ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน เป็นปี อันตรายไหม แม่เป็นห่วง

ลูกเป็นโรคภูมิแพ้ ใช้ยาต่อเนื่องเป็นปีๆ อันตรายต่อร่างกายลูกแค่ไหน แล้วถ้าลูกเป็นโรคประจำตัวจะต้องระวังอย่างไร แบบไหนที่แม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“คุณหมอคะ น้องต๋องทานยาแก้แพ้ ทุกวันมาเป็นเดือนแล้ว อาการก็ดีขึ้นนะคะ แต่คุณแม่กังวลว่าใช้ยานาน ๆ แบบนี้จะมีอันตรายอะไรไหมคะ” แม่หลาย ๆ คนยังคงกังวล หากให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อลูก

ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน อันตรายไหม ?

กินยาโรคภูมิแพ้นาน ๆ อันตรายแค่ไหน

คุณแม่น้องต๋องปรึกษาหมอด้วยความสงสัย ในวันหนึ่ง ซึ่งคำถามนี้หมอพบว่าเป็นสิ่งที่คาใจคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเป็นโรคภูมิแพ้หลาย ๆ ท่าน เพราะ มักจะต้องใช้ยาต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง หมอขอสรุปเรื่อง ผลของการใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรับประทาน 2 ชนิดได้แก่ ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารฮิสตามีน รุ่นที่ 2 และ ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารลิวโคไตรอีน ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันนะคะ

กินยาโรคภูมิแพ้นาน ส่งผลอะไรต่อลูกไหม ?

1. ยารักษาโรคภูมิแพ้กลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารฮิสตามีน รุ่นที่ 2 (second generation antihistamine) ยกตัวอย่างเช่น cetirizine, loratadine, fexofenadine, desloratadine, และ levocetirizine เป็นกลุ่มยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงน้อย หรือ ไม่ง่วงเลย เพราะหลังจากทานแล้วตัวยาสามารถผ่านเข้าสู่สมองได้น้อย ได้แก่ cetirizine, loratadine ผู้ที่ใช้ยาบางคนจึงมีอาการง่วงเล็กน้อย แต่บางคนก็ไม่ง่วงเลย ยิ่งไปกว่านั้นยาแก้แพ้ในกลุ่มนี้ ชนิดใหม่ล่าสุด เมื่อทานแล้วยาจะผ่านเข้าสู่สมองได้น้อยมากๆ จึงไม่ง่วงเลย จนสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ ของประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นักบินใช้ได้ เช่น fexofenadine, desloratadine
เนื่องจากมีการศึกษาที่ใช้ยาแก้แพ้รุ่นใหม่นี้รักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กเล็กอายุ 12-24 เดือน โดยใช้ต่อเนื่องทุกวัน นานประมาณ 1 ปี ก็ไม่พบว่า มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายร้ายแรงใด ๆ ที่แตกต่างจากยาหลอกที่ใช้ในการวิจัย โดยเด็กที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัยนั้นเป็นเด็กที่สุขภาพแข็งแรงปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้น ในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ การใช้ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ต่อเนื่องในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ไม่น่าจะมีผลข้างเคียงที่อันตราย แต่สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ หรือ โรคไต อยู่ ต้องแจ้งให้คุณหมอทราบด้วยค่ะ เพราะ ยาบางตัวมีการกำจัดยา และขับออกจากร่างกายทางอวัยวะดังกล่าว จึงต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับตับ และไต เป็นพิเศษค่ะ

 

2. ยารักษาโรคภูมิแพ้กลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านสารลิวโคไตรอีน (antileukotriene) ยาในกลุ่มนี้ ที่มีใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ยา montelukast เช่น Singulair และ Montek เป็นต้น montelukastคือ ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อต้านสาร leukotriene อันเป็นสารที่สำคัญชนิดหนึ่งเกิดปฏิกริยาภูมิแพ้ พร้อม ๆ กับฮิสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ยาตัวนี้ใช้ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ร่วมกับยาแก้แพ้กลุ่ม antihistamine โดยเป็นตัวเสริมในการรักษา และอาจใช้ในผู้ป่วยโรคหืด โดยใช้เป็นตัวรักษาและป้องกันอาการสำหรับโรคหืดเรื้อรัง โดยจะใช้เป็นยาเดี่ยวเริ่มต้นรักษาโรคหืดที่อาการไม่รุนแรง หรือ ใช้เป็นยาเสริม ในการรักษาควบคู่กับ ยาสูดกลุ่มสเตียรอยด์ ในโรคหืดที่อาการรุนแรง

พบว่า ผลข้างเคียงของยามักจะไม่รุนแรง และมักจะไม่จำเป็นต้องหยุดการรักษา เช่น วิงเวียน ปวดท้อง ผื่นคัน อ่อนเพลีย อารมณ์หงุดหงิดง่าย ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และมีรายงานภาวะการแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรม ที่มักพบในเด็กโตและวัยรุ่น เช่น กระสับกระส่าย กระวนกระวาย เครียด โมโหง่าย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้มักไม่รุนแรง และหายไปเมื่อหยุดยา หากอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด ก็น่าจะใช้ยาได้ตามข้อบ่งชี้ อย่างปลอดภัยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้ลูก กินยาโรคภูมิแพ้นาน อันตรายหรือเปล่า ? ระยะเวลาแค่ไหนควรกิน ?

หมอขอสรุปโดยภาพรวมของการใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรับประทานทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นนี้ว่า หากใช้ยาชนิดที่คุณหมอเลือกให้ตามอายุที่เหมาะสมกับลูก และใช้ในขนาดที่ถูกต้อง ภายใต้การดูแลของคุณหมอ ภายในระยะเวลาที่คุณหมอแนะนำ จะมีโอกาสจะเกิดผลข้างเคียงน้อย คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ยาแก้แพ้ในกลุ่มยาแต่ละประเภทล้วนมีข้อบ่งชี้ ข้อควรระวังในการใช้ยา และ ส่วนประกอบในยาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้ปกครองของผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบถึงอาการป่วยในปัจจุบัน ประวัติทางการแพทย์ และ ประวัติการแพ้ยาต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาวิธีการใช้ยา และคำเตือนบนฉลากให้ดีก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาผิดวิธี เนื่องจาก ยาแก้แพ้แต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน จึงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น ผู้ปกครองของผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลยาจากฉลากอย่างระมัดระวัง และ ใช้ยาอย่างถูกวิธี หากพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และ ไปพบแพทย์ทันทีหากอาการเหล่านั้นไม่ทุเลาลง หรือกลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตัวอย่างข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้ ได้แก่

  • ผู้ปกครองแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา หากลูกมีประวัติแพ้ยานี้ ยาแก้แพ้ชนิดอื่น ๆ หรือ แพ้สารต่าง ๆ เช่น สีผสมอาหาร หรือวัตถุกันเสีย เพราะ ยาอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
  • หากเป็นยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยาถึงประวัติการป่วย และโรคประจำตัวต่าง ๆ ของลูก

ตัวอย่างผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยาแก้แพ้แต่ละกลุ่ม ได้แก่

กลุ่มยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง

  • ง่วงซึม และ มีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง
  • ตามัว หรือ น้ำตาไหล
  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ท้องผูก
  • รู้สึกสับสน มึนงง กระสับกระส่าย

กลุ่มยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วง

  • ปวดหัว หรือ เวียนหัว
  • คลื่นไส้
  • ตาแห้ง หรือ ตามัว
  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ท้องผูก
  • สภาพจิตใจเปลี่ยนแปลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

ที่มา : 1

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

เจดี เซ็นทรัล เอาใจคุณแม่นักช้อปด้วย แคมเปญ “Mommy Thursday ช้อปของแท้ คุณแม่มั่นใจ” พร้อมดีลเด็ด ๆ และ สินค้าราคาสุดคุ้ม ทุกวันพฤหัสบดี