“หัวใจ” ดูแลได้...เริ่มจากเลือกกินให้ดี

จากผลสำรวจขององค์กรอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลกโดยในปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 17.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของการเสียชีวิตทั้งหมด1 สำหรับประเทศไทย โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี2 ถือได้ว่าโรคหัวใจเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญมากทั้งระดับโลกและระดับประเทศ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลก (World Heart Day) วันที่ 29 กันยายนของทุกปี สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation : WHF) และฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมดูแลสุขภาพและพันธมิตรหลักของสมาพันธ์ฯ ร่วมรณรงค์ให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคหัวใจและวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

ปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจไม่ได้เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะจากผลสำรวจพบว่า 1 ใน 10 ของคนอายุระหว่าง 30 – 70 ปี มีสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด[3] และจากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัจจุบันร้อยละ 39 ของผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกิน และร้อยละ 13 ของคนเหล่านั้นเป็นโรคเบาหวาน[4] ในขณะที่ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ยังพบว่าเด็กไทยวัยประถมร้อยละ 66 มีภาวะไขมันในเลือดสูง และร้อยละ 20 มีภาวะอ้วน[5] ซึ่งภาวะดังกล่าวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้นในอนาคต ส่งผลให้คาดการณ์ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจจะเพิ่มมากขึ้นและมีอายุน้อยลง โดยสาเหตุหลักเกิดจากพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันที่นิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูป อาหาร Junk Food อาหารรสหวาน มัน เค็ม จัด หรืออาหารที่มีปริมาณแคลอรี่ ไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง จึงก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันสูง น้ำตาลในเลือดสูง และเบาหวาน[6] ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ศาสตราจารย์ เดวิด วู้ด ประธานสมาพันธ์หัวใจโลก กล่าวว่า  “ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก เกิดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนในยุคปัจจุบัน ที่มีการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น การนิยมรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายที่น้อยลง ไลฟ์สไตล์เหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพ และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมอง ดังนั้น แนวทางง่ายๆ สำหรับลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ คือ งดการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารหวานมันเค็ม อาหาร  แปรูป และอาหารสำเร็จรูป และหมั่นออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพที่ดี และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้”

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคนั้น ส่งผลต่อสุขภาพเราอย่างมาก แต่เป็นธรรมดาที่เรามักจะอยากรับประทานอาหารที่ไม่เพียงแต่สุขภาพดี แต่ยังได้รสชาติอร่อยด้วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบรับประทานอาหารทอด ลองปรับเปลี่ยนเมนูอาหารเดิมๆ ด้วยการใช้หม้อทอดอากาศ Philips Airfryer ที่ทอดอาหารได้ด้วยอากาศและสามารถลดไขมันสูงสุดถึงร้อยละ 80[7]  ดีต่อสุขภาพกว่าทางเลือกเดิมๆ แต่ยังคงให้อาหารได้รสชาติที่อร่อย เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว เพื่อที่เราจะได้มีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงไปด้วยกัน

 

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
[1] World Health Organization Factsheet, July 2017: www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/
[2] กระทรวงสาธารณสุขไทย, 2560
[3] World Health Organization, 2012
[4] World Health Organization: https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs311/en/
[5] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.): https://www.fhpprogram.org/news-preview/54
[6] World Health Organization Factsheet, July 2017: www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/
[7] เมื่อเทียบกับการทอดมันฝรั่งสดในน้ำมันท่วม

ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และรูปภาพนำไปเผยแพร่ต่อ ไม่ว่าวิธีใดๆ ถ้าฝ่าฝืนทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

บทความที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นโรคหัวใจแล้วท้อง เลือกคลอดแบบไหน ทารกในครรภ์ อันตรายหรือไม่ วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต กรมสุขภาพจิตแนะ นั่งให้น้อย เล่นให้เยอะ

เลี้ยงลูกแบบธรรมชาติ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้รุดหน้าจริงหรือ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team