ลูกสะอึกบ่อย จะมีวิธีแก้ไขหรือไม่ อาการเด็กสะอึก คล้ายกับผู้ใหญ่หรือเปล่า ลูกสะอึกบ่อย สะอึกเกิดจากอะไรได้บ้าง มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันดีกว่า

 

อาการสะอึก คืออะไร

ลูกสะอึกบ่อย ปัญหาสุดฮิตของทารก หลังกินนม ลูกมักจะมีอาการสะอึก ซึ่งการที่เด็กสะอึกนั้น สร้างความกังวลให้พ่อแม่มือใหม่อย่างมาก เพราะพ่อแม่หลาย ๆ คน ไม่รู้จะทำยังไงให้ลูกเลิกสะอึก แถมยังไม่แน่ใจด้วยว่า จะสามารถใช้วิธีเดียวกันกับที่ผู้ใหญ่ใช้ได้หรือไม่ แต่ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ

 

อย่างแรกเลย เราต้องทำความเข้าใจกันก่อน ว่าการที่เด็กทารกแรกเกิดมีอาการสะอึกหลังจากให้นมนั้น เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่อันตรายร้ายแรงแบบที่กลัวค่ะ ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการรับมือกับอาการสะอึกของเด็ก ๆ เรามาดูกันก่อน ว่าอาการสะอึกนั้น มีลักษณะเป็นยังไง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

อาการสะอึกในเด็ก 2

อาการสะอึกในเด็ก ทารก เด็กทารก เด็กแรกเกิด สะอึก แก้อาการสะอึก ลูกน้อยสะอึกทำไงดี ลูก สะอึก บ่อย เด็ก ทารก สะอึก บ่อย (ภาพโดย KamranAydinov จาก freepik )

 

สะอึก คือ อาการที่เกิดจากการที่กระเพาะอาหารของคนเรานั้น เกิดความระคายเคือง จนเส้นประสาททำงานผิดปกติ จนทำให้กะบังลมหดเกร็งนั่นเองค่ะ ซึ่งคนทุกคนมีอาการสะอึกกันได้ แม้แต่เด็กทารกแรกเกิดเองก็สะอึกได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติใด ๆ ค่ะ

 

ลูกสะอึกบ่อย สะอึก เกิดจากอะไรได้บ้าง ? สะอึกทำไงดี

การที่ลูกน้อยของเราสะอึก อาจเกิดจากการที่กระเพาะอาหารของเด็กเกิดการขยายตัวหลังจากที่กินนมเข้าไป จนทำให้เกิดแรงดันขึ้นที่กะบังลม ในช่วงแรก เด็ก ๆ อาจจะสะอึกบ่อย แต่เมื่อเด็ก ๆ มีอายุได้ 4-5 เดือน เด็ก ๆ จะเริ่มสะอึกน้อยลงค่ะ นอกจากนี้ อาการสะอึกของเด็กทารก ยังอาจเกิดจากก้อนเนื้องอก ความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง หรือเกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้อีกด้วย รวมทั้งหากเด็ก ๆ รู้สึกตกใจกะทันหัน หรือรู้สึกเครียด เด็กก็อาจสะอึกได้เช่นเดียวกันค่ะ

 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสะอึก ลูกสะอึกบ่อย อันตรายไหม

มีหลาย ๆ ครั้ง ที่อาการสะอึก ไม่ได้เกิดจากการขยายตัวของกระเพาะอาหาร หรือเป็นเพราะกลไกร่างกายโดยทั่วไปเท่านั้น แต่เกิดจากโรคและความผิดปกติบางอย่างของเด็ก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากปล่อยไว้นาน เช่น

  • ความผิดปกติที่กะบังลม หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้กะบังลม ได้แก่ หลอดอาหาร ปอด เส้นประสาทกะบังลม ซึ่งอาจเกิดจากการที่หลอดอาหารทำงานผิดปกติ ปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ หรือมีเลือดออกในปอดและช่องอก
  • ความผิดปกติในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบเฉียบพลัน กระเพาะหรือลำไส้อุดตันหรือไม่ทำงาน ตับอ่อนอักเสบ
  • ความผิดปกติที่สมอง เช่น กะโหลกศีรษะแตก สมองถูกกระทบกระเทือน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

 

อาการสะอึกในเด็ก

อาการสะอึกในเด็ก สะอึกเกิดจาก อะไร ลูกสะอึกบ่อย ทารกสะอึกหลังกินนม ถ้าลูกของเราเติบโตเกินวัยทารกและมีอาการสะอึกล่ะ ? ทารก เด็กทารก เด็กแรกเกิด สะอึก ลูก สะอึก บ่อย เด็ก ทารก สะอึก บ่อย (ภาพโดย yanalya จาก freepik)

 

วิธีแก้อาการสะอึก หลังทารกกินนมเสร็จ ลูกสะอึกบ่อย แก้ปัญหายังไงดี

หากว่าลูก ๆ ของเรามีอาการสะอึก และคุณแม่เองก็รู้สาเหตุที่ทำให้ลูกสะอึก อย่างแรกเลย เราต้องพยายามแก้ที่ต้นเหตุก่อนค่ะ หากสงสัยว่าลูกสะอึกเพราะมีอาหารติดในลำคอ ก็ควรให้ลูกดื่มน้ำแก้สะอึก แต่หากไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ลูกสะอึก อาจลองใช้วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ค่ะ

  • ให้ลูกดื่มน้ำหลาย ๆ ครั้ง ดื่มไปเรื่อย ๆ หรือจะลองให้ลูกกลั้นหายใจจนอาการสะอึกหายก็ได้ นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถทำให้ลูกจาม โกรธ กลัว ตื่นเต้น หรือเกิดอารมณ์รุนแรงอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดสะอึกได้ด้วย
  • การให้ลูกดูดนมแม่ ก็ถือเป็นวิธีที่ช่วยแก้อาการสะอึกได้ดี โดยที่ไม่ต้องให้ลูกกินน้ำ แต่ถ้าลูก ๆ หย่านมแล้ว อาจจะแก้สะอึกโดยให้ลูกกินนมจากขวดนมแทนได้
  • ให้ลูกนั่งบนตัก นั่งตัวตรง แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับประคองคางลูกไว้ พยายามให้ตัวเด็กเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือลูบหลังเด็กเบา ๆ ช้า ๆ ลูบจากเอวด้านหลังขึ้นมาจนถึงต้นคอ เพื่อเป็นการไล่ลม
  • ทุกครั้งหลังจากที่ลูกกินนมแล้ว คุณแม่ต้องทำให้ลูกเรอเพื่อไล่ลมออกทุกครั้งค่ะ ซึ่งทำได้โดยการตบหลังลูกเบา ๆ หรือวนมือเป็นวงกลมบริเวณท้องก็ช่วยได้เหมือนกันค่ะ

 

สิ่งที่ไม่ควรทำกับลูก เมื่อลูกน้อยสะอึก

หากว่าลูกสะอึกบ่อย เราก็คงจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยให้ลูกสะอึกน้อยลง แต่ก็มีบางอย่าง ที่เราไม่ควรทำกับลูก เช่น ให้ลูกกินนมเปรี้ยวหรืออาหารเปรี้ยวจัด กดตาลูกแรง ๆ ตบหลังลูกแรง ๆ หรือดึงลิ้นเด็กจนเด็กเจ็บ เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เด็กยิ่งตกใจมากขึ้นกว่าเดิมได้ค่ะ

 

ลูกสะอึกแบบไหน เด็กแรกเกิดสะอึกยังไง ต้องพาไปหาหมอ

แม้ว่าเด็กทารกจะสะอึกได้เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่บางครั้ง คุณแม่ก็ต้องสังเกตอาการของเด็ก ๆ ให้ดี หากว่าเด็ก ๆ ไม่หยุดสะอึกสักที สะอึกมานานหลายชั่วโมง แม้ว่าจะลองใช้หลาย ๆ วิธีแล้วก็แก้ไม่หาย พร้อมทั้งมีอาการอื่น ๆ เกิดร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ปวดท้อง อาเจียน ไอ หายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก เป็นต้น ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การดูแลอาการป่วยที่พบบ่อยในทารก อาการป่วยทารก อันตราย ที่พ่อแม่ต้องรู้!
ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง
ทารกป่วยโรคไอกรน สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 1 ปี ติดเชื้อจากคนในครอบครัว

ที่มา : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกสะอึกบ่อย เกิดจากอะไร? วิธีหยุดทารกไม่ให้สะอึก ทำอย่างไร?
แชร์ :
  • ไขข้อสงสัย เมื่อลููก "สะอึก" ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

    ไขข้อสงสัย เมื่อลููก "สะอึก" ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

  • วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก

    วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ไขข้อสงสัย เมื่อลููก "สะอึก" ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

    ไขข้อสงสัย เมื่อลููก "สะอึก" ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

  • วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก

    วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว