X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบดูดนิ้ว ปกติหรือน่ากังวล?

บทความ 3 นาที
ลูกชอบดูดนิ้ว ปกติหรือน่ากังวล?

ลูกชอบดูดนิ้วหรือเปล่าคะ? การดูดนิ้วเป็นวิธีสำรวจสภาพแวดล้อมรอบตัวของทารกและเด็กวัยเตาะแตะ จึงนับเป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งก้าวหนึ่งค่ะ

ลูกชอบดูดนิ้ว

ลูกชอบดูดนิ้ว ปกติหรือน่ากังวล?

อย่างไรก็ตาม มีเด็กหลายคนติดดูดนิ้วต่อเนื่องจนถึงอายุ 5-6 ขวบ เด็กเหล่านี้ควรได้รับการตรวจรักษาก่อนที่การดูดนิ้วจะนำไปสู่ปัญหาการสบของฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion)

ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าเด็กซึ่งเล็กกว่า 5 ขวบไม่ควรถูกบังคับให้เลิกดูดนิ้ว เด็กส่วนใหญ่จะเลิกติดดูดนิ้วไปเองก่อนจะเข้าเรียนชั้นอนุบาล

ความจริงแล้ว มากกว่าสามในสี่ของเด็กทารกดูดนิ้วตลอดช่วงขวบปีแรกของชีวิต เด็กมักดูดนิ้วเมื่อรู้สึกเบื่อ ง่วงหรือหงุดหงิด นอกจากนี้ยังไม่ใช่เรื่องแปลกที่การดูดนิ้วอาจเกิดควบคู่ไปกับพฤติกรรมอื่น เช่น ใช้นิ้วพันผมเล่น จับหูตัวเองหรือลูบ “ผ้าห่มผืนโปรด”

การติดดูดนิ้วเรื้อรังอาจนำไปสู่ปัญหาการสบฟันหน้าไม่สนิทและฟันหลังสบไขว้ ผลกระทบของการดูดนิ้วขึ้นอยู่กับวัยของเด็ก ระยะเวลา ความถี่และความแรงของการดูดนิ้ว ตามปกติแล้วหากตรวจพบก่อนที่ขากรรไกรบนของเด็กจะเติบโตสมบูรณ์ ปัญหาการสบฟันอันเกิดจากการดูดนิ้วมักหายได้เอง แต่หากเด็กยังติดนิสัยนี้ต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข การสบฟันผิดปกติจากการดูดนิ้วอาจจำเป็นต้องได้รับการจัดฟันที่ยุ่งยากซับซ้อนต่อไปในอนาคต

การเลิกนิสัยดูดนิ้วจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นหลายเท่าหากเด็กเองพร้อมที่จะเลิก พ่อแม่หลายคนประสบความสำเร็จด้วยการดึงลูกเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนทางพฤติกรรมอย่างง่าย ๆ ค่ะ

วิธีการเลิกนิสัยดูดนิ้วของลูก

Advertisement

ขั้นแรก อย่าเอ่ยเรื่องดูดนิ้วเลยเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม หากการดูดนิ้วของลูกเป็นเรื่องที่เข้าข่าย “ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ” วิธีนี้ก็อาจช่วยบรรเทาความถี่ของการดูดนิ้วลงได้ ขั้นต่อไปคือให้ซื้อกระดานไวท์บอร์ดขนาดใหญ่และสติ๊กเกอร์เพื่อทำ “ชาร์ตความคืบหน้า” คุณพ่อคุณแม่ควรให้รางวัลลูกทุกปลายสัปดาห์ที่ลูกไม่อมนิ้วเลยและให้รางวัลใหญ่ถ้าลูกไม่อมนิ้วตลอดทั้งเดือน สิ่งสำคัญคือลูกต้องมีส่วนรวมอย่างแข็งขันในแผนการนี้ เช่น ตกลงร่วมกับลูกว่าจะอนุญาตให้ลืมตัวอมนิ้วได้กี่ครั้งในหนึ่งสัปดาห์และให้ลูกเป็นคนเลือกสติ๊กเกอร์แปะบนชาร์ต

อีกวิธีที่น่าจะได้ผลคือใช้ของเหลวรสขมแต้มบนเล็บของลูก (อย่าแต้มโดยตรงบนนิ้วมือ) โดยเฉพาะในตอนกลางคืนเพื่อเตือนใจไม่ให้ลูกอมนิ้ว ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่ของใกล้มือในครัวเรือนก็นำมาใช้ได้ผลเช่นกัน ลองตำบอระเพ็ดหรือมะระให้แหลกและนำน้ำที่ได้มาแต้มบนปลายเล็บลูกเป็นเวลาสองสัปดาห์ ลูกจะเกลียดรสขมจนไม่อยากดูดนิ้ว นอกจากนี้ยังสามารถให้ลูกใส่ถุงมือหรือสนับนิ้วมือช่วยตอนกลางคืนด้วย ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาทั้งสิ้นอย่างน้อยหกสัปดาห์กว่าลูกจะเลิกดูดนิ้วได้โดยเด็ดขาด

สิ่งสำคัญที่สุดระหว่างที่ลูกกำลังพยายามเลิกดูดนิ้วคือคุณควรหมั่นชมเชยและให้กำลังใจลูก คุณอาจให้รางวัลลูกด้วยการกอด พาลูกไปเที่ยวข้างนอกหรือเล่นเกมใหม่ๆ ด้วยกัน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ชวนให้ลูกดูดนิ้วเช่นขณะดูโทรทัศน์หรือนั่งอยู่บนรถด้วย

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

หากแผนการนี้ใช้ไม่ได้ผลก็อย่าเพิ่งท้อแท้นะคะ การจะเลิกนิสัยที่ติดมานานเป็นเรื่องยากและเด็กบางคนอาจต้องการความช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ ลองคุยกับทันตแพทย์เด็กดู คุณหมออาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์จัดฟันเช่น “ลวดจัดฟัน” หรือ “เครื่องมือแก้นิสัยลิ้นดุนฟัน” ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบติดแน่นและแบบถอดได้ค่ะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกชอบดูดนิ้ว ปกติหรือน่ากังวล?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว