X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เสียงร้องทารกมีความหมาย

บทความ 3 นาที
เสียงร้องทารกมีความหมาย

สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายจำเป็นต้องเรียนรู้ คือการแยกเสียงร้องแบบต่าง ๆ ของลูกน้อยวัยทารก เด็กบางคนอาจร้องไม่มากนัก ในขณะที่เด็กบางคนอาจร้องมากหน่อย แต่เด็กทุกคนก็มีความต้องการพื้นฐานคล้าย ๆ กัน

เสียงร้องทารก

เสียงร้องทารกมีความหมาย

ในช่วงแรกเกิด 2-3 วันแรก คุณอาจจะยังไม่รู้สาเหตุที่ลูกร้องไห้ แต่เมื่อคุณเริ่มคุ้นเคย คุณก็จะสามารถแยกแยะเสียงร้องแบบต่าง ๆ ได้ และบอกได้จากเสียงร้องไห้ว่าพวกเขาต้องการอะไร

เด็กทารกทุกคนมีความต้องการพื้นฐานไม่ต่างกัน การเรียนรู้ความต้องการพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจสาเหตุที่ลูกน้อยร้องไห้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ร้องไห้เพราะหิว

ความหิวมักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทารกร้องไห้ เด็กที่ร้องไห้เพราะหิวมักจะร้องต่อเนื่องเป็นเวลานานและมักจะดูดนิ้วหรือจุกนมไปพร้อม ๆ กัน เด็กบางคนอาจดิ้นหรือมีอาการยุกยิกร่วมด้วย เมื่อคุณอุ้มเขาขึ้นมา เด็กจะพยายามหาหน้าอก แม้ว่าคุณจะเพิ่งให้นมไปไม่นาน แต่เขาอาจจะเริ่มหิวอีกรอบ เด็กจะหยุดร้องทันทีที่คุณให้นม

ร้องไห้เตือน

การร้องประเภทนี้เป็นการสื่อสารให้พ่อแม่รู้ว่าทารกเพิ่งปัสสาวะ หรือกำลังรู้สึกไม่สบายตัว เช่น หนาวหรือร้อนเกินไป โดยเด็กจะเริ่มร้องแบบกระทันหัน และจะค่อย ๆ ร้องมากขึ้น คุณควรเช็คผ้าอ้อมหรือดูว่ามีอะไรที่ทำให้ทารกไม่สบายตัวหรือไม่ เช่น เสื้อผ้าที่รัดเกินไป เป็นต้น

เสียงร้องเพราะเหนื่อย

Advertisement

บางครั้งทารกก็ร้องไห้เพราะรู้สึกเหนื่อย การร้องแบบนี้จะเป็นการร้องเสียงดังก้อง เด็กอาจมีอาการกระสับกระส่าย พยายามขยี้ตา หรือขยับแขนขา การเปิดเพลงเบา ๆ กล่อมอาจช่วยให้เด็กสงบลงได้ บางครั้งการอยู่ในที่ ๆ มีคนพลุกพล่านก็อาจทำให้เด็กเครียดได้ ความอึกทึกมักทำให้เด็กเพลียได้อย่างรวดเร็ว วิธีแก้คือพาเขาไปอยู่ในที่ที่ไม่พลุกพล่านนัก

เสียงร้องเรียกร้องความสนใจ

เด็กแรกเกิดต้องการความสนใจจากพ่อแม่ค่อนข้างมาก จึงไม่แปลกที่เด็กมักจะร้องไห้เมื่อถูกทิ้งไว้ลำพัง ถ้าเด็กจะหยุดร้องทันทีที่คุณอุ้มเขาขึ้นมา นั่นแปลว่าเขาแค่ต้องการอยู่ใกล้ ๆ คุณ หรือได้ยินเสียงหัวใจหรือลมหายใจของคุณ อย่างห่วงว่าคุณจะทำให้ลูกเรียกร้องความสนใจจนเคยตัว เพราะนั่นเป็นสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดในช่วงขวบแรก

ร้องไห้เพราะเจ็บปวด

ถ้าเด็กรู้สึกเจ็บหรือปวด เด็กจะแผดร้องด้วยเสียงที่ดังที่สุดเท่าที่จะทำได้ มักเกิดขึ้นแบบกระทันหัน ลองเช็คดูว่าลูกอยู่ในท่าที่ทำให้ไม่สบายตัว แขนหรือขาไปเกี่ยวติดกับสิ่งของอื่น ๆ อยู่หรือไม่ หากเด็กยังไม่หยุดร้อง ลองถอดเสื้อผ้าเพื่อเช็คว่ามีอะไรที่ทำให้เขาไม่สบายตัวหรือไม่

บทความใกล้เคียง: สิ่งควรรู้เรื่องผิวพรรณเด็ก

ร้องไห้เพราะป่วย

ผู้ปกครองมักรู้ได้ทันทีหากลูกไม่สบาย การร้องแบบนี้จะแตกต่างจากการร้องแบบอื่น ๆ ทั้งหมด อาจเป็นการร้องไห้เบา ๆ ประกอบกับอาการเหนื่อยอ่อนหรือเซื่องซึม ถ้าลูกกินอาหารได้น้อยลง มีอาการท้องร่วงหรืออาเจียน ผู้ปกครองควรพาไปพบแพทย์ทันที

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ทารกบางคนอาจร้องไห้เป็นเวลาประจำ เช่นเวลากลางคืน ซึ่งอาจหมายความว่าเด็กหิว หรือมีอาการโคลิค หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับลักษณะการร้องไห้ของลูก ลองปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

บทความแนะนำ: อาการป่วยที่พบบ่อยในเด็กเล็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เสียงร้องทารกมีความหมาย
แชร์ :
  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว