สาเหตุของการตายคลอด
ทำไมการตายคลอดจึงเกิดขึ้น?
ยังไม่สามารถระบุเหตุผลที่แน่นอนได้ แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดการตายคลอด ได้แก่
เลือดออกที่สายรกในครรภ์
ความผิดปกติของโครโมโซม หรือความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม
ความผิดปกติทางโครงสร้างของทารก
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ความผิดปกติเกี่ยวกับสายสะดือ
ทารกเกิดภาวะพร่องออกซิเจน
ผลข้างเคียงจากโรคประจำตัวของมารดา
ติดเชื้อ
ผลข้างเคียงจากโรคเบาหวานของแม่
ผลข้างเคียงจากมารดาที่รับสารนิโคติน แอลกอฮอลล์ และยาเสพติด
บทความใกล้เคียง: ท้องหลังอายุ 35 จะดีมั้ย
การคลอดบุตรที่ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โดยปกติแล้วการที่ทารกตายในครรภ์ไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาในทันที ผู้เป็นมารดาจะกลับสู่ภาวะปกติได้ภายในสองสัปดาห์ อย่างไรก็ตามคุณแม่ส่วนใหญ่เลือกที่ลดเวลาพักฟื้นหลังคลอด โดยมีตัวช่วยอย่างห่วงที่ใส่ในช่องคลอด ที่จะช่วยให้ผิวหนังที่ปากช่องคลอดนุ่มขึ้น ลดเวลาการพักฟื้นได้ ในบางครั้ง การให้ยาทางเส้นเลือดดำก็ช่วยเร่งให้มีการหดรัดตัวของมดลูก ในขณะที่ยาแก้ปวด (มักให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ) สามารถช่วยลดความเจ็บปวดหลังคลอดได้
หลังจากที่คลอดทารกที่เสียชีวิตในครรภ์ออกมาแล้ว บางส่วนของรกอาจจะยังอยู่ในมดลูก คนไข้จึงอาจจะต้องทำการขูดมดลูก ทำการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ เพื่อนำส่วนของรกออกจากมดลูก
หลังจากที่การคลอดบุตรเสร็จสิ้นลงแล้ว พ่อแม่จะมีทางเลือกให้หมอชันสูตรทารก ซึ่งจะสามารถตรวจหาข้อมูลจากอวัยวะภายในของทารกว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยถึงสาเหตุของการตายคลอดได้ หากแต่การชันสูตรทารกไม่สามารถกระทำโดยพลการได้ แพทย์ต้องปรึกษาและได้รับอนุญาตจากฝ่ายคนไข้เท่านั้น
หลังจากผ่านไปวันสองวัน มารดาจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ มารดาส่วนมากจะกลับมาที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจร่างกายอีกครั้งและเพื่อรับผลการชันสูตรทารกหลังผ่านไป 6 สัปดาห์ และหากคนไข้มีอาการหลังคลอดก่อนกำหนดตรวจร่างกาย อาจจะต้องให้รีบมารับการรักษาเพิ่มเติมเพื่อหยุดการผลิตน้ำนม
การที่ต้องผ่านประสบการณ์การตายคลอดเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าและอาจสร้างบาดแผลทางจิตใจแก่ผู้เป็นมารดาและครอบครัวได้ ความเครียดและอารมณ์โศกเศร้าอาจนำไปสู่ความไม่เชื่อ ปฏิเสธ และความสับสน และอาจจะเลยไปถึงอารมณ์โกรธ และความขมขื่น ซึ่งเป็นระยะของอาการเศร้าซึมตามธรรมชาติ
ให้กำลังใจมารดาที่ต้องประสบกับการตายคลอด
เพื่อที่จะช่วยให้ผู้เป็นมารดาผ่านพ้นความโศกเศร้าจากการเสียบุตร กฎเหล็กที่ต้องทำก็คือ อย่าคอยบอกความคิดเห็นส่วนตัวของคุณเกี่ยวกับชีวิตของเธอ การสูญเสีย รวมไปถึงทัศนคติที่เธอควรมีต่อเด็ก
ก่อนที่จะคุยกันเรื่องเด็กกับครอบครัวของผู้สูญเสีย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถามว่าพวกเขาพร้อมจะคุยเรื่องนี้หรือยัง หากยังก็รอจนกว่าเขาจะพร้อม และบอกเขาว่าคุณจะรอฟังจากเขาเมื่อพร้อมจริง ๆ พูดให้กำลังใจ และทำให้เขาเห็นถึงคุณค่าในตัวเอง เลี่ยงประโยคประเภท “มันก็เป็นแบบนี้แหละ” “เธอยังอายุน้อย มีลูกใหม่ก็ได้” หรือ “ลูกของเธอไปสบายแล้วล่ะ” ไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากได้ความคิดเห็นจากคนรู้จักว่าทำไมเรื่องถึงเกิดขึ้น หรือทำอย่างไรถึงผ่านพ้นเรื่องนี้ไปได้ ขอแค่คุณจริงใจต่อความรู้สึกของคุณก็พอ
บทความแนะนำ: วิธีปลอบใจคนแท้ง
บทความแนะนำ: ทำเด็กหลอดแก้วก็มีโอกาสแท้งเช่นกัน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!