ใกล้คลอด ห้ามทําอะไร อาการไหนที่แม่ต้องกังวล ข้อควรระวังสำหรับคนท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใกล้คลอด ห้ามทำอะไร โค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ รอคอยที่จะเห็นหน้าลูก จนแม่ ๆ บางคนลืมใส่ใจสุขภาพในช่วงนี้ ควรระวังอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ใกล้คลอด ข้อห้ามคุณแม่ท้องแก่ ห้ามทำอะไรบ้าง 

ใกล้คลอด

  • ห้ามละเลยสัญญาณอันตราย

เมื่อคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอด คุณแม่อาจรู้สึกปวดบีบในระดับที่ไม่รุนแรง หรือปวดเสียวแปลก ๆ หากมีอาการดังกล่าวให้ระวังเอาไว้ก่อนค่ะ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ หากปวดท้องคลอดต้องไปพบแพทย์โดยด่วน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์ อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์?

  • เลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น

ถึงแม้ว่ายาจะหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ยาบางชนิดก็อันตรายและส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ และอาจกระตุ้นการคลอดได้ การที่คุณแม่ใช้ยารักษาโรค หรือแม้แต่อาหารเสริม ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

  • ห้ามเดินทางไกล

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะคุณแม่ที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ควรงดเดินทางไกล เพราะในช่วงนี้อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และคลอดก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ซ้อนมอเตอร์ไซค์ หรือ ขับขี่รถ

การซ้อนมอเตอร์ไซค์ หรือขับขี่รถ จะส่งผลกระทบกระเทือนกับลูกในท้อง และยังต้องระวังอุบัติเหตุรอบตัว จึงทำให้มดลูกต้องมีการเกร็งตัวอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะแม่ท้องใกล้คลอด ควรให้คนอื่นขับแทนจะดีที่สุด

  • สับปะรด

แม่ท้องสามารถกินสับปะรดได้ แต่ควรกินในปริมาณที่พอดี หากกินมากเกินไป อาจส่งผลให้มดลูกบีบตัวรุนแรง และในสับปะรดนั้น มีเอนไซม์ หากได้รับมากเกินไป จะทำให้เป็นการเร่งคลอด ปากมดลูกอ่อนตัวลง และอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

ใกล้คลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ห้ามเครียด

ขณะที่ร่างกายมีความเครียด จะส่งผลให้ร่างกายอยากอาหาร ทำให้คุณแม่ต้องรับประทานอาหารเข้าไปในปริมาณที่มาก ทำให้คุณแม่มีน้ำหนักมาก และการที่คุณแม่มีความเครียดสูง ทารกก็รับรู้ได้เช่นกัน หลังคลอดทารกจะมีพฤติกรรมที่เลี้ยงยาก และงอแง

  •  อย่าออกกำลังกายหักโหม

สำหรับไตรมาสที่ 3 หากคุณแม่ออกกำลังกายอย่างหักโหม ร่างกายจะแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนไม่ทัน ทำให้ทารกเกิดภาวะหายใจผิดปกติได้เช่นกัน

  • ห้ามใส่ส้นสูง

คุณแม่ตั้งครรภ์ มักเข้าพบแพทย์เพราะปวดหลังอยู่บ่อย ๆ หากคุณแม่ใส่ส้นสูง ส่วนหนึ่งก็มาจากรองเท้าได้ด้วยเช่นกัน การที่คุณแม่ใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา เอว และหลัง เกิดความตึงเครียด และเกิดอาการปวดตามมา และยิ่งไปกว่านั้นคุณแม่ที่อยู่ในไตรมาสที่ 3 หากใส่ส้นสูง จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงของแม่ตั้งครรภ์เสียสมดุล และอาจทำให้ลื่นล้มและแท้งบุตรได้

  • ห้ามนอนดึก

แม่ตั้งครรภ์ต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง หากคุณแม่นอนน้อย จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ห้ามอดอาหาร ลดน้ำหนัก

ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากคุณแม่อดอาหาร ทารกก็จะมีอัตราการคลอดก่อนกำหนดสูง และสมองพิการได้ หากคุณแม่กลัวอ้วนหลังคลอด แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รับรองว่าน้ำหนักจะลดลงอย่างรวดเร็ว

  • ห้ามดื่มนมเกิน 2 แก้ว

หากคุณแม่ดื่มนมมากเกินความจำเป็น ทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการแพ้ได้ง่าย เช่น แพ้โปรตีนนมวัว

  • ห้ามใส่ชุดรัดแน่นพอดีตัวเกินไป

เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น คุณแม่ควรใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ สบาย ๆ ระบายอากาศได้ดี เนื่องจากระหว่างตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายอย่างมากโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีกลิ่นตัว กลิ่นอวัยวะเพศที่แรงขึ้น การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น ทำให้เกิดกลิ่นอับมากขึ้น และยังทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี หายใจไม่สะดวกอาจหน้ามืดเป็นลมได้

  • ห้ามยืนหรือนอนเป็นเวลานาน 

ไม่ควรเดินหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้ขาและเท้าบวมมากขึ้น อาจเกิดเส้นเลือดขอดที่ขา ทำให้ปวดหลังง่าย แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม นอกจากนี้คุณแม่ก็ไม่ควรนอนนานด้วยเช่นกัน เพราะน้ำหนักครรภ์จะไปกดทับกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดอาการจุกเสียด แน่นท้อง อีกทั้งน้ำหนักครรภ์อาจไปกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ร่างกายเกิดอาการบวม รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจทำให้หน้ามืดได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชั่วโมง พยายามเปลี่ยนท่านั่งหรือยืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ เพื่อช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น

  • ห้ามสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

ข้อนี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับคนท้องโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไปจนถึงการสูบบุหรี่ และสารเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูง และมีโอกาสแท้งได้

  • ห้ามมีเซ็กส์ 

การมีเซ็กส์ตอนที่ใกล้คลอดอาจจะทำให้ถุงน้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กเกิดการแตกหรือรั่ว ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมาก่อนเจ็บครรภ์คลอดได้ ซึ่งผลดังกล่าวจะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกได้

  • เลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง

กิจกรรมหรืองานบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อทารกน้อยในท้องได้ เช่น การเล่นกีฬาที่มีแรงปะทะมาก เช่น บาสเกตบอล การดำน้ำลึก รวมถึงการเผชิญสารเคมีอันตรายทั้งหลาย เช่น การทำงานบ้านที่ต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมจากสารเคมีต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : กิจกรรมที่ควรงดเมื่อตั้งครรภ์ ท่าที่คนท้องไม่ควรทำ มีอะไรบ้างคนท้องควรรู้

ท้องแก่ใกล้คลอด อาการไหนที่แม่ท้องต้องระวัง

ใกล้คลอด

  • น้ำเดิน หรือน้ำคร่ำเดิน 

เป็นอาการค่อนข้างชัดว่าใกล้คลอดแล้ว คุณแม่จะมีน้ำเหลวใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอด ส่วนมากจะไหลในปริมาณที่ไม่เยอะ แต่บางรายอาจมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดในปริมาณมาก โดยพบได้ 1 ใน 10 ของหญิงตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวเด็กเกิดฉีกขาดหรือแตก เพื่อเตรียมตัวให้เด็กคลอดออกจากท้องแม่

  • เจ็บท้องคลอด 

คุณแม่จะรู้สึกเจ็บ มีอาการตึงหรือบีบรัดที่ครรภ์ โดยเริ่มปวดไล่มาตั้งแต่มดลูกลงไปยังก้นอย่างสม่ำเสมอหรือไล่จากล่างขึ้นบนสลับกัน ปวดเป็นจังหวะ และมีรูปแบบในการปวดที่คาดเดาได้ เช่น มีอาการปวดทุก ๆ 8 นาที ปวดอยู่นานประมาณ 30-70 วินาที แม้อาการเจ็บท้องจะเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายกับอาการปวดเตือนที่เป็นการเจ็บท้องหลอก (False Labor) ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่สับสนได้อยู่บ้าง โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจดูอีกครั้งว่าสภาพร่างกายของแม่มีความพร้อมและปากมดลูกเปิดกว้างมากพอหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีรับมือการเจ็บท้องคลอด

  • มูกเลือดออกทางช่องคลอด

ปกติปากมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกมีการแตก จึงมีมูกเลือดไหลออกมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : samitivejhospitals,childingeverything,nakornthon

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong